ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการใช้สมุนไพรไทยในช่วงสถานการณ์ COVID-19 อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี
คำสำคัญ:
การใช้สมุนไพรไทย, การดูแลสุขภาพตนเอง, COVID-19บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจเพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้สมุนไพรไทยในช่วงสถานการณ์ COVID-19 อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ และปัจจัยเสริม กับพฤติกรรมการใช้สมุนไพรไทยในการดูแลสุขภาพตนเองของประชาชนในช่วงสถานการณ์ COVID-19 อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี โดยการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงจากประชาชนในอำเภอคลองหลวงที่เป็นประชาชนทั่วไป ได้กลุ่มตัวอย่าง 384 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นและผ่านการตรวจสอบความเที่ยงตามวิธีของครอนบาคแอลฟ่าได้ค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นโดยรวม 0.7 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติไคสแควร์และสถิติค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการใช้สมุนไพรไทยในการดูแลสุขภาพตนเองอยู่ในระดับต่ำร้อยละ 60.9 โดยกลุ่มตัวอย่างใช้สมุนไพรไทยเพื่อรักษาหรือบรรเทาอาการทางระบบทางเดินหายใจอยู่ในระดับสูงร้อยละ 73 ปัจจัยส่วนบุคคล ด้านประสบการณ์ในการใช้สมุนไพรไทยมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้สมุนไพรไทยในการดูแลสุขภาพตนเอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ปัจจัยนำ ได้แก่ ความรู้เกี่ยวกับการใช้สมุนไพรไทยในการดูแลสุขภาพตนเอง ทัศนคติต่อการใช้สมุนไพรไทยในการดูแลสุขภาพตนเอง และการรับรู้ประโยชน์จากการใช้สมุนไพรไทยในการดูแลสุขภาพตนเอง มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้สมุนไพรไทยในการดูแลสุขภาพตนเอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ปัจจัยเอื้อ ได้แก่ ช่องทางในการได้มาซึ่งสมุนไพรไทย ค่าใช้จ่ายหรือราคาในการได้มาซึ่งสมุนไพรไทย รูปแบบสมุนไพรไทย และการส่งเสริมการขายสมุนไพรไทย มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้สมุนไพรไทยในการดูแลสุขภาพตนเอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ปัจจัยเสริม ได้แก่ การเปิดรับสื่อเฉพาะกิจ และการเปิดรับสื่อมวลชน เกี่ยวกับการใช้สมุนไพรไทย มีความความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้สมุนไพรไทยในการดูแลสุขภาพตนเอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ดังนั้นการส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจอย่างถูกต้องต่อการใช้สมุนไพรไทยในประชาชนจึงสำคัญและควรดำเนินการอย่างกว้างขวาง
References
Chainarong, W. (2011). Factors related to the behavior of using herbs for primary treatment of people in Thanyaburi District, Pathum Thani Province (Master’s thesis). Kasetsart University. Bangkok. (in Thai)
Deenoo, S., Mattavangkul, C., Kawitu, K., & Sinwannakool, S. (2020). Factor Related to Herbal Use Behavior for Self-care among People in Phasi-Chareon District. Journal of Nursing, Siam University, 20(39), 99–109. (in Thai)
Drug Act No. 3, B.E. 2522. (1979). The Royal Thai Government Gazette. Retrieved from http://elib.fda.moph.go.th/fulltext2/Law/DrugControlDivision/Act/Law3. (in Thai)
Green, L. W., & Kreuter, M. W. (1991). Health Promotion Planning: An Educational and Environment Approach. California: Mayfield Publishing.
Matako, M. (1987). Concepts and development of self-care in self-care, sociocultural perspective. Bangkok: Sunshine. (in Thai)
Norris, C. M. (1979). Self-care. The American journal of nursing, 79(3), 486-489. https://doi.org/10.2307/3462391
Phillips, K. (2003). Marketing mix. Retrieved from: http://spssthesis.blogspot.com.
Protcharoen, C. (2013). Self-care behavior of people in Chanthaburi municipality (Master’s thesis). Burapha University. Chonburi. (in Thai)
Ritthongphithak, S. (2003). News exposure, knowledge, attitude and use of Thai herbs in Bangkok people (Master’s thesis). Chulalongkorn University. Bangkok. (in Thai)
Runghiran, T. (2003). Behavior of listening to perceptions of the benefits of knowledge. Entertainment and listeners’ opinions in Bangkok towards entertainment radio programs in the FM frequency 88.0 MHz. (Master’s thesis). Graduate School of Business. Bangkok. (in Thai)
Singveerathum, N. (2017). The dentist’s perception and behavior in prevention of Coronavirus Disease 2019 (COVID-19) under the Ministry of Public Health. Bamrasnaradura Institute Journal, 14(2), 104–115. (in Thai)