ผลของโปรแกรมการมีส่วนร่วมและการรับรู้ความสามารถของตนเองต่อพฤติกรรมสุขภาพ และระดับความดันโลหิตในกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง อาศัยในเขตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสวนเมี่ยง

ผู้แต่ง

  • มณีวรรณ ดอนทราย หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • สรัญญา ถี่ป้อม หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วม, การรับรู้ความสามารถของตนเอง, พฤติกรรมสุขภาพ, กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นกึ่งทดลอง (quasi-experimental research) เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการมีส่วนร่วมและการรับรู้ความสามารถของตนเอง ต่อพฤติกรรมสุขภาพ และระดับความดันโลหิตในกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง ในเขตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสวนเมี่ยง อำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 35 คน โดยกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมที่ประยุกต์ใช้ทฤษฎีการมีส่วนร่วมและทฤษฎีการรับรู้ความสามารถของตนเอง (Self - Efficacy Theory) ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับบริการตามปกติ และได้ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามก่อนการทดลอง ระหว่างการทดลอง (สัปดาห์ที่ 7) และหลังการทดลอง (สัปดาห์ที่ 12) และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและเปรียบเทียบความแตกต่างโดยใช้ Two-way repeated measures ANOVA Bonferroni และ t-test

ผลการวิจัยพบว่า ระหว่างและหลังการได้รับโปรแกรมกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนการรับรู้ความสามารถของตนเองและคะแนนด้านพฤติกรรมสุขภาพสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรม และมีคะแนนสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p- value < 0.001) และพบว่า มีค่าเฉลี่ย ระดับความดันโลหิตซิสโตลิก และระดับความดันโลหิตไดแอสโตลิกต่ำกว่าก่อนได้รับโปรแกรม และต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p- value < 0.001) จึงสรุปว่าโปรแกรมการมีส่วนร่วมและการรับรู้ความสามารถของตนเองทำให้พฤติกรรมสุขภาพดีขึ้น และลดระดับความดันโลหิตในกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงได้ ดังนั้นบุคลากรสุขภาพควรบูรณาการโปรแกรมนี้ไปใช้ในการดูแลกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงเพื่อให้สามารถควบคุมพฤติกรรมสุขภาพและความดันโลหิตได้อย่างเหมาะสม

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-04-19

ฉบับ

บท

บทความวิจัย