การประเมินหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2560) และความพร้อมในการใช้หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตที่เน้นผลลัพธ์ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2565) วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครลำปาง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2560) และศึกษาความพร้อมในการใช้หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2565) กลุ่มตัวอย่าง ระยะที่ 1 ประเมินหลักสูตรโดยอาจารย์ผู้สอน 59 คน นักศึกษา 635 คน และพยาบาลพี่เลี้ยงในแหล่งฝึก 106 คน เครื่องมือ ได้แก่ แบบประเมินหลักสูตรเกี่ยวกับปัจจัยนำเข้า กระบวนการนำหลักสูตรไปใช้ และคุณภาพบัณฑิต ระยะที่ 2 ศึกษาความพร้อมในการใช้หลักสูตรของอาจารย์ผู้สอน จำนวน 51 คน โดยใช้แบบสอบถามความรู้ในหลักสูตร (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2565) และแบบประเมินความเข้าใจเกี่ยวกับหลักสูตร (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2565) เครื่องมือผ่านการตรวจสอบคุณภาพโดยความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 ท่าน ได้ค่า IOC อยู่ในช่วง .67 – 1.00 และความเที่ยงด้วยวิธีของ Cronbach alpha ได้ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟา .89 เก็บรวบรวมข้อมูลระยะที่ 1 ช่วงเดือนมีนาคม - สิงหาคม 2564 ระยะที่ 2 เดือนเมษายน 2565 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า: 1. ผลการประเมินหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2560) ด้านปัจจัยนำเข้า โดยรวมอยู่ในระดับดี (𝑥̅ = 4.28, SD= .62) ด้านกระบวนการใช้หลักสูตร โดยรวมอยู่ในระดับดี (𝑥̅ =4.39, SD = .45) ด้านผลลัพธ์จากการใช้หลักสูตร 1) ผลลัพธ์ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี 6 ด้าน โดยรวมอยู่ในระดับดี (𝑥̅ =4.36, SD= .58) โดยด้านคุณธรรมจริยธรรมอยู่ในระดับดีมาก (𝑥̅ =4.52, SD = .55) 2) ผลลัพธ์ตามอัตลักษณ์บัณฑิตที่คาดหวังของหลักสูตร (1) ด้านการพยาบาลด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ อยู่ในระดับดีมาก (𝑥̅ =4.58, SD = .39) (2) ด้านการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ อยู่ในระดับดีมาก (𝑥̅ =4.90, SD = .22) และ (3) ด้านการจัดการสุขภาวะชุมชน อยู่ในระดับดีมาก (𝑥̅ =4.87, SD= .22)
2. ความพร้อมในการใช้หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตที่เน้นผลลัพธ์ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2565) อาจารย์ประเมินตนเองก่อนและหลังประชุมเชิงปฏิบัติการพบว่า (1) ความรู้ของอาจารย์ มีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจาก 3.38 (SD= .75) เป็น 4.84 (SD= .37) จากคะแนนเต็ม 5 และทุกคนมีคะแนนเพิ่มขึ้น (2) ประเมินความเข้าใจเกี่ยวกับหลักสูตร มีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจากระดับดี เป็นระดับดีมาก (𝑥̅ =3.63, SD=1.52 และ 𝑥̅ = 4.70, SD= .71) ตามลำดับ (3) ประเมินความพร้อมในการนำหลักสูตรไปใช้ มีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจากระดับปานกลาง เป็นระดับดีมาก (𝑥̅ =3.36, SD = .93 และ 𝑥̅ = 4.69, SD = .77) ตามลำดับ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความหรือข้อคิดเห็นใดใดที่ปรากฏในวารสารวิจัยการพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพ เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน ซึ่งบรรณาธิการหรือสมาคมศิษย์เก่า ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย และบทความที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจัยการพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพ
References
Boontong, T. (2020). Nursing council regulations regarding the approval of the professional education curriculum in Nursing and Midwifery at the professional level B.E. 2563. Thailand Nursing and Midwifery Council. (in Thai).
Boromarajonani College of Nursing, Nakhon Lampang. (2021). Action plan for the fiscal year 2021. Boromarajonani College of Nursing, Nakhon Lampang. (in Thai).
Boromarajonani College of Nursing, Nakhon Lampang. (2021). Manual for the systems and mechanisms performance of Boromarajonani College of Nursing, Nakhon Lampang for Academic Year 2021. Boromarajonani College of Nursing, Nakhon Lampang. (in Thai).
Klommek, J., Lortajakul, Ch., Eiamla-or, P. & Wongsasung, J. (2021). The evaluation of bachelor nursing science curriculum (Revised in 2017), Mission Faculty of Nursing, Asia-Pacific International University. APHEIT Journal of Nursing and Health, 3(1), 16-31. (in Thai).
Ministry of Education. (2017). Announcement of the ministry of education on bachelor's degree qualifications standards. Nursing Science 2017. Bangkok: Ministry of Education. (in Thai).
Office of The Higher Education Commission. (2015). Manual for the internal quality assurance for higher education level B.E. 2558. Parbpim. (in Thai).
Patphol, M. (2018). Curriculum evaluation for learning and development (4th ed.). Charansanitwong Printing. (in Thai).
Patphol, M. (2019). Concepts and principles of curriculum development. Innovative Leaders Center of Curriculum and Learning. (in Thai).
Prewnim, A. (2018). The evaluation of bachelor nursing science curriculum, Bangkok thonburi university using Thai qualifications framework for higher education, by a CIPP model. Journal of Nursing and Health, Suansunandha Rajabhat University, 1(2), 90-110. (in Thai).
Senadisai, S. & Tantayoyai, V. (2020). Accreditation guide for professional education institutions of nursing and midwifery (Revised in 2020). Golden Point. (in Thai).
Sukadaecha, R. & Paikoh, k. (2021). Curriculum evaluation of bachelor degree of nursing science program (Revised Curriculum 2017), vongchavalitkul university. Journal of Vongchavalitkul University, 34(1), 47-59. (in Thai).
Srisa – ard, B. (2011). Basic research (9th ed.). Suweeriyasan. (in Thai).
Stufflebeam, D. L., Foley, W. J., Gephart, W. J., Guba, E. G., Hammond, R. L., Merriman, H. O. & Provus, M. M. (1971). Educational evaluation and decision making Itasca. IL: Peacock.
Stufflebeam, D.L. & Shinkfield, A.J. (2007). Evaluation theory, models, and application. San Francisco:Jossey-Bess.