ภาระทางเศรษฐศาสตร์ของโรคติดสุราจากระดับโรงพยาบาลสู่ภาพรวมระดับประเทศ

ผู้แต่ง

  • วัลลดา พุ่มไพศาลชัย, ภ.บ. ภาควิชาบริบาลเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • ชิดชนก เรือนก้อน, ปร.ด. ภาควิชาบริบาลเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คำสำคัญ:

การวิเคราะห์ต้นทุน, ต้นทุนความเจ็บป่วย, ผู้ป่วยติดสุรา, ภาระโรค

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาภาระทางเศรษฐศาสตร์ของโรคติดสุรา ณ โรงพยาบาลสวนปรุง จังหวัดเชียงใหม่ โดยใช้มุมมองทางสังคม และวิเคราะห์ภาพรวมในระดับประเทศ

วิธีการ: วิจัยเชิงพรรณนาแบบไปข้างหน้า สุ่มผู้ป่วยโรคติดสุรา ตั้งแต่ 1 มิถุนายน 2559 จำนวน 192 คน ติดตามคนละ 12 เดือน โดยคนสุดท้ายติดตามจนถึง 3 กันยายน 2560 เก็บข้อมูลการรักษาจากเวชระเบียน คำนวณต้นทุนตรงทางการแพทย์จากฐานข้อมูลโรงพยาบาล สัมภาษณ์ค่าเดินทาง ค่าที่พัก ค่าอาหารส่วนเพิ่ม ความเสียหายจากโรคติดสุรา ผลิตภาพการทำงานที่ลดลง และปรับต้นทุนเป็นปี 2562 ด้วยดัชนีราคาผู้บริโภค วิเคราะห์ข้อมูลภาระทางเศรษฐศาสตร์ของกลุ่มตัวอย่างและภาพรวมระดับประเทศจากสถิติกรมสุขภาพจิตและรายงานองค์การอนามัยโลก

ผล: กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 89.6 เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 43.93 ± 10.11 ปี เข้ารักษารวม 724 ครั้ง เป็นผู้ป่วยนอก 491 ครั้ง (3.56 ± 3.07 ครั้ง/คน) คิดเป็นต้นทุนเมื่อปรับดัชนีราคาผู้บริโภค 7,005.85 บาท/คน/ปี ผู้ป่วยใน 233 ครั้ง (1.82 ± 1.29 ครั้ง/คน หรือ 37.24 ± 29.84 วันนอน/คน) เป็นต้นทุน 70,794.20 บาท/คน/ปี รวมต้นทุนตรงเฉลี่ยผู้ป่วยในและนอกเป็น 52,268.08 บาท/คน/ปี ต้นทุนทางตรงที่ไม่ใช่ทางการแพทย์และต้นทุนทางอ้อมคิดเป็น 7,977.90 และ 12,263.53 บาท/คน/ปี ตามลำดับ รวม 72,736.08 บาท/คน/ปี ภาระเศรษฐศาสตร์ภาพรวมการรักษาของกรมสุขภาพจิตปี พ.ศ. 2561 เป็น 31,451.020 ล้านบาท และขององค์การอนามัยโลก พ.ศ. 2559 เป็น 52,059.065 ล้านบาท

สรุป: ผู้ป่วยติดสุราก่อให้เกิดภาระทางเศรษฐศาสตร์จำนวนมาก โดยเฉพาะผู้ที่ต้องรักษาแบบผู้ป่วยใน การช่วยให้ผู้ป่วยลดหรือหยุดดื่มสุราระยะยาว จะสามารถลดต้นทุนจากจำนวนผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาได้

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biography

ชิดชนก เรือนก้อน, ปร.ด., ภาควิชาบริบาลเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ตำแหน่ง : อาจารย์

หน่วยงาน: ภาควิชาบริบาลเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

วุฒิการศึกษา วท.ด. คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

References

ปริทรรศ ศิลปกิจ, วนิดา พุ่มไพศาลชัย, ชิดชนก เรือนก้อน, ชลีพร สมใจ, จงรักษ์ ฐาปนวรกูล. ความชุกของความผิดปกติของการดื่มแอลกอฮอล์ในคนไทย โรคร่วมทางจิตเวชและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง. [Prevalence of alcohol use disorders, psychiatric co-morbidity and associated factors among the Thai population] วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย. 2560;25:107-21. จาก: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jmht/article/view/142712

World health organization. Global status report on alcohol and health 2018. Switzerland: WHO; 2018.

