ผลของโปรแกรมส่งเสริมการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกในการดูแล สุขภาพช่องปากต่อการปฏิบัติของพยาบาลวิชาชีพและสุขภาพช่องปาก ของผู้ป่วยที่ใส่ท่อทางเดินหายใจในหอผู้ป่วยศัลยกรรม
แนวปฏิบัติทางคลินิกเรื่องสุขภาพช่องปากของผู้ป่วยที่ใส่ท่อทางเดินหายใจ
คำสำคัญ:
การส่งเสริมการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิก, สุขภาพช่องปาก, พยาบาลวิชาชีพ, ผู้ป่วยที่ใส่ท่อทางเดินหายใจบทคัดย่อ
การใส่ท่อทางเดินหายใจทางปากเพื่อช่วยชีวิตผู้ป่วยส่งผลกระทบต่อสุขภาพช่องปากของผู้ป่วย การวิจัย
กึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลของโปรแกรมส่งเสริมการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกต่อการปฏิบัติของ
พยาบาลวิชาชีพและสุขภาพช่องปากของผู้ป่วยที่ใส่ท่อทางเดินหายใจศึกษาในพยาบาลวิชาชีพ 12 คนและผู้ป่วย
ที่ใส่ท่อทางเดินหายใจ 50 คน ณ หอผู้ป่วยศัลยกรรมชาย 2 โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก โดยกลุ่มพยาบาล
วิชาชีพได้รับโปรแกรมส่งเสริมการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกที่ประยุกต์ใช้ทฤษฎีการเผยแพร่นวัตกรรมของ Rogers
เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูล คือ แบบสังเกตการปฏิบัติของพยาบาลวิชาชีพในการดูแลสุขภาพช่องปากและแบบประเมิน
สุขภาพช่องปากของผู้ป่วยที่ใส่ท่อทางเดินหายใจ นำเสนอข้อมูลเป็นค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่ามัธยฐาน
เปรียบเทียบข้อมูลด้วยการทดสอบ McNemar, chi-square, exact probability, Mann-Whitney U และ Wilcoxon
signed rank กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ดำเนินการระหว่างเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2561 ถึงเดือนกุมภาพันธ์
พ.ศ. 2562 ผลการศึกษาพบว่าจำนวนกิจกรรมการปฏิบัติที่ถูกต้องของพยาบาลวิชาชีพในระยะหลังใช้โปรแกรมฯ
มากกว่าระยะก่อนใช้โปรแกรมอย่างมีนัยทางสถิติทุกกลุ่มกิจกรรม สุขภาพช่องปากของผู้ป่วยที่ใส่ท่อทางเดินหายใจ
ในวันที่ 2 และวันที่ 5 หรือวันที่เอาท่อทางเดินหายใจออกหลังใช้โปรแกรมฯ และสุขภาพช่องปากของผู้ป่วย
ที่ใส่ท่อทางเดินหายใจหลังใช้โปรแกรมฯ วันที่ 2 กับวันแรก, วันที่ 5 หรือวันที่เอาท่อทางเดินหายใจออกกับวันแรก
และวันที่ 5 หรือวันที่เอาท่อทางเดินหายใจออกกับวันที่ 2 ดีกว่าก่อนใช้โปรแกรมฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
สรุปได้ว่าโปรแกรมส่งเสริมการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกในการดูแลสุขภาพช่องปากฯ นี้สามารถเพิ่มการปฏิบัติที่ถูก
ต้องของพยาบาลวิชาชีพและทำให้สุขภาพช่องปากของผู้ป่วยดีขึ้น
References
2. Birkett KM, Southerland KA, Leslie GD. Reporting unplanned extubation. Intensive Crit Care Nurs 2005;21(2):65-75.
3. Grap MJ, Blecha T, Munro C. A description of patients' report of endotracheal tube discomfort. Intensive Crit Care Nurs 2002;18(4):244-9.
4. Cassiere HA, Niederman MS. New etiopathogenic concepts of ventilatorassociated pneumonia. Semin Respir Infect 1996;11(1):13-23.
5. Munro CL, Grap MJ. Oral health and care in the intensive care unit: state of the science. Am J Crit Care 2004;13(1):25-33.
6. Rujipong P, Lekutai S, Pinyopasakul W, Rungruanghiranya S. The effect of using an oral care clinical nursing practice guideline on oral hygiene status and ventilator-associated pneumonia in intubated patients. J Nurs Sci 2009;27(Suppl 2):57-64.
7. Pruitt B. Clear the air with closed suctioning. Nursing 2005;35(7):44-5.
8. Tan-Khum A, Jiewprasat K, Wattradul D. Effect of implementing oral care guideline among intubated patients in critical care unit. Thai J Cardio-thoracic Nurs 2012;23(2):59-76.
9. Biancofiore G, Barsotti E, Catalani V, Landi A, Bindi L, Urbani L, et al. Nurses'knowledge and application of evidencebased guidelines for preventing ventilatorassociated pneumonia. Minerva Anesthesiol 2007;73(3):129-34.
10. Rogers E. Diffusion of innovations. 4th ed. New York: The Free Press; 1995.
11. Ross A, Crumpler J. The impact of an evidence-based practice education program on the role of oral carein the prevention of ventilator-associated pneumonia. Intensive Crit Care Nurs 2007;23(3):132-6.
12. Eilers J, Million R. Clinical update: prevention and management of oralmucositis in patients with cancer. SeminOncolNurs 2011;27 (4):e1-16.