ปัจจัยที่มีผลต่อทัศนคติทางเพศของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลายในโรงเรียน สังกัดเทศบาลเมืองอุตรดิตถ์

Main Article Content

ดุจเดือน เขียวเหลือง
สิตานันท์ ศรีใจวงศ์
กันตวิชญ์ จูเปรมปรี
กาญจนาภา ศุภบูรณ์
พรกมล วิศว์วิสุทธิ์

บทคัดย่อ

งานวิจัยแบบบรรยายเชิงทำนายในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทัศนคติทางเพศและปัจจัยที่มีผลต่อทัศนคติทางเพศของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลายในโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้เป็นนักเรียนระดับประถมศึกษาตอนปลายชั้นปีที่ 4-6 ที่กำลังศึกษาอยู่ในโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ ปีการศึกษา 2565 จำนวน 345 คน สุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับทัศนคติทางเพศ แบบประเมินรูปแบบการเลี้ยงดูของครอบครัว และแบบสอบถามเกี่ยวกับการรับรู้การสื่อสารทางเพศในครอบครัวซึ่งได้รับการตรวจคุณภาพเครื่องมือได้ค่าความเที่ยงเท่ากับ .82 - .94 วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงบรรยายและสถิติสมการถดถอยพหูคูณแบบขั้นตอน


ผลการวิจัยพบว่าส่วนใหญ่ (ร้อยละ 76.35) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลายในโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ มีทัศนคติทางเพศอยู่ในระดับดี (𝑥̅ =32.18, SD =2.36 คะแนนเต็ม = 40 คะแนน) และปัจจัยที่มีผลต่อทัศนคติทางเพศ ได้แก่ รูปแบบการเลี้ยงดูของครอบครัวและการรับรู้การสื่อสารทางเพศในครอบครัว ตัวแปรทั้ง 2 ตัว สามารถร่วมทำนายพฤติกรรมการดูแลสุขภาพทางเพศได้ ร้อยละ 33.80 อย่างมีระดับนัยสำคัญที่ p <.001 ดังนั้นในการเสริมสร้างทัศนคติทางเพศที่เหมาะสมให้แก่เด็กวัยประถมศึกษาตอนปลายบุคลากรทีมสุขภาพควรคำนึงถึงรูปแบบการเลี้ยงดูของครอบครัว และการสื่อสารทางเพศในครอบครัวร่วมด้วย

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research articles)

References

Bureau of Reproductive Health, Department of Health, Ministry of Public Health. (2016). Handbook for developing sexual communication skills. Between teenagers and families. Bangkok: Beyond Publishing Co., Ltd. (in Thai).

Bureau of Reproductive Health, Department of Health, Ministry of Public Health. (2017). Strategy for prevention and correction. National Teenage pregnancy problem 2017-2026 according to the Prevention and Correction Act Problems of teenage pregnancy 2016. 2nd printing. Bangkok: Theppenwanis. (in Thai).

Bureau of Reproductive Health, Department of Health. Ministry of Public Health. (2020). The reproductive health situation in Adolescents and youth, 2020. Retrieved from https://rh.anamai.moph.go.th/th/cms-of-1/downlo/?did=207028&id=80543&reload= (in Thai).

Chiangkong, A., Thongsri, P. & Dhamavasi, S. (2018). The causal model of factors affecting to sexual risk prevention behaviors of female teenagers in Bangkok: a mixed method approach. Journal of Public Health Nursing, 32(2), 1-21 (in Thai).

Chittayasothon, D. (2009). Diana baumrinddiana baumrind’s parenting styles. University of the Thai Chamber of Commerce Journal, 29(4), 173-187. (in Thai).

Hounsri, K., Saksorngmuang, P., Purinthrapibul, S. & Tansuwan, C. (2021). Effect of a positive sex education communication programme on parental efficacy of communication in family to adolescent offspring. Journal of Health Sciences Research, 15(1), 47-58. (in Thai).

Khiaolueang, D., Srijaiwong, S., Saengkhiew, P. & Tantalanukul, S. (2021). Sexual healthcare behaviors and factors affecting sexual healthcare behaviors among the 5th and the 6th grade children in the regional health 2 Office. Boromarajonani College of Nursing, Uttaradit Journal, 13(2), 1-15. (in Thai).

Ministry of Education. (2008). Basic education core curriculum 2008: Learning content group health education and physical education. Bangkok: Shipping and Parcel Organization Printing House.

Pensirinapa, N. (2021). Teenage pregnancy problems and comprehensive sexuality education. Academic Journal of Community Public Health, 7(3), 1-16. (in Thai).

Purattipak, W., Niamhom, W. & Soopunyo, W. (2017). Guidelines on providing sex education from parents to their teenage children in Phranakhon Si Ayutthaya province. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 10(2), 927-937. (in Thai).

Srijaiwong, S., Khiaolueang, D., Saengkhiew, P. & Tantalanukul, S. (2021). Factors influencing to sexual risk prevention behaviors of adolescents, regional health 2. Journal of Nursing Division, 48(2), 91-106. (in Thai).