Shield K, Manthey J, Rylett M, Probst C, Wettlaufer A, Parry CDH, et al. National, regional, and global burdens of disease from 2000 to 2016 attributable to alcohol use: a comparative risk assessment study. Lancet Public Health. 2020;5:e51-61. doi:10.1016/S2468-2667(19)30231-2.

Byford S, Torgerson DJ, Raftery J. Economic note: cost of illness studies. BMJ. 2000;320(7245):1335. doi:10.1136/bmj.320.7245.1335.

Thavorncharoensap M, Teerawattananon Y, Yothasamut J, Lertpitakpong C, Thitiboonsuwan K, Neramitpitagkul P, et al. The economic costs of alcohol consumption in Thailand, 2006. BMC Public Health. 2010;10:323. doi:10.1186/1471-2458-10-323.

สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์. ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป [Consumer price index] [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: สำนัก; 2562 [สืบค้นเมื่อวันที่ 19 ม.ค. 2563]. จาก: https://www.price.moc.go.th/price/cpi/index_new.asp.

วิเชียร เทียนจารุวัฒนา, ถาวร สกุลพาณิชย์, ดิชพงศ์ พงศ์ภัทรชัย, ขวัญประชา เชียงไชยสกุลไทย. คู่มือการศึกษาต้นทุนสถานบริการสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข [The manual of unit cost study in the hospital, 2013]. นนทบุรี: ศูนย์ศึกษาต้นทุนค่าใช้จ่ายสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข; 2554.

Zhang W, Bansback N, Boonen A, Young A, Singh A, Anis AH. Validity of the work productivity and activity impairment questionnaire--general health version in patients with rheumatoid arthritis. Arthritis Res Ther. 2010;12(5):R177. doi:10.1186/ar3141.

ระบบศูนย์กลางการให้บริการผู้ป่วยจิตเวชของประเทศไทย กรมสุขภาพจิต. รายงานผู้ป่วยมารับบริการด้านจิตเวชภาพรวมทั้งประเทศ [Report of psychiatric patients in national overview]. นนทบุรี: กรมสุขภาพจิต; 2561.

ไพรินทร์ เชื้อสมุทร, ชมพูนุท โกสลากร เพิ่มพูนวิวัฒน์, สุรีรัตน์ งามเกียรติไพศาล. การศึกษาต้นทุนการให้บริการในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ศูนย์สุขภาพชุมชนโรงพยาบาลชลประทาน จังหวัดนนทบุรี [A study of cost of universal coverage scheme in Chonpratan primary care unit]. วารสารเศรษฐศาสตร์และนโยบายสาธารณะ. 2554;4(2):61-72. จาก: https://so01.tci-thaijo.org/index.php/econswu/article/view/74982

วิน เตชะเคหะกิจ, ศิรรัตน์ ชูศรี, ศศิวิมล ชัยกูล, นิชนันท์ กาญจนสุภัค, สิรินาถ จันทร์ลา, เด่นชัย ชัยสวัสดิ์, และคณะ. การศึกษาต้นทุนทางตรงที่ไม่เกี่ยวข้องกับการแพทย์ของผู้ป่วยใน โรงพยาบาลสุราษฎรธานี [The study of direct non-medical costs of in-patients at Suratthani hospital: A cross-sectional survey]. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข. 2555;6:467-75. จาก: https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/3792?locale-attribute=th

ธัชนันท์ โกมลไพศาล. การศึกษาต้นทุนผลกระทบทางสังคมจากการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในประเทศไทย: การพัฒนาไฟล์ต้นแบบในการประเมิน [The estimation of societal cost of alcohol consumption in Thailand: the development of estimation template]. กรุงเทพฯ: คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2558.

มนทรัตม์ ถาวรเจริญทรัพย์, ยศ ตีระวัฒนานนท์, อุษา ฉายเกล็ดแก้ว, ชนิดา เลิศพิทักษ์พงศ์, จอมขวัญ โยธาสมุทร, กรรณิการ์ ฐิติบุญสุวรรณ, และคณะ. การศึกษาต้นทุนผลกระทบทางสังคม สุขภาพและเศรษฐกิจของการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในประเทศไทย [A study on costs of social, health and economic consequences of alcohol consumption in Thailand]. กรุงเทพฯ: พิมพ์ดีการพิมพ์; 2551.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-05-13

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