ข้อกำหนดทางเภสัชเวทของใบและรากตองแตก
คำสำคัญ:
ข้อกำหนดทางเภสัชเวท Baliospermum solanifolium ตองแตก โครมาโทกราฟีผิวบางบทคัดย่อ
โครงการวิจัยนี้เป็นการศึกษาทางเภสัชเวทของใบและรากตองแตก จากการศึกษาลักษณะเซลล์และเนื้อเยื่อในส่วนของใบและรากตองแตกทั้งหมด 3 แหล่ง ได้แก่ จังหวัดเพชรบุรี จังหวัดลำปาง และจังหวัดขอนแก่น พบว่าในใบมีปากใบ ชนิด paracytic เวสเซลชนิด spiral และ bordered pitted และ ผลึกชนิด rosette aggregate ส่วนในรากมีเวสเซล ชนิด spiral และ bordered pitted รยางค์ผิว (trichome) ชนิด unicellular และพบว่าเซลล์หรือเนื้อเยื่อแต่ละชนิดมีความชุกที่แตกต่างกัน ผลการวิเคราะห์รากตองแตกด้วยเทคนิคโครมาโทกราฟีผิวบาง พบว่าระบบตัวทำละลายที่มีความเหมาะสมสำหรับสารสกัด hexane คือ hexane : dichloromethane (2 : 8) ระบบตัวทำละลายที่มีความเหมาะสมสำหรับสารสกัด dichloromethane คือ toluene : ethyl acetate (7 : 3) ระบบตัวทำละลายที่มีความเหมาะสมสำหรับสารสกัด ethyl acetate คือ toluene : ethyl acetate (7 : 3) ระบบตัวทำละลายที่มีความเหมาะสมสำหรับสารสกัด ethanol คือ dichloromethane : methanol (6 : 4) และการทดสอบด้วยวิธีของชิโนดะ พบว่าสารสกัดส่วนรากผลเป็นบวก ซึ่งคาดว่ามีสารกลุ่มฟลาโวนอยด์