ความถูกต้องของการตรวจอัลตราซาวด์เฝ้าระวังการกลับเป็นซ้ำครั้งแรกหลังผ่าตัดมะเร็งเต้านม ในระยะไม่มีอาการ

การเฝ้าระวังการกลับเป็นซ้ำของมะเร็งเต้านมด้วยอัลตราซาวด์

ผู้แต่ง

  • ทิพย์สุมล ตั้งศรีวงศ์ กลุ่มงานรังสีวิทยา โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก

คำสำคัญ:

การกลับมาเป็นซ้ำของมะเร็ง, อัลตราซาวด์, การตรวจคัดกรอง, มะเร็งเต้านม, ระยะไม่มีอาการ

บทคัดย่อ

การกลับเป็นซ้ำของมะเร็งเต้านมเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำนายการแพร่กระจายของมะเร็ง การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินการ วินิจฉัยการกลับเป็นซ้ำครั้งแรกหลังผ่าตัดมะเร็งเต้านมในระยะไม่มีอาการด้วยการตรวจอัลตราซาวด์และหาลักษณะจำเพาะที่บ่งชี้การกลับเป็นซ้ำของโรคโดยศึกษาย้อนหลัง 4 ปีจากผลการตรวจอัลตราซาวด์ของผู้ป่วยที่ผ่าตัดมะเร็งเต้านมแล้ว ไม่เคยเป็นมะเร็ง ซ้ำ และไม่ปรากฏอาการแสดง 1,437 คน รายงานผลตาม ACR BI-RADS โดยทบทวนลักษณะทางอัลตราซาวด์และผลตรวจยืนยัน วินิจฉัยของผู้ป่วยที่มีรอยโรคสงสัยเข้าได้กับ BI-RADS 4 หรือ 5 ผลการศึกษาพบว่าผู้ป่วย 36 คน (ร้อยละ 2.5) พบลักษณะสงสัย มะเร็งจากอัลตราซาวด์ ผู้ป่วย 22 คน (ร้อยละ 1.5) ปรากฏมะเร็งซ้ำจริง โดย 1 คนเป็นมะเร็งซ้ำแต่การตรวจอัลตราซาวด์ ไม่พบรอย โรค ทั้งนี้การตรวจด้วยอัลตราซาวด์มีความถูกต้อง ความไว ความจำเพาะ พยากรณ์ผลบวก และพยากรณ์ผลลบเท่ากับร้อยละ 99.0, 95.7, 99.0, 61.1 และ 99.9 ตามลำดับ ลักษณะทางอัลตราซาวด์ที่จำเพาะต่อการเกิดมะเร็งซ้ำในตำแหน่งทรวงอก ได้แก่ รูปร่าง ขรุขระ (p = 0.008) และขอบไม่เรียบ (p = 0.005) ส่วนลักษณะจำเพาะของต่อมน้ำเหลือง คือ ความเข้มดำของรอยโรค (p <  0.001) ดังนั้น อัลตราซาวด์มีประสิทธิผลและความถูกต้องสูงสำหรับเฝ้าระวังการกลับเป็นซ้ำครั้งแรกหลังผ่าตัดมะเร็งเต้านมในระยะไม่มีอาการ

References

1. Puglisi F, Fontanella C, Numico G, Sini V, Evangelista L, Monetti F, et al. Follow-up of patients with early breast cancer: Is it time to rewrite the story?. Crit Rev Oncol Hemat 2014;91(2):130-41.

2. Moon HJ, Kim MJ, Kin EK, Park BW, Youk JH, Kwak JY, et al. US surveillance of regional lymph node recurrence after breast cancer surgery. Radiology 2009;252(3):673-81.

3. Suh YJ, Kim MJ, Kim EK, Moon HJ, Kim SI. Value of ultrasound for postoperative surveillance of Asian patients with history of breast cancer surgery: A single-center study. Ann Surg Oncol 2013;20(11):3461-8.

4. Lee JH, Kim EK, Oh JY, Kwon HC, Kim SH, Kim DC, et al. US screening for detection of nonpalpable locoregional recurrence after mastectomy. Eur J Radiol 2013;82(3):485-9.

5. Houssami N, Ciatto S, Martinelli F, Bonardi R, Duffy SW. Early detection of second breast cancers improves prognosis in breast cancer survivors. Ann Oncol 2009;20(9):1505-10.

6. Lu WL, Jansen L, Post WJ, Bonnema J, Van de Velde JC, De Bock GH. Impact on survival of early detection of isolated breast recurrences after the primary treatment for breast cancer: A meta-analysis. Breast Cancer Res Treat 2009;114(3):403-12.

7. National Comprehensive Cancer Network. NCCN clinical practice guidelines in oncology:Breast cancer. Version 3. 2019. NCCN [online].2019 [cited 2019, July 1]. Available from:https://www.nccn.org/

8. Shin JH, Han BK, Choe YH, Nam SJ, Park W, Im YH. Ultrasonographic detection of occult cancer in patients after surgical therapy for breast cancer. J Ultrasound Med 2005;24(5):543-9.

9. D’Orsi CJ, Sickles EA, Mendelson EB, Morris EA, editors. Breast imaging reporting and data system: ACR BI-RADS—breast imaging atlas. 5th ed. Reston, Virginia:American College of Radiology; 2013.

10. Hooley RJ, Scoutt LM, Philpotts LE. Breast ultrasonography: State of the art. Radiology 2013;268(3):642-59.

11. Edeiken BS, Fornage BD, Bedi BG, Sneige N, Parulekar SG, Pleasure J. Recurrence in autogenous myocutaneous flap reconstruction after mastectomy for primary breast cancer surgery: US diagnosis. Radiology 2003;227 (2):13-8.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-10-12