ผลของการเตรียมชาเมล็ดมะรุมด้วยลมร้อนและการแช่เยือกแข็ง ต่อฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระ ด้วยวิธี DPPH assay

ผู้แต่ง

  • รัฐพล ศิลปรัศมี คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
  • จันทรรัตน์ จาริกสกุลชัย คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
  • ณัฐพร กาฬภักดี คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
  • ไพโรจน์ กาฬภักดี คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
  • ณฐภรณ์ ศรีจันทร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
  • ทศมา ไพรบึง คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

คำสำคัญ:

มะรุม, วิธีการทดสอบฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี DPPH Assay , สารต้านอนุมูลอิสระ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงทดลอง มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบวิธีการทำเมล็ดมะรุมแห้งด้วยวิธีอบด้วยลมร้อน และวิธีแช่เยือกแข็ง และนำมาศึกษาฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี DPPH assay สำรับการพัฒนาเป็นชาเมล็ดมะรุมเพื่อสุขภาพ และศึกษาความพึงพอใจต่อผลิตภัณฑ์ ผลการทดสอบ พบว่า การทำเมล็ดมะรุมแห้งด้วยวิธีอบด้วยลมร้อน และวิธีแช่เยือกแข็ง ได้ลักษณะทางกายภาพด้านสี กลิ่น ลักษณะผลิตภัณฑ์ ดังนี้ การทำแห้งด้วยวิธีอบด้วยลมร้อน ลักษณะทางกายภาพ สีน้ำตาล มีกลิ่นหอมมะรุม และลักษณะเมล็ดมะรุมไม่สมบูรณ์ ส่วนวิธีแช่เยือกแข็ง ลักษณะทางกายภาพ สีเขียวอ่อน มีกลิ่นมะรุม ลักษณะเมล็ดมะรุมสมบูรณ์ ตามลำดับ เพื่อนำเมล็ดมะรุมที่ผ่านการทำแห้งมาสกัดด้วย เอทานอล 95 เปอร์เซ็นต์ เป็นระยะเวลา 5 วัน นำสารสกัดมาทดสอบฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระ ด้วยวิธี DPPH Assay พบว่า สารสกัดที่ความเข้มข้น 250 500 และ750 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร เจือจางจาก stock solution พบค่า DPPH radical scavenging activity ของการทำเมล็ดมะรุมแห้งด้วยวิธีอบด้วยลมร้อน เท่ากับ ร้อยละ 50.23 68.02 และ 70.68 ตามลำดับ และมีค่า IC50 เท่ากับ ปริมาตร 182.71 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร และค่า DPPH radical scavenging activity ของการทำเมล็ดมะรุมแห้งด้วยวิธีอบแช่เยือกแข็ง เท่ากับ ร้อยละ 50.98 56.12 และ 61.08 ตามลำดับ และมีค่า IC50 เท่ากับ 200.00 ปริมาตร ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร พบว่า วิธีการทำแห้งด้วยวิธีอบลมร้อน ทำให้ได้สารสกัดที่ต้านอนุมูลอิสระที่ดีกว่าวิธีการทำแห้งด้วยวิธีแช่เยือกแข็งเมื่อเปรียบเทียบที่ปริมาณ ต่าง ๆ ด้านการทดสอบความพึงพอใจด้านประสาทสัมผัสทาง สี กลิ่น รสชาติ ต่อชาเมล็ดมะรุมที่ทำทั้ง 2 วิธี ผลการประเมินความพึง พอใจพบว่า ผู้บริโภคให้คะแนนความพึงพอใจมากที่สุดในชาเมล็ดมะรุมสูตรที 1 คือ ผงเมล็ดมะรุมที่ผ่าน การอบลมร้อนผสมผงใบเตยอัตราส่วน 80:20 ความพึงพอใจต่อ สี ค่าเฉลี่ย 4.03 อยู่ในเกณฑ์ดี กลิ่น ค่าเฉลี่ย 3.97 อยู่ในเกณฑ์ดี รสชาติ ค่าเฉลี่ย 3.97 อยู่ในเกณฑ์ดี

 

References

Abdull Razis, A. F., Ibrahim, M. D., & Kntayya, S. B. (2014). Health benefits of Moringa oleifera. Asian Pacific Journal of Cancer Prevention: APJCP, 15(20), 8571–8576. https://doi.org/10.7314/apjcp.2014.15.20.8571

