การดูแลผู้ป่วยจิตเภทเรื้อรังด้วยการมีส่วนร่วมของชุมชนต่อ ภาระการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทเรื้อรังในชุมชน
คำสำคัญ:
ภาระการดูแล, การมีส่วนร่วมของชุมชน, ผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทเรื้อรัง, ผู้ป่วยจิตเภทเรื้อรังในชุมชนบทคัดย่อ
โรคจิตเภท มีการดำเนินโรคเรื้อรังที่ทำให้ผู้ป่วยสูญเสียบทบาทหน้าที่ในการทำงาน และมีผลกระทบต่อสัมพันธภาพทางสังคมในระยะยาว ภาระการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทเรื้อรัง เป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อทั้งตัวผู้ดูแลและผู้ป่วย งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการดูแลผู้ป่วยจิตเภทเรื้อรังด้วยการมีส่วนร่วมของชุมชนต่อภาระการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทเรื้อรังในชุมชน และเพื่อเปรียบเทียบภาระการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทระหว่างกลุ่มได้รับโปรแกรมการดูแลผู้ป่วยจิตเภทเรื้อรังด้วยการมีส่วนร่วมของชุมชน กับกลุ่มที่ได้รับ
การพยาบาลตามปกติ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ดูแลหลักในครอบครัวที่ให้การดูแลผู้ป่วยจิตเภทเรื้อรัง จำนวน 20 คน และทีมชุมชน จำนวน 3 คน ซึ่งมีคุณสมบัติครบตามเกณฑ์ โดยกลุ่มทดลองได้รับการดูแลตามโปรแกรมการดูแลผู้ป่วยจิตเภทเรื้อรังด้วยการมีส่วนร่วมของชุมชน ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการการวิจัย คือ (1) โปรแกรมการดูแลผู้ป่วยจิตเภทเรื้อรังด้วยการมีส่วนร่วมของชุมชน (2) แบบวัดภาระการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท ผลการวิจัยที่สำคัญ สรุปได้ดังนี้ (1) ภาระการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทเรื้อรังในชุมชน ภายหลังได้รับโปรแกรมการดูแลผู้ป่วยจิตเภทเรื้อรัง
ด้วยการมีส่วนร่วมของชุมชน ต่ำกว่าก่อนได้รับโปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (2) ภาระการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทในชุมชนกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการดูแลผู้ป่วยจิตเภทเรื้อรังด้วยการมีส่วนร่วมของชุมชน ต่ำกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จากผลการศึกษาในครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่าการดูแลผู้ป่วยจิตเภทเรื้อรังด้วยการมีส่วนร่วมของชุมชน ช่วยลดภาระจากการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทเรื้อรังในชุมชนลงได้ ดังนั้น จึงเป็นรูปแบบการพยาบาลที่ควรพิจารณาประยุกต์ใช้ในการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังอื่น ๆ ต่อไป
References
American Psychiatric Association. (2013). Diagnostic and statisticalmanual of mental disorders (5th ed.). Arlington, VA: American Psychiatric Association.
Damrak, P., Wangthong, A., & Wangthong, A. (2014). The community participation in caring of complex chronic schizophrenic patients in Nongjik prefecture, Pattani province. Journal of the Association of Researchers, 19(2), 92-103. (in Thai)
Dyck, D. G., Short, R., & Vitaliano, P. P. (1999). Predictors of burden and infectious illness in schizophrenia caregivers. Psychosomatic Medicine, 61(4), 411–419. https://doi.org/10.1097/00006842-199907000-00001.
Durmaz, H., & Okanli, A. (2014). Investigation of the effect of self-efficacy levels of caregiver family members of the individuals with schizophrenia on burden of care. Archives of psychiatric Nursing, 28(4), 290–294. https://doi.org/10.1016/j.apnu.2014.04.004
Harvey, P. D., & Strassnig, M. (2012). Predicting the severity of everyday functional disability in people with schizophrenia: cognitive deficits, functional capacity, symptoms, and health status. World Psychiatry: Official Journal of the World Psychiatric Association (WPA), 11(2), 73–79. https://doi.org/10.1016/j.wpsyc.2012.05.004
Homjandee, H., & Dangdomyouth, P. (2017). The effect of social support emphasizing community participation program on burden of community schizophrenic patients’ caregivers. Journal of the Police Nurses, 11(2),433-443. (in Thai)
Kongnirundon, S., Vatanasin, D., & Nabkasorn, C. H. (2018). Factors influencing burden among caregivers of patients with schizophernia. Journal of Psychiatric Nursing and Mental Health, 26(2), 127-143. (in Thai)
Lumlert, W., & Dangdomyouth, P. (2018). The effect of caregivers’ self-efficacy promoting program on caregiver burden of schizophrenic patients incommunity. Journal of Psychiatric Nursing and Mental Health, 32(3), 104-117. (in Thai)
Montgomery, R. J. V., Gonyea, J. G., & Hooyman, N. R. (1985). Caregiving and the Experience of Subjective and Objective Burden. Family Relations, 34(1), 19–26. https://doi.org/10.2307/583753
Meesri, G., & Dangdomyouth, P. (2012). Selected factors related to capabilities among caregivers of schizophrenic patients in community. The Journal of Psychiatric Nursing and Mental Health, 26(1),35-49. (in Thai)
Office of the Permanent Secretary Ministry of Public Health. (2016). Caring for chronic psychiatric patients in the community For primary care personnel. Retrieved from chaleemas.t@nhso.go.th
Pitanupong, J., & Rueangwiriyanan, C. H. ( 2019). Caregiver burdens in patients with schizophrenia and related factors. Journal of Mental Health of Thailand, 27(2), 95-106. (in Thai)
Pinchaleaw, D. (2016). Mental health promotion with positive thinking. Journal of The Police Nurses, 8(2), 223-230. (in Thai)
Thanikkul, B., & Dangdomyouth, P. (2012). The effect of self-help-group and empowerment on burden of caregivers of schizophrenic patients in community. The Journal of Psychiatric Nursing and Mental Health, 26(2), 74-86. (in Thai)
Udomittipong, D., Channakorn,P., & Kemsen,S. (2020). Burden of primary caregivers among elderly patients with schizophrenia: reviewarticle. Journal of Somdet Chaopraya Institute of Psychiatry, 14(2),48-68. (in Thai)
Yazici, E., Karabulut, Ü., Yildiz, M., Baskan Tekeş, S., Inan, E., Çakir, U., Boşgelmez, Ş., & Turgut, C. (2016). Burden on Caregivers of Patients with Schizophrenia and Related Factors. Noro psikiyatri arsivi, 53(2), 96–101. https://doi.org/10.5152/npa.2015.9963.