ผลของโปรแกรมหนุ่มสาวกว่าวัยหัวใจดีของบุคลากรกลุ่มเสี่ยง มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชต่อการรับรู้ ความเชื่อในความสามารถของตน และพฤติกรรมป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจ

ผู้แต่ง

  • Chawthip Boromtanarat School of Health Science, Sukhothai Thammathirat Open University

คำสำคัญ:

การรับรู้, ความเชื่อในความสามารถของตน, พฤติกรรมการป้องกัน, โรคหัวใจและหลอดเลือด

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมหนุ่มสาวกว่าวัยหัวใจดีด้านการรับรู้ ความเชื่อในความสามารถของตน และพฤติกรรมป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด กลุ่มตัวอย่างคือบุคลากรมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เลือกแบบเจาะจงตามเกณฑ์กลุ่มเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด จำนวน  60 คน เครื่องมือวิจัย ประกอบด้วย (1)โปรแกรมบุคลากร มสธ.หนุ่มสาวกว่าวัยหัวใจดี ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น เพื่อฝึกอบรม เป็นระยะเวลา 3 เดือน ทุกวันพุธ สัปดาห์ละ 1 ครั้งๆละ 2 ชั่วโมงและติดตามผล 2 ครั้งใน 3 เดือนและ 6 เดือนภายหลังจากการฝึกอบรม และ (2) แบบสอบถาม ที่มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.84 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์ความแปรปรวนที่มีการวัดซ้ำ ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังการฝึกอบรมตามโปรแกรม 3 เดือน 6 เดือน กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยการรับรู้ ความเชื่อในความสามารถของตน และพฤติกรรมป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจ เพิ่มขึ้นมากกว่าก่อนการฝึกอบรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 แสดงว่า โปรแกรมหนุ่มสาวกว่าวัยหัวใจดี มีส่วนทำให้กลุ่มตัวอย่างมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดดีขึ้น

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-04-25

ฉบับ

บท

บทความวิจัย