การพัฒนาเครื่องพ่นน้ำมันหอมระเหยสมุนไพรไทยออร์แกนิคกำจัดยุง

ผู้แต่ง

  • ธีรพงศ์ บริรักษ์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย
  • ปฏิภาณ เกิดลาภ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย
  • เยาวภา ปฐมศิริกุล คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย
  • อมรรัตน์ ศรีวาณัติ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย
  • สิริกุล ประเสริฐสมบูรณ์ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย
  • ศุภณัฐ กิจไพฑูรย์ สำนักวิจัย นวัตกรรม เเละบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย

คำสำคัญ:

น้ำมันหอมระเหยสมุนไพรไทยออร์แกนิคกำจัดยุง, ความหนืด, อัตราการระเหย

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณสมบัติทางด้านสารไวไฟ ความหนืดและอัตราการระเหยของน้ำมันหอมระเหยสมุนไพรไทยออร์แกนิคกำจัดยุงเพื่อเป็นข้อมูลในการพัฒนาคุณภาพและองค์ประกอบทางเคมีในการใช้ไล่ยุงในระยะตัวโตเต็มวัยด้วยน้ำมันหอมระเหยสมุนไพรไทยออร์แกนิคกำจัดยุงซึ่งถูกพัฒนาสำหรับการกำจัดลูกน้ำยุงลายมาก่อนหน้านี้ ทำการทดสอบโดยใช้อุปกรณ์ไล่ยุง 3 ชนิด ได้แก่ พัดลมที่ทำการติดตั้งอุปกรณ์กระจายน้ำยาไล่ยุง เครื่องไล่ยุงแบบใช้ในครัวเรือน และเครื่องพ่นไล่ยุง โดยทำการทดสอบเปรียบเทียบคุณสมบัติระหว่างน้ำมันหอมระเหยสมุนไพรไทยออร์แกนิคกำจัดยุงกับน้ำมันไล่ยุงแบบใช้กับเครื่องไล่ยุงในครัวเรือนที่มีการจัดจำหน่ายในปัจจุบัน จากการทดสอบคุณสมบัติทางด้านสารไวไฟ พบว่า น้ำมันหอมระเหยสมุนไพรไทยออร์แกนิคกำจัดยุง มีค่าความหนืดเท่ากับ 18.07 วินาที มีจุดวาบไฟที่ 90 ℃ จุดติดไฟที่ 95 ℃ น้ำมันไล่ยุงแบบใช้กับเครื่องไล่ยุงในครัวเรือน มีค่าความหนืดเท่ากับ 6.38 วินาที มีจุดวาบไฟที่ 84 ℃ จุดติดไฟที่ 88 ℃ สำหรับการทดสอบกับพัดลมที่ทำการติดตั้งอุปกรณ์กระจายน้ำยาไล่ยุง พบว่าน้ำมันหอมระเหยสมุนไพรไทยออร์แกนิคกำจัดยุง มีค่าอัตราการระเหยเฉลี่ยเท่ากับ 0.034 ml/hr น้ำมันไล่ยุงแบบใช้กับเครื่องไล่ยุงในครัวเรือน มีค่าอัตราการระเหยเฉลี่ยเท่ากับ 0.225 ml/hr การทดสอบในเครื่องไล่ยุงแบบใช้ในครัวเรือน น้ำมันหอมระเหยสมุนไพรไทยออร์แกนิคกำจัดยุงมีค่าอัตราการระเหยเฉลี่ยเท่ากับ 0.0854 ml/hr น้ำมันไล่ยุงแบบใช้กับเครื่องไล่ยุงในครัวเรือน มีค่าอัตราการระเหยเฉลี่ยเท่ากับ 0.2118 ml/hr การทดสอบในเครื่องพ่นไล่ยุงที่อัตราส่วนการผสมระหว่างน้ำมันหอมระเหยสมุนไพรไทยออร์แกนิคกำจัดยุงต่อน้ำสะอาด 20 ml: 1 l สามารถทำการพ่นเป็นฝอยละอองดีที่สุดและสามารถพ่นได้ไกล 5 m อัตราการพ่นฝอยละอองมีค่าเท่ากับ 226.24 ml/min จากข้อมูลการทดสอบดังกล่าวข้างต้น สามารถนำใช้เพื่อพัฒนาน้ำมันหอมระเหยสมุนไพรไทยออร์แกนิคกำจัดยุงให้มีประสิทธิภาพและความเหมาะสมในการไล่ยุงในโอกาสต่อไป

References

Bunpean, A., Inthisan, S., Chantarapon, P., & Arunotayanun, W. (2019). Development of herbal mosquito repellent lamp from ginger lily oil. RMUTI Journal Science and Technology, 13(1), 166–177. (in Thai)

Kanrueng, T., & Pimsuka, S. (2019). Effectiveness of the extracted attractants from five local mushrooms used with the commercial light trap for vector mosquito control in housing community areas in Samut Songkhram Province, Thailand. Journal of Allied Health Sciences Suan Sunandha Rajabhat University, 4(1), 1–10. (in Thai)

Kunhachan, P., Samaimai, S., Chompoosri, J., Reungpatthanaphong, S., Bhakdeenuan, P., Khumsawad, C., Srivarom, N., & Ruchusatsawat, K. (2020). Development of essential oils-based microemulsion larvicide product for control of insecticide-resistant strain of Aedes aegypti mosquito larvae. Bulletin of the Department of Medical Sciences, 62(4), 352–371. (in Thai)

Makasorn, P. (2013). Mosquito killer energy-saving. Technology Promotion, 40(228), 82–84. (in Thai)

Paeporn, P., Sathantriphop, S., Tassanai, P., & Onkong, S. (2019). Efficiency comparison of mosquito repellents for selecting appropriate products to prevent mosquitoe bite. Journal of Health Science, 28(Suppl. 1), 188–194. (in Thai)

Peanjaroen, J., & Jareanjit, J. (2018). Development of smoke kill mosquitoes machine. Rajamangala Manufacturing & Management Technology Conference (pp. 626–629). Songkhla: Rajamangala University of Technology Srivijaya (in Thai)

Ratisupakorn, S., Sokchan, L., Klakankhai, W., & Tainchum, K. (2019). Potential of thiam oil (Azadirachta excels Jack), black pepper oil (Piper nigrum L.) and DEET substance on excito-repellency property against Aedes aegypti (L.), Khon Kean, 47(Suppl. 2), 423–428. (in Thai)

Sanont, R. (2019). The satisfactions of innovative products of hospital employees: Ultrasonic mosquito repellant product. Journal of Interdisciplinary Research: Graduate Studies, 8(2), 445–453. (in Thai)

Yaoup, K., Sornpeng, W., Asarin, B., Soonchan, P., & Khophonklang, S. (2018). Efficacy evaluation of insecticide spraying to control of Aedes aegypti of local administration. The Office of Diseases Prevention and Control 7 Khon Kaen, 25(2), 1–13. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-21

ฉบับ

บท

บทความวิจัย