การบริหารความเสี่ยงความปลอดภัยของปัจจัยมนุษย์ในการปฏิบัติการบินกับอากาศยานไร้คนขับขึ้นลงทางดิ่งพลังงานแสงอาทิตย์ของกองทัพอากาศ ตามมาตรฐานองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ

ผู้แต่ง

  • ธนากร เอี่ยมปาน สำนักบัณฑิตศึกษา โรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช
  • ประสาทพร วงษ์คำช้าง สำนักบัณฑิตศึกษา โรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช
  • ปัญญารักษ์ โกศัลวัฒน์ สำนักบัณฑิตศึกษา โรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช
  • ณัฐพัชร์ เรืองมณีญาต์ กองบัญชาการกองทัพไทย
  • วสวัตติ์ โททอง บริษัท ไทยแอร์เอเซีย จำกัด

คำสำคัญ:

การบริหารความเสี่ยงความปลอดภัย, อากาศยานไร้คนขับ, ปัจจัยมนุษย์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) การประเมินการบริหารความเสี่ยงความปลอดภัยของปัจจัยมนุษย์ในการปฏิบัติการบินกับอากาศยานไร้คนขับขึ้นลงทางดิ่งพลังงานแสงอาทิตย์ของกองทัพอากาศตามมาตรฐานองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (2) การออกแบบแนวปฏิบัติที่ดีของปัจจัยมนุษย์ในการบริหารความเสี่ยงความปลอดภัยของอากาศยานไร้คนขับขึ้นลงทางดิ่งพลังงานแสงอาทิตย์ของกองทัพอากาศ วิธีดำเนินการวิจัยร่วมกับโครงการวิจัยและพัฒนาอากาศยานไร้คนขับขึ้นลงทางดิ่งพลังงานแสงอาทิตย์ของโรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช ตามมาตรฐานของ NATO Standard AEP-83 Light Unmanned Aircraft Systems Airworthiness Requirements ในหัวข้อการบริหาร
ความเสี่ยงความปลอดภัย โดยการศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และดำเนินการวิเคราะห์ ประเมิน และการออกแบบแนวปฏิบัติที่ดี ผลการวิจัยนำเสนอแนวปฏิบัติที่ดีของการบรรเทาความเสี่ยงให้กับนักบินเพื่อใช้ในการควบคุมและป้องกันความผิดพลาดของมนุษย์ในด้านต่าง ๆ และดำเนินการตรวจสอบการปฏิบัติงาน ได้แก่ รายการตรวจสอบการเตรียมความพร้อมเบื้องต้นสำหรับนักบิน และรายการอุปกรณ์ขั้นต่ำสำหรับนักบิน และผู้วิจัยนำรายการตรวจสอบการเตรียมความพร้อมเบื้องต้นสำหรับนักบินและรายการอุปกรณ์ขั้นต่ำสำหรับนักบิน ไปสอนนักบินและให้นักบินทดสอบการใช้งาน จำนวน 10 ครั้ง พบว่า อากาศยานไร้คนขับขึ้นลงทางดิ่งพลังงานแสงอาทิตย์สามารถปฏิบัติงานด้วยความปลอดภัย จำนวน 10 ครั้ง (100%)

 

References

Barazandeh, A. F. (2012). Principles and guidelines relative to the design of checklists and working methods in the cockpit. Retrieved from https://www.researchgate.net/publication/266470433

Degani, A., & Wiener, E. L. (1993). Cockpit checklists: Concepts, design, and use. Human Factors: The Journal of Human Factors and Ergonomics Society, 35, 345-359. doi:10.1177/001872089303500209

Department of Transport and Bureau of Air Safety Investigation. (2019). Human factors in fatal aircraft accidents. Retrieved from https://www.atsb.gov.au/media/28363/sir199604_001.pdf

International Civil Aviation Organization. (2012). Safety Management Manual (SMM) (3rd ed.). Retrieved from https://www.icao.int/sam/documents/rst-smsssp-13/smm_3rd_ed_advance.pdf

NATO Standardization Office. (2014). NATO Standard AEP-83 Light Unmanned Aircraft Systems Airworthiness Requirements. Brussels: Allied Engineering Publication.

Oakley, J. S. (2012). Accident investigation techniques. Illinois: American society of safety professionals.

Reason, J. (1997). Managing the risks of organizational accidents. U.K.: Ashgate Publishing Limited.

Royal Thai Airforce. (2021). Air force commander policy. Retrieved from https://www.rtaf.mi.th/th/pages/default.aspx. (in Thai)

Safety Center Royal Thai Air Force. (2008). Application of the human factors analysis and classification system in aircraft accident prevention. Bangkok: Air Force Publishing. (in Thai)

Shappell, S. A., & Wiegmann, D. A. (2003). A human error approach to aviation accident Analysis. England: Ashgate Publishing Limited.

Wells, A. T., & Rodrigues, C. C. (2003). Commercial aviation safety. New York: McGraw-Hill.

Williams, K. W. (2004). A summary of unmanned aircraft accident/incident data: Human factors implications. Retrieved from https://www.researchgate.net/publication/235144954

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-07-18

ฉบับ

บท

บทความวิจัย