การพัฒนารูปแบบการจัดการโรคเรื้อรังของผู้สูงอายุแบบมีส่วนร่วมของชุมชน เทศบาลตำบลนาอ้อ อำเภอเมือง จังหวัดเลย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การพัฒนารูปแบบการจัดการโรคเรื้อรังผู้สูงอายุโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ตำบลนาอ้อ อำเภอเมือง จังหวัดเลย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์และปัญหาเกี่ยวกับการจัดการโรคเรื้อรังของผู้สูงอายุในชุมชน เทศบาลตำบลนาอ้อ อำเภอเมือง จังหวัดเลย กลุ่มตัวอย่างคือกลุ่มผู้สูงอายุที่เข้าเรียนในโรงเรียนผู้สูงอายุและเจ้าหน้าที่ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับระบบการดูแลผู้สูงอายุในชุมชน โดยใช้รูปแบบการวิจัยแบบปฏิบัติการวิจัยแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research) ในการพัฒนารูปแบบการจัดการโรคเรื้อรังของผู้สูงอายุในชุมชน โดยกำหนดขั้นตอนการศึกษา ประกอบด้วย 4 ระยะ คือ 1) ระยะศึกษาสถานการณ์ ปัญหาและความต้องการ 2) ระยะการศึกษาปัจจัยเงื่อนไข 3) ระยะการดำเนินการวิจัย 4) ระยะการติดตามและประเมินผล เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสังเกต สอบถาม สัมภาษณ์เชิงลึก และสนทนากลุ่ม
ผลการวิจัยพบว่าแนวทางการพัฒนารูปแบบการจัดการโรคเรื้อรังเพื่อผู้สูงอายุโดยชุมชนมีความจำเป็นที่จะต้องจัดบริการทุกด้านควบคู่กันไป ประกอบด้วย 3 ลักษณะ ได้แก่ 1) การส่งเสริมความรู้เพื่อดูแลตนเองและครอบครัว 2) การจัดกิจกรรมเพื่อการดูแลผู้สูงอายุโรคเรื้อรังโดยชุมชน/หมู่บ้าน 3) การจัดกิจกรรมเพื่อการดูแลผู้สูงอายุโรคเรื้อรังโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และการจัดกิจกรรมเพื่อการดูแลผู้สูงอายุโรคเรื้อรังโดยหน่วยบริการสุขภาพของรัฐ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความหรือข้อคิดเห็นใดใดที่ปรากฏในวารสารวิจัยการพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพ เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน ซึ่งบรรณาธิการหรือสมาคมศิษย์เก่า ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย และบทความที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจัยการพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพ
References
Aoopmana, C. (2018). Development of a health care model for elderly of the elderly school in the area of municipality of Nongbua sub-district, Muang district, Udon Thani province, RTUNC 2018 The 3rd National Conference "Disruptive Innovation" (pp. 564-576). Ubon Ratchathani. (in Thai).
Caffey, R.A. (1991). Family caregiving to the elderly in Norteast Thailand: Changing.
Chantharaowat, S., Supho, S. & Bannan, N. (2014). Developing a model by community involvement for caring of patients with chronic diseases: a case study of kaedam contracting unit for primary care, Mahasarakham province. Journal of Health Science, 23(3), 394-402. (in Thai).
Community Organizations Development Institute (Public Organization). (2019). Community organisation council Act, B.E. 2019. Bangkok. (in Thai).
Kemmis, S. & MaTaggart, R. (1988). The action research planner (3rd ed.) Geelong, Australia: Deakin University.
National Health Security office (NHSO), Thailand. (2016). Long-term care public health for depressed elderly people (Long Term Care). Bangkok: National Health Security office (NHSO), Thailand. (in Thai).
National Statistical Office. (2014). The 2014 survey of the older in Thailand. Bangkok: National Statistical Office. (in Thai).
Nakkul, N. (2018). The development of a care model for home-bound and bed-bound chronically ill patients. Nursing Journal of The Ministry of Public Health, 28(3), 36–50. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tnaph/article/view/164203. (in Thai).
Na-o Subdistric Administrative Organization. Population database report. (2022). Retrieved from http://tessabanna-o.go.th/ (in Thai).
Nuntaboot, K. et al. (2019). Thailand community network assessment program: TCNAP. Thai Health Promotion Foundation. Bangkok. (in Thai).
Sadtrakulwatana, V. (2018). The development of a chronic diseases clinic model (diabetes, hypertension) in primary health care units, Mueang district, Sing Buri province. Journal of Preventive Medicine Association of Thailand, 8(1), 24-36. (in Thai).
Seangpraw, K., Auttama, N., Tonchoy, P. & Pudpong, S. (2018). Model development of community participation in holistic health promotion for the elderly in a rural area, Phayao province. Thai Journal of Public Health, 48(2), 113-126. (in Thai).