Bakre, A. G., Aderibigbe, A. O., & Ademowo, O. G. (2013). Studies on neuropharmacological profile of ethanol extract of Moringa oleifera leaves in mice. Journal of ethnopharmacology, 149(3), 783–789. https://doi.org/10.1016/j.jep.2013.08.006

Chivapat, S., Sincharoenpokai, P., Saktiyasuthorn, N., Shuaprom, A., thongsrirak, P., Sakpetch, A., & Rungsipipat, A. (2013). Acute and chronic toxicity of Moringa oleifera Linn leaves extracts. The Thai Journal of Veterinary Medicine, 41(4), 417–424. (in Thai)

Chokpermpoon, S. (2018) A study of drying behavior and color evaluation of dried chili peppers. Inside a multi-layer drying cabinet with image processing techniques. Science and Technology Journal, 27(40, 764-775. (in Thai)

Faculty of PharmaceuticalSciences, UbonRatchathani University. (2019). Marum. Retrieved from http://www.phargarden.com/main.php?action=viewpage&pid=97. (in Thai).

Hannan, M. A., Kang, J. Y., Mohibbullah, M., Hong, Y. K., Lee, H., Choi, J. S., Choi, I. S., & Moon, I. S. (2014). Moringa oleifera with promising neuronal survival and neurite outgrowth promoting potentials. Journal of Ethnopharmacology, 152(1), 142–150. https://doi.org/10.1016/j.jep.2013.12.036

Mama, B., Nison, N., Duanyai, S., & Manok, S. (2017) Development of cosmetic products from Moringa leaves found in Sripoom community in Thonburi area. Journal of Isan iPharmacy, 13(2), 80-89). (in Thai)

Nousing, S., Pajaree Mundee, P., & Leelawat, B. (2014). Development of germinated germinated rice tea with infusion. Pathum Thani: Department of Food Science and Technology Faculty of Science and Technology Thammasat University, Rangsit Center. (in Thai)

Pornchalermpong, P. (2016). Oxidation numbers. Retrieved from http://www.foodnetworksolution.com. (in Thai)

Sahakitpichan, P., Mahidol, C., Disadee, W., Ruchirawat, S., & Kanchanapoom, T. (2011). Unusual glycosides of pyrrole alkaloid and 4’-hydroxyphenylethanamide from leaves of Moringa oleifera. Phytochemistry, 72(8), 791–795. https://doi.org/10.1016/j.phytochem.2011.02.021

Sanguansermri, M., Phimsen. N., Wongsawad, P., & Buddharaksa, P. (2014). Effect of NAA and TDZ combinations on callus induction of drumstick (Moringa oleifera Lam). Naresuan Phayao Journal, 7(3), 242-251. (in Thai)

Sansanoh, C., Soonthornwat, A., & Jiraphong, C. (2019). A study of processing process on the quality of Holy Basil Tea. Agricultural Science Journal, 50(2 Special), 289 -292. (in Thai)

Seewaeng, P., & Siriamornpun, S. (2019). Effect of drying temperature on hytochemicalsand antioxidant activities of Bambusa beecheyana. Khon Kaen Agriculture Journal, 47(Suppl. 1), 1385-1392. (in Thai)

Skulphuek, A. (2015). Antioxidants. Retrieved from https://www.pobpad.com. (in Thai)

Srisopha, A., & Wongkrachang, K. (2019). Development of herbal mulberry tea formula with aromatic herbs with anti-glucosidase activity. Retrieved from https://www.dms.go.th/Content/Select_Landding_page?contentId=24091. (in Thai)

Srisuk, V. (2009). Marum [Pamphlet]. Bangkok: Faculty of Pharmacy, Mahidol University. https://www.pharmacy. Mahidol.ac.th/knowledge/files/0008.pdf. (in Thai).

Thongtako, K. (2009). Moringa properties. Retrieved from http://www.royin.go.th. (in Thai)

Wongsinkongman, P., Thongchin, T., Shuayprom, A., Ontong, S., Niumsakul, S., & Thongsrirak, P. (2019). Physico-Chemical Properties of Moringa oleifera Lam. Dried Leaves. Journal of Thai Traditional and Alternative Medicine, 17(2), 168-177. (in Thai)

Wu, L. C., Hsu, H. W., Chen, Y. C., Chiu, C. C., Lin, Y. I., & Ho, J, A, A. (2006). Antioxidant and antiproliferative activities of red pitaya. Food Chemistry, 95(2), 319-327. https://doi.org/10.1016/j.foodchem.2005.01.002

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-07-18

ฉบับ

บท

บทความวิจัย