การใช้ยาปฏิชีวนะอย่างเหมาะสมสำหรับโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลันในผู้ป่วยนอก ศูนย์สุขภาพชุมชนในเขตเมือง

การใช้ยาปฏิชีวนะอย่างเหมาะสมสำหรับโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน

ผู้แต่ง

  • ดุสิตา ตู้ประกาย

คำสำคัญ:

อุจจาระร่วงเฉียบพลัน, ยาปฏิชีวนะ, ผู้ป่วยนอก, หน่วยบริการปฐมภูมิ

บทคัดย่อ

การใช้ยาปฏิชีวนะอย่างไม่สมเหตุสมผลในการรักษาผู้ป่วยโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลันเป็นปัญหาที่พบมายาวนานในประเทศไทย ซึ่งนำไปสู่ผลข้างเคียง เช่น อัตราการดื้อยาปฏิชีวนะที่เพิ่มขึ้นและค่าใช้จ่ายในการรักษาเพิ่มขึ้น   การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความชุกของการใช้ยาปฏิชีวนะในการรักษาอาการท้องร่วงเฉียบพลันในผู้ป่วยนอกที่มารับการรักษาที่ศูนย์สุขภาพชุมชนในเขตเมืองของโรงพยาบาลลำปาง การศึกษาแบบภาคตัดขวางเพื่อประเมินการใช้ยาปฏิชีวนะในผู้ป่วยนอกระหว่างเดือนมกราคมถึงธันวาคม พ.ศ. 2559 ผู้วิจัยได้ทบทวนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์จากเวชระเบียน ได้แก่ ประวัติทางการแพทย์ ผลการตรวจร่างกาย และผลการตรวจจากห้องปฏิบัติการเพื่อหาความเกี่ยวข้องระหว่างปัจจัยต่างๆ ได้แก่ กลุ่มอายุ เพศ ของผู้ป่วยและแพทย์ผู้รักษา รวมถึงระยะเวลาในการปฏิบัติงานเป็นแพทย์ของผู้รักษากับการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุสมผลในการรักษาผู้ป่วย  ผลการศึกษาพบว่าจากจำนวนผู้ป่วยที่มารับบริการทั้งสิ้น 1,127 ราย ผู้ป่วยอายุ 15-59 ปีร้อยละ 71.3 ใช้ยาปฏิชีวนะอย่างเหมาะสมร้อยละ 64.9 ปัจจัยที่มีผลต่อการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุสมผล ได้แก่ ระยะเวลาในการปฏิบัติงานเป็นแพทย์ของผู้รักษา สรุปได้ว่าการใช้ยาปฏิชีวนะที่ไม่เหมาะสมในการรักษายังเป็นปัญหา ดังนั้นจึงควรมีมาตรการเพื่อรับมือกับปัญหาการใช้ยาปฏิชีวนะดังกล่าว โดยพัฒนาระบบการศึกษาต่อเนื่องเรื่องการใช้ยาปฏิชีวนะที่เหมาะสมสำหรับแพทย์เพื่อลดการดื้อยาปฏิชีวนะและส่งเสริมการใช้ทรัพยากรด้านสุขภาพที่มีประสิทธิภาพ

Author Biography

ดุสิตา ตู้ประกาย

กลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลลำปาง 52000

References

1. Department of Disease Control. Bureau of Epidemiology. Annual surveillance summary situation of diarrheal diseases[homepage on the internet]. 2017 [cited2018, Jul 3]. Available from: http://www. boe.moph.go.th/boedb/surdata/disease.php?dcontent=old&ds=02

2. World Health Organization, Department of Child and Adolescent Health and Development. The treatment of diarrhoea: a manual for physicians and other senior health workers. [monograph online]. Geneva:Dept. of Child and Adolescent Health and Development, World Health Organization;2005 [cited 2018 Jul 3]. Available from:https://apps.who.int/iris/bitstream/handle/10665/43209/9241593180.pdf

3. Academic Committee on the Rational Drug Use in Community Pharmacy. Rational drug use in community pharmacy [monograph online]. Bangkok: Food and Drug Administration; 2017 [cited 2018 Jul 3]. Available from: https://www.slideshare.net/UtaiSukviwatsirikul/rdu-book

4. Bureau of Epidemiology. Annual surveillance summary situation of diarrhea diseases. Nonthaburi: Department of Disease Control, Ministry of Public Health; 2007.

5. Techahakit W. The use of antibiotics in the management of acute diarrhea among out-patients at Suratthani Hospital. Region 11 Med J 2012;26(3):591-7.

6. Howteerakul N, Higginbotham N, Dibley MJ. Antimicrobial use in children under five years with diarrhea in a central region province, Thailand. Southeast Asian J Trop Med Public Health 2004;35(1):181-7.

7. Osatakul S, Puetpaiboon A. Appropriate use of empirical antibiotics in acute diarrhoea: a cross-sectional survey in southern Thailand. Ann Trop Paediatr 2007;27(2):115-22.

8. Supcharassaeng S, Suankratay C. Antibiotic prescription for adults with acute diarrhea at King Chulalongkorn Memorial Hospital, Thailand. J Med Assoc Thai 2011;94(5):545-50.

9. Wongnai A. Antibiotics prescribing for acute diarrhea at Pua Crown Prince Hospital, Nan Province. J Health Sys Res 2011;5(2):181-6.

10. Manatsathit S, Dupont HL, Farthing M, Kositchaiwat C, Leelakusolvong S, Ramakrishna BS, et al. Guideline for the management of acute diarrhea in adults. J Gastroenterol Hepatol 2002;17(Suppl 1):S54-71.

11. Sub-Committee on the Promotion of Drug Use. Rational drug use hospitalmManual. [monograph online]. Bangkok: Agricultural Cooperative Federation of Thailand; 2015 [cited 2018, Jul 3]. Available from: https://www.hsri.or.th/sites/default/files/attachment/RDU%20Book.pdf

12. Smith DRM, Dolk FCK, Pouwels KB, Christie M, Robotham JV, Smieszek T. Defining the appropriateness and inappropriateness of antibiotic prescribing in primary care. J Antimicrob Chemother 2018;73(Suppl 2):ii11-8.

13. Fleming-Dutra KE, Hersh AL, Shapiro DJ, Bartoces M, Enns EA, File TM, et al. Prevalence of inappropriate antibiotic prescriptions among US ambulatory care visits, 2010-2011. JAMA 2016 ;315(17):1864-73.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-01