การบริหารจัดการขยะและสิ่งแวดล้อมโดยเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชนและ ภาคีเครือข่ายแบบบูรณาการ เทศบาลตำบลท่าเกษม อำเภอเมือง จังหวัดสระแก้ว
คำสำคัญ:
การบริหารจัดการขยะ, สิ่งแวดล้อม, การมีส่วนร่วมของชุมชน, เครือข่ายเชิงบูรณาการ, ชุมชนตำบลท่าเกษมบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาอิทธิพลของทัศนคติเกี่ยวกับการคัดแยกขยะมูลฝอยของชาวเทศบาลตำบลท่าเกษม อำเภอเมือง จังหวัดสระแก้วที่มีต่อปริมาณขยะที่ชาวเทศบาลตำบลท่าเกษมต้องกำจัดภายใน 1 วัน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย คือ แบบสอบถาม โดยเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีทอดแบบ (self-enumeration method) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุด้วยเทคนิค Enter ผลการศึกษา พบว่า (1) ชาวเทศบาลตำบลท่าเกษมที่พบปัญหาการมีภาชนะรองรับปริมาณขยะไม่เพียงพอในการคัดแยกขยะมูลฝอยในครัวเรือน ปัญหาการเก็บขนที่ถูกวิธีในการคัดแยกขยะมูลฝอยในครัวเรือน ปัญหาความรู้ความเข้าใจการคัดแยกขยะน้อยในการคัดแยกขยะมูลฝอยในครัวเรือน ปัญหาการแยกสีถังขยะตามประเภทไม่เด่นชัดในการคัดแยกขยะมูลฝอยในครัวเรือน ปัญหาด้านหน่วยงานที่เกี่ยวข้องประชาสัมพันธ์ประโยชน์ของการคัดแยกขยะมูลฝอยไม่ทั่วถึงในการคัดแยกขยะมูลฝอยในครัวเรือนที่ต่างกันมีปริมาณขยะอินทรีย์ที่ต้องกำจัดภายใน 1 วันแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ชาวเทศบาลตำบลท่าเกษมที่พบปัญหาการมีภาชนะรองรับปริมาณขยะไม่เพียงพอในการคัดแยกขยะมูลฝอยในครัวเรือน ปัญหาการเก็บขนที่ถูกวิธีในการคัดแยกขยะมูลฝอยในครัวเรือน ปัญหาด้านความรู้ความเข้าใจการคัดแยกขยะน้อยในการคัดแยกขยะมูลฝอยในครัวเรือน ปัญหาข้อความบนถังขยะไม่ชัดเจนทำให้อ่านลำบากในการคัดแยกขยะมูลฝอยในครัวเรือน ปัญหาการแยกสีถังขยะตามประเภทไม่เด่นชัดในการคัดแยกขยะมูลฝอยในครัวเรือน ปัญหาด้านหน่วยงานที่เกี่ยวข้องประชาสัมพันธ์ประโยชน์ของการคัดแยกขยะมูลฝอยไม่ทั่วถึงในการคัดแยกขยะมูลฝอยในครัวเรือน ปัญหาด้านหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่ประชาสัมพันธ์เชิญชวนให้เกิดพฤติกรรมการคัดแยกขยะมูลฝอยในครัวเรือนที่ต่างกันมีปริมาณขยะรีไซเคิลประเภทพลาสติก กระดาษ เหล็ก ทองแดง สังกะสี ขวดแก้ว อลูมิเนียม ขวดน้ำ ปริมาณขยะทั่วไป ได้แก่ ถุงพลาสติก กล่องโฟม และปริมาณขยะอันตราย ที่ต้องกำจัดภายใน 1 วันแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 (2) ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการคัดแยกขยะมูลฝอยมีอิทธิพลต่อปริมาณขยะอินทรีย์และปริมาณขยะขวดแก้วที่ชาวเทศบาลตำบลท่าเกษมต้องกำจัดภายใน 1 วัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ดังนั้น การถ่ายทอดองค์ความรู้แก่ประชาชนเกี่ยวกับการคัดแยกขยะมูลฝอย การกระตุ้นให้เกิดการมีส่วนร่วมของชุมชน และการบูรณาการหน่วยงานภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องในเทศบาลตำบลท่าเกษม จะนำไปสู่การบริหารจัดการปัญหาขยะมูลฝอยที่ดีและช่วยลดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมในเขตเทศบาลตำบลท่าเกษมด้วย
References
Armitage, A. (1988). Social welfare in Canada: Ideals, realities, and future paths (2nd ed.). Toronto: McClelland and Stewart.
Boonyachaichana, P. (2009). Participation of people in waste management in Chiang Mai Municipalit Area. (Master’s thesis). Chiang Mai University. Chiang Mai. (in thai)
Gladstone Ports Corporation (GPC). (2008). Port of Gladstone, port information handbook 2008. Gladstone Queensland: Gladstone Ports Corporation
Jaito, N. (2005). People participation in community garbage management Tambon Donkaew, Amphoe Mae Rim, Changwat Chiang Mai (Master’s thesis). Chiang Mai University. Chiang Mai. (in thai)
Kromadit, V. (2011). World waste problem. Stabundamrong Document No. 5. Bangkok: Office of the Permanent Secretary for Interior Ministry of Interior. (in thai)
Kunoran, U. (2004). The effectiveness of solid waste management of Tambon Administration Organizations (TAOs): A case study of TAOs within Sam Phran District, Nakorn Pathom Province (Master’s thesis). Ramkhamhaeng University. Bangkok. (in thai)
Okello, N., Beevers, L., Douven, W., & Leentvaar, J. (2009). The doing and un-doing of public participation during environmental impact assessments in Kenya. Impact Assessment and Project Appraisal, 27(3), 217-226. https://doi.org/10.3152/146155109X465940
RPRLGSP. (2009). Manual on project cycle management: Guidelines on identification, design and implementation of successful local authority projects. Retrieved from http://www.rprlgsp.go.ke
Siri, C. (2006). Solid waste management in Tambon Bankad Municipality Area, Mae Wang District, Chiang Mai Province (Master’s thesis). Chiang Mai University. Chiang Mai. (in thai)
World Health Organization. (1971). Annual report of the Director-General to the World Health Assembly and to the United Nations. World Health Organization. Retrieved from https://apps.who.int/iris/handle/10665/85845