บทบาทพยาบาลกับการป้องกันและบรรเทาอาการเยื่อบุช่องปากอักเสบในผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับเคมีบำบัด

ผู้แต่ง

  • Nannapat Imrittha Faculty of Nursing, Eastern Asia University
  • Apinya Koontalay College of Nursing and Health, Suansunandha Ratchabhat University
  • Wanida Phraephasa Faculty of Nursing, Eastern Asia University

คำสำคัญ:

ยาเคมีบำบัด, การป้องกันเยื่อบุช่องปากอักเสบ การบรรเทาอาการเยื่อบุช่องปากอักเสบ, บทบาทพยาบาล

บทคัดย่อ

เคมีบำบัดเป็นวิธีการรักษาที่ใช้ได้กับโรคมะเร็งเกือบทุกชนิด ซึ่งแพทย์นิยมใช้เป็นทางเลือกหลักหรือใช้เป็นการรักษาร่วมกับการรักษาวิธีอื่นก็ได้ ยาเคมีบำบัดจะถูกผสมโดยเภสัชกรแต่กระบวนการให้ยาเคมีบำบัดนั้นยังเป็นบทบาทของพยาบาล ซึ่งบางโรงพยาบาลมีหอผู้ป่วยเฉพาะสำหรับดูแลผู้ป่วยขณะรับเคมีบำบัดแต่บ่อยครั้งที่พบการให้ยาเคมีบางชนิดบนหอผู้ป่วย เป็นที่ทราบกันดีแล้วว่ายาเคมีบำบัดมีผลข้างเคียงต่อผู้ป่วยหลายด้าน อาทิ สูญเสียภาพลักษณ์จากผมร่วง ผิวแห้ง คลื่นไส้อาเจียน มีอาการเหนื่อยล้าและภาวะแทรกซ้อนสำคัญคือ การเกิดเยื่อบุช่องปากอักเสบเป็นแผลซึ่งมีผลกระทบด้านลบต่อคุณภาพชีวิตจนก่อเกิดภาวะซึมเศร้าขึ้นได้ในผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด อาการเยื่อบุช่องปากอักเสบเป็นแผลต้องอาศัยพยาบาลช่วยดูแล โดยการใช้บทบาทในการป้องกันสุขภาพ การส่งเสริมสุขภาพ และการร่วมดูแลเมื่อเกิดเยื่อบุช่องปากอักเสบ เพื่อกระบวนการดูแลรักษาที่เน้นความเป็นองค์รวมตามปัจเจกบุคคล พยาบาลที่ให้ยาเคมีบำบัดแก่ผู้ป่วยต้องเป็นผู้ดูแลใช้ชิด เข้าใจเห็นใจและพร้อมที่จะปฏิบัติการพยาบาลเพื่อลดความเจ็บปวด ลดความไม่สุขสบาย ลดภาวะแทรกซ้อนต่างๆให้ผู้ป่วยเกิดความปลอดภัย พึงพอใจกับการรับบริการ สร้างความเข้มแข็งทางกาย จิตสังคมให้ผู้ป่วย ลดอัตราการตายเพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดีแก่ผู้ป่วย พยาบาลจึงได้ศึกษาวิธีการป้องกันและวิธีบรรเทาอาการเยื่อบุช่องปากอักเสบไว้หลายวิธี ซึ่งเป็นบทบาทที่พยาบาลพึงปฏิบัติ ผู้เขียนบทความนี้เพื่อเป็นองค์ความรู้ของศาสตร์การพยาบาลและให้พยาบาลได้นำไปประยุกต์ใช้สำหรับดูแลผู้ป่วยในการป้องกันและบรรเทาอาการเยื่อบุช่องปากอักเสบในผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ได้รับเคมีบำบัดตามบริบทที่เหมาะสมต่อไป

 

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-20