ลักษณะภาพวินิจฉัยทวารหนักพิการแต่กำเนิดที่ไม่ปรากฏรูเปิด บริเวณฝีเย็บจากการตรวจสวนสารทึบรังสีผ่านทวารเทียมก่อนผ่าตัด
ทวารหนักพิการแต่กำเนิดที่ไม่ปรากฏรูเปิดบริเวณฝีเย็บ
คำสำคัญ:
ทวารหนักพิการแต่กำเนิด, เด็ก, ภาพวินิจฉัย, การตรวจสวนสารทึบรังสีผ่านทวารเทียมบทคัดย่อ
ความถูกต้องของการวินิจฉัยรูเชื่อมทะลุภายในระหว่างลำไส้ตรงตันกับอวัยวะข้างเคียงด้วยการตรวจสวนสารทึบรังสีผ่านทวารเทียมในผู้ป่วยที่ทวารหนักพิการแต่กำเนิดนั้นสำคัญอย่างยิ่งต่อการวางแผนผ่าตัดแก้ไข การวิจัยเชิงวินิจฉัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินลักษณะเฉพาะของภาพวินิจฉัยรูเชื่อมทะลุระหว่างลำไส้ตรงตันกับอวัยวะข้างเคียง โดยทบทวนภาพวินิจฉัยย้อนหลังของผู้ป่วยที่ทวารหนักพิการแต่กำเนิดแบบไม่ปรากฏรูเปิดที่ผิวหนังบริเวณฝีเย็บด้วยการตรวจสวนสารทึบรังสีผ่านทางทวารเทียมระหว่างปี พ.ศ. 2552 ถึง 2565 วินิจฉัยจำแนกชนิดความพิการของทวารหนักตาม Krickenbeck classification วิเคราะห์ความแตกต่างของภาพรังสีระหว่างกลุ่มผ่าตัดพบและไม่พบรูเชื่อมทะลุภายใน สร้างแบบจำลองทำนายวินิจฉัยพบรูเชื่อมทะลุด้วย multivariable logistic regression ซึ่งพบว่ามีผู้ป่วย 29 คนจากทั้งหมด 45 คนที่พบรูเชื่อมทะลุภายใน ลักษณะภาพวินิจฉัยเฉพาะของกลุ่มที่พบรูเชื่อมทะลุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ รูปร่าง beak ของลำไส้ตรงตัน, ความพิการของลำไส้ตรงตันระดับสูง และปรากฏสารทึบรังสีผ่านรูเชื่อมทะลุ เมื่อสร้างแบบจำลองทำนายที่ใช้เพียงสองลักษณะแรกพบว่ามีความแม่นยำในการวินิจฉัยรูเชื่อมทะลุภายในสูง (AUC = 0.95, 95%CI 0.89-1.00) และเมื่อเทียบการทำนายวินิจฉัยกับแบบจำลองที่ใช้ทุกลักษณะเฉพาะพบว่าความแม่นยำลดลงเล็กน้อย (AUC = 0.97, 95%CI:0.93-1.00) สรุปได้ว่าลักษณะภาพวินิจฉัยเฉพาะ ได้แก่ รูปร่าง beak และความพิการระดับสูงของลำไส้ตรงตันช่วยทำนายวินิจฉัยรูเชื่อมทะลุภายในระหว่างลำไส้ตรงตันกับอวัยวะข้างเคียงได้ถูกต้องแม่นยำสูง แม้ตรวจไม่พบสารทึบรังสีผ่านรูเชื่อมทะลุ
References
Westgarth-Taylor C, Westgarth-Taylor T, Wood R, Levitt M. Imaging in anorectal malformations: What does the surgeon need to know? S Afr J Rad 2015;19(2):1-10. doi:10.4102/sajr.v19i2.903
Alamo L, Meyrat BJ, Meuwly JY, Meuli RA, Gudinchet F. Anorectal malformations: Finding the pathway out of the labyrinth. Radiographics 2013;33(2):491-512.
Tofft L, Salö M, Arnbjörnsson E, Stenström P. Accuracy of pre-operative fistula diagnostics in anorectal malformations. BMC Pediatrics 2021;21(283):1-6. doi: 10.1186/s12887-021-02761-6
AbouZeid AA, Mohammad SA, Ibrahim SE, ElDieb LR. Anorectal anomalies in the male: revisiting the radiological classification. Ann Pediatr Surg 2020;16(42):1-10. doi: 10.1186/s43159-020-00054-8
Riccabona M, Lobo ML, Ording-Muller LS, Augdal AT, Avni EF, Blickman J, et al. European Society of Paediatric Radiology abdominal imaging task force recommendations in paediatric uroradiology, part IX: Imaging in anorectal and cloacal malformation, imaging in childhood ovarian torsion, and efforts in standardising paediatric uroradiology terminology. Pediatr Radiol 2017;47:1369–80. doi: 10.1007/s00247-017-3837-6
Ekwunife OH, Umeh EO, Ugwu JO, Ebubedike UR, Okoli CC, Modekwe VI, et al. Comparison of trans-perineal ultrasound-guided pressure augmented saline colostomy distension study and conventional contrast radiographic colostography in children with anorectal malformation. Afr J Paediatr Surg 2016;13(1):26-31. doi: 10.4103/0189-6725.181703
Zhan Y, Wang J, Guo W. Comparative effectiveness of imaging modalities for preoperative assessment of anorectal malformation in the pediatric population. J Pediatr Surg 2019;54(12): 2550-3. doi: 10.1016/j.jpedsurg.2019.08.037
Rahalkar MD, Rahalkar AM, Phadke DM. Pictorial essay: Distal colostography. Indian J Radiol Imaging 2010;20(2):122-5. doi: 10.4103/0971-3026.63054
Konjanat J, Niramis R, Anuntkosol M, Nithipanya N, Buranakitjaroen V, Tongsin A, et al. Evaluation of rectal pouch level in anorectal malformations: Comparison between invertogram and prone lateral cross-table radiograph. TJS 2013;34(1):4-9.
Widyasari N, Anandasari PPY. Case series: review of several types fistulas of anorectal malformation on distal loopography. Medicina 2019;50(2):365-9. doi:10.15562/Medicina.v50i2.865
Jun LH, Jacobsen A, Rai R. Case Report: A case series of rare high-type anorectal malformations with perineal fistula: Beware of urethral involvement. Front Surg 2021;8:1-6. doi: 10.3389/fsurg.2021.693587
Brisighelli G, Lorentz L, Pillay T, Westgarth-Taylor CJ. Rectal perforation following high-pressure distal colostogram. Eur J Pediatr Surg Rep 2020;8(1):e39–e44. doi: 10.1055/s-0040-1709140
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 ``โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.