ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ชาวไทยทรงดำ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านน้ำเรื่อง จังหวัดสุโขทัย

ผู้แต่ง

  • พรพรรณ ไกรเกรียงศรี หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • ศิวิไลซ์ วนรัตน์วิจิตร หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยนเรศวร

คำสำคัญ:

พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ , โรคความดันโลหิตสูง , ชาวไทยทรงดำ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา เพื่อศึกษาปัจจัยด้านชีววิทยา ด้านจิตวิทยา ด้านสังคมและวัฒนธรรม การรับรู้ประโยชน์ การรับรู้อุปสรรคฯ การรับรู้สมรรถนะแห่งตน พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ และปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงกลุ่มชาวไทยทรงดำ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงกลุ่มชาวไทยทรงดำ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านน้ำเรื่อง จังหวัดสุโขทัย จำนวน 176 คน ได้จากการเทียบสัดส่วนของจำนวนตัวอย่าง(n) ต่อตัวแปรต้น(independent  variable) ตามหลักการของ Hair  JF. et.al (1998) สุ่มตัวอย่างแบบง่าย (simple random sampling)  เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน (stepwise multiple regression analysis) ผลการวิจัย พบว่า เพศหญิง ร้อยละ 59.10 มีอายุเฉลี่ย 61.72 ปี (S.D. = 11.84) ระยะเวลาการเป็นโรคความดันโลหิตสูง ส่วนใหญ่ต่ำกว่า 5 ปี ร้อยละ 64.77 โรคหรือภาวะอื่นที่เป็นร่วมด้วย คือ ภาวะไขมันในเลือดสูง ร้อยละ 52.70 การรับรู้ภาวะสุขภาพของตนเอง (= 4.66, SD = 0.59)  แรงจูงใจในตนเอง (= 4.62, SD = 0.52) การรับรู้ประโยชน์ฯ (= 4.59, SD = 0.56) มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับสูงมาก ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง (= 4.22, SD = 0.74) การรับรู้สมรรถนะแห่งตน (= 4.02, SD = 0.80) มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับสูง ส่วนการรับรู้อุปสรรคฯ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับน้อย (= 2.05, SD = 0.46) พฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพโดยรวมอยู่ในระดับสูง (= 3.88, SD = 0.43)  ด้านโภชนาการ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง (= 3.45, SD = 0.49) ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง การรับรู้สมรรถนะแห่งตน การรับรู้อุปสรรคฯ ปัจจัยด้านสังคมและวัฒนธรรม และอายุ เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ ร้อยละ 60.8

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-08-13