การเปรียบเทียบเครื่องมือประเมินความเสี่ยงการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง
คำสำคัญ:
ความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง, เครื่องมือประเมินความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง, ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองบทคัดย่อ
จากการทบทวนวรรณกรรม เพื่อเปรียบเทียบเครื่องมือประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง พบว่า เครื่องประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง จำนวน 3 เครื่องมือ ได้แก่ แบบคัดกรองความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดสมอง (อัมพฤกษ์อัมพาต) ตามเกณฑ์ของกระทรวงสาธารณสุข, แบบประเมินของ Robins และ แบบประเมิน Stroke Risks Take Test ของสถาบัน British Columbia Centre for Stroke and Cerebrovascular Disease ฉบับภาษาไทยของเฉลิมพล ปี 2546 มีหัวข้อในการประเมินและเกณฑ์การให้คะแนนที่แตกต่างกัน ผลการเปรียบเทียบพบว่า แบบประเมิน Stroke Risks Take Test ของสถาบัน British Columbia Centre for Stroke and Cerebrovascular Disease ฉบับภาษาไทยของเฉลิมพล ปี 2546 เป็นเครื่องมือที่ประเมินความเสี่ยงได้ครอบคลุมปัจจัยการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง ตั้งแต่ อายุ การเกิดอาการสมองขาดเลือดชั่วคราว (TIA) การสูบบุหรี่ อีกทั้งยังมีส่วนที่เป็นรายละเอียดในเรื่องความดันโลหิตสูง ผู้ป่วยที่เริ่มต้นรักษา ยังไม่รักษา รวมไปถึงผู้ป่วยที่รักษาแล้วและควบคุมความดันโลหิตได้ไม่เท่ากันก็ได้ค่าคะแนนความเสี่ยงที่ต่างกัน และข้อดีอีกประการของเครื่องมือ คือ มีการแบ่งความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองออกเป็น 4 ระดับ คือ ระดับความเสี่ยงต่ำ ความเสี่ยงค่อนข้างต่ำ ปานกลางและสูง ทำให้สามารถแยกผู้ป่วยเพื่อการวางแผนการดูแลต่อไปในอนาคตได้ถูกต้องข้อเสนอแนะจากผลของการศึกษา ในการศึกษาวิจัยครั้งต่อไปควรมีการติดตามศึกษาอุบัติการณ์ การเกิดโรคหลอดเลือดสมองที่มีระดับความเสี่ยงแตกต่างกัน