ปัจจัยด้านพฤติกรรมการเรียนและสภาพแวดล้อมภายในวิทยาลัยที่มีต่อการรับรู้ผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาของนักศึกษาวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การพัฒนาผู้เรียนให้มีผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติเป็นสิ่งสำคัญของสถาบันการศึกษา การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยด้านพฤติกรรมการเรียนและสภาพแวดล้อมภายในวิทยาลัยที่มีต่อการรับรู้ผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาของนักศึกษาวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 2 จำนวน 153 คน สุ่มตัวอย่างแบบอย่างง่าย เครื่องมือวิจัยประกอบด้วยแบบสอบถามข้อมูลทั่วไป พฤติกรรมการเรียน สภาพแวดล้อมของวิทยาลัยพยาบาล และการรับรู้ผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา มีค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาคเท่ากับ .90, .97 และ .99 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple regression analysis)
ผลการวิจัยพบว่าปัจจัยที่มีผลต่อการรับรู้ผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาของนักศึกษาวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี มีจำนวน 3 ตัวแปร เรียงลำดับอิทธิพลจากมากไปน้อย ได้แก่ สภาพแวดล้อมด้านเพื่อน สภาพแวดล้อมด้านอาจารย์ พฤติกรรมในห้องเรียน (Beta = .163) พฤติกรรมนอกห้องเรียน และสภาพแวดล้อมด้านหลักสูตร ตามลำดับ โดยสามารถร่วมกันทำนายการรับรู้ผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา ได้ร้อยละ 53.60
ผลการวิจัยนี้สามารถใช้เป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมการมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีของนักศึกษา ส่งเสริมการเรียนรู้ทั้งในและนอกห้องเรียน และสนับสนุนการพัฒนาสมรรถนะการสอนของอาจารย์ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความหรือข้อคิดเห็นใดใดที่ปรากฏในวารสารวิจัยการพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพ เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน ซึ่งบรรณาธิการหรือสมาคมศิษย์เก่า ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย และบทความที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจัยการพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพ
References
Astin, A. W. (1993). The college environment. New York: American council on education.
Art-in, S. (2020). Science and art, learning in the 21st century (3rd ed.). Khon Kaen: KKU printing house. (in Thai).
Best, J. W. & Kahn, J. (2006). Research in education (10thed.) Boston: Pearson education allyn & bacon.
Boonmavong, D. Tanonkaew, P. & Puriawakamjon, J. (2022). Online learning behavior and Learning outcomes of students of Thonsgsuk College. Journal of Interdisciplinary Development (Humanities and Social Sciences), 1(1), 251-257.
Boromarajonani college of nursing, Changwat Nonthaburi, (2019). Self assessment report academic year 2019 (Improved Curriculum, A.D 2018). (in Thai).
Boromarajonani college of nursing, Changwat Nonthaburi, (2018). Bachelor of nursing science program (improved curriculum, A.D 2018). (in Thai).
Erbsuksiri, A. (2014). Psychology for teacher (2nd ed.). Bangkok: chulalongkorn university printing house.
Khammanee, T. (2017). The science of teaching: knowledge for organising effective learning process. 21st ed. Bangkok: Chulalongkorn university printing house. (in Thai).
Muksiritipanun, B. (2017). Factors predicting nursing student’s competencies based on Thai qualification framework for higher education of nursing students in palliative care course, Kuakarun faculty of nursing, Navamindhadhiraj university. Journal of the royal Thai army nurses, 18(2), 149-158. (in Thai).
Nursing instructors of praboromarajchanok institute. (2018). The instrument for evaluating learning outcomes according to Thailand qualification framework, bachelor degree. Nonthaburi: Yutharint printing co., ltd. (in Thai).
Pommapun B. (2008). Techniques for data interpreting for using correlation and regression in research. STOU Education Journal, 11(1), 32-45. (in Thai).
Pipatmongkonporn, I. (2019). Classroom management strategies. Journal of education. Silpakorn university, 17(1), 71-82.
Phetphum, C. (2019). Health behavior: concept, theory and application (3rd ed.). Phitsanulok: Naresuan university. (in Thai).
Skulpunyawat, S. & Maluleem, A. (2014). The development of education environment model to produce graduates having desirable features according to the national higher education qualifications framework for nursing graduates (TQF) 2009. EAU Heritage Journal Science and Technology, 4(1), 186-92. (in Thai).
Thangthum, W. & Thiengtrongdee, A. (2019). Effects of team-based learningon knowledge and teamwork perception of nursing students. Multidisciplinary Journal for Health, 1(1), 1-9. (in Thai).
Thongsong, L. & Pongsananurak, T. (2013). Relationships between factors and academic achievement in pediatric nursing subject among nursing students, Kuakarun college of nursing. Kuakarun Journal of Nursing, 20(1), 55-71. (in Thai).
Tungdamnernsawad, S. (2015). The relationship between learning behavior and learning outcome follow thai qualifications framework for higher education of student in situational english semester 2, academic year 2013. Suan dusit graduate school academic Journal, 11(2), 223-230. (in Thai).