การรักษาทางทันตกรรมประดิษฐ์ของผู้ป่วยกลุ่มอาการใช้งานฟันหน้าสบมากเกิน

การรักษาผู้ป่วยกลุ่มอาการใช้งานฟันหน้าสบมากเกิน

ผู้แต่ง

  • เฉลิมศักดิ์ จินดาดำรงเวช กลุ่มงานทันตกรรม โรงพยาบาลสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์

คำสำคัญ:

กลุ่มอาการใช้งานฟันหน้าสบมากเกิน, คอมบิเนชั่นซินโดรม, ฟันเทียมทั้งปาก, ฟันเทียมบางส่วน ถอดได้ชนิดขยายฐาน

บทคัดย่อ

กลุ่มอาการใช้งานฟันหน้าสบมากเกิน (หรือคอมบิเนชั่นซินโดรม) มักพบในผู้ป่วยที่สวมฟันเทียมทั้งปากในขากรรไกรบนที่สบกับฟัน เทียมบางส่วนถอดได้ชนิดขยายฐานในขากรรไกรล่าง ลักษณะที่ปรากฏประกอบด้วยเนื้อเยื่อปวกเปียกบริเวณส่วนหน้าของสัน เหงือกขากรรไกรบน การงอกเกินของปุ่มขากรรไกรบน การเอียงลาดของระนาบบดเคี้ยว และการสลายตัวของกระดูกขากรรไกรล่าง บริเวณส่วนขยายฐาน ซึ่งทำให้การรักษายุ่งยากมากขึ้นและแม้ว่ารากฟันเทียมเป็นสิ่งรองรับที่ดีกว่า แต่ในบางกรณีจำเป็นต้องใส่ฟัน เทียมแบบดั้งเดิมด้วยเหตุผลด้านสุขภาพหรือด้านการเงิน รายงานผู้ป่วยฉบับนี้ได้นำเสนอการฟื้นฟูสภาพช่องปากด้วยการรักษา ทางทันตกรรมประดิษฐ์ด้วยวิธีดั้งเดิมในผู้ป่วยที่มีกลุ่มอาการใช้งานฟันหน้าสบมากเกิน จากการติดตามผลการรักษา 12 เดือน ไม่พบการเปลี่ยนแปลงของสันเหงือกด้านท้ายที่รองรับฟันเทียม ผู้ป่วยพึงพอใจและใช้งานฟันเทียมได้ดี

References

1. The glossary of prosthodontic terms [miscellany]. J Prosthet Dent 2005;94(1):10-92.

2. Kelly E. Changes caused by a mandibular removable partial denture opposing a maxillary complete denture. J Prosthet Dent 2003;90(3):213-19.

3. Saunders TR, Gillis RE Jr, Desjardins RP. The maxillary complete denture opposing the mandibular bilateral distal-extension partial denture: Treatment considerations. J Prosthet Dent 1979;41(2):124-8.

4. Shen K, Gongloff RK. Prevalence of the 'combination syndrome' among denture patients. J Prosthet Dent 1989;62(6):642-4.

5. Jameson WS. The use of linear occlusion to treat a patient with combination syndrome:A clinical report. J Prosthet Dent 2001;85(1):15-9.

6. Tolstunov L. Management of biomechanical complication of implant-supported restoration of a patient with combination syndrome:A case report. J Oral Maxillofac Surg 2009;67:178-88.

7. Prasad DK, Mehra D, Prasad DA. Prosthodontic management of compromised ridges and situations. NUJHS 2014;4(1):141-8.

8. Langer Y, Laufer B, Cardash HS. Modalities of treatment for the combination syndrome. J Prosthodont 1995;4(2):76-82.

9. Singh DM, Dable R, Tandon P, Jain A. Prosthodontics rehabilitation of a maxillary fibrous ridge-a case report. TMU J Dent 2014;1(4):164-7.

10. Zarb G, Hobkirk JA, Eckert SE, Jacob RF. Prosthodontic treatment for edentulous patients: Complete dentures and implantsupported prostheses. 13th ed. St Louis:Mosby; 2013.

11. Bagga R, Robb ND, Fenlon MR. An investigation into the prevalence of combination syndrome. J Dent 2019;82:66-70.

12. Phoenix RD, Cagna DR, DeFreest CF. Stewart's clinical removable partial prosthodontics. 4th ed. Chicago: Quintessence Publishing; 2008.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-08-17