การเยี่ยมบ้านของพยาบาลเพื่อดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง

ผู้แต่ง

  • Saifon Kanthamalee Faculty of Nursing, Eastern Asia University
  • Chutchavarn Wognsaree College of Nursing and Health, Suansunandha Ratchabhat University
  • Nantana Phanchana Faculty of Nursing, Eastern Asia University

คำสำคัญ:

การประยุกต์ใช้ทฤษฏีทางการพยาบาลของไนติงเกล-ทฤษฎีระบบ, ดูแลผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียง, บทบาทพยาบาล

บทคัดย่อ

การติดตามเยี่ยมบ้านเป็นกิจกรรมการดูแล ร่วมสนับสนุนสุขภาพชนิดหนึ่งที่ใช้บ้าน ที่พักอาศัยเป็นฐานในการดูแลแทนสถานพยาบาล ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยมีจำนวนผู้สูงอายุที่ต้องอยู่ในภาวะพึ่งพาเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากการสำรวจพบผู้สูงอายุประเภทออกจากบ้านไม่ได้จำนวน 850,000 คน ในจำนวนนี้เป็นผู้ป่วยติดเตียงที่ต้องให้การดูแลทุกกิจกรรมของการดำรงชีวิต จำนวน 150,000 คน สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากความเสื่อมของร่างกายตามอายุและเกิดจากโรคภัยไข้เจ็บที่ทำให้เกิดภาวะทุพลภาพ อาทิ จากโรคหลอดเลือดสมองที่ทำให้เกิดภาวะอัมพฤกษ์หรืออัมพาต โรคสมองเสื่อมระยะสุดท้ายและจากอุบัติเหตุต่างๆ เพื่อการดูแลระยะยาวและระยะท้ายให้สมศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สาธารณสุขไทยจึงแบ่งระบบการดูแลเป็น 4 ระบบ คือ (1) การดูแลรักษาในโรงพยาบาล (2) การดูแลในสถานดูแลผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียง (3) การดูแลในชุมชน และ (4) การดูแลที่บ้าน ซึ่งบทบาทสำคัญที่พยาบาลต้องปฏิบัติให้สอดคล้องกับระบบการดูแลนั่นคือการติดตามเยี่ยมผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียง ซึ่งในบทความนี้ผู้เขียนได้ประยุกต์ใช้ทฤษฏีทางการพยาบาลของไนติงเกลและทฤษฎีระบบในการติดตามเยี่ยมผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียง และจัดระบบการเขียนตามขั้นตอน การเยี่ยมบ้าน ดังนี้ ระยะก่อนเยี่ยมบ้านซึ่งต้องวางแผนการเยี่ยม การระบุข้อบ่งชี้ในการเยี่ยม การออกแบบวัตถุประสงค์การเยี่ยมและการวางแผนงานเยี่ยมบ้าน ระยะเยี่ยมบ้านดำเนินการเยี่ยมบ้านตามแนวคิด “INHOMEMESS” และระยะหลังการเยี่ยมบ้านมีกิจกรรมสำคัญคือ การวิเคราะห์ข้อมูล การวางแผนแก้ไขปัญหาในการติดตามเยี่ยมครั้งถัดไปและการบันทึกข้อมูลอย่างเป็นระบบ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-20