รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการบริหารจัดการสุขภาวะชุมชนของนักศึกษาพยาบาล สังกัดสถาบันพระบรมราชชนก

Main Article Content

พีระนันทิ์ จีระยิ่งมงคล
พิมพ์ลดา อนันต์สิริเกษม
พลอยประกาย ฉลาดล้น
รัชนี ครองระวะ
นงนุช เสือพูมี
อนัญญา คูอาริยะกุล

บทคัดย่อ

          วิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการบริหารจัดการสุขภาวะชุมชนของนักศึกษาพยาบาล สังกัดสถาบันพระบรมราชชนก การวิจัยแบ่งเป็น 3 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาสมรรถนะการบริหารจัดการสุขภาวะชุมชนของนักศึกษาพยาบาล สังกัดสถาบันพระบรมราชชนก 2) พัฒนารูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการบริหารจัดการสุขภาวะชุมชนของนักศึกษาพยาบาล 3) ศึกษาผลของการใช้รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการบริหารจัดการสุขภาวะชุมชน กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา ได้แก่ นักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิตชั้นปีที่ 4 ซึ่งถูกเลือกแบบเจาะจงจำนวน 72 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามสมรรถนะการบริหารจัดการสุขภาวะชุมชนของนักศึกษาพยาบาล แบบสัมภาษณ์เชิงลึกในประเด็นแนวทางการพัฒนาสมรรถนะการบริหารจัดการสุขภาวะชุมชน แบบประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้รายวิชาปฏิบัติการพยาบาลอนามัยชุมชน 2 ค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหา .85 และค่าสัมประสิทธิ์ครอนบาคอัลฟา .97 วิเคราะห์ข้อมูล โดยการวิเคราะห์เนื้อหา การแจกแจงความถี่ และการทดสอบที ผลการวิจัย พบว่า 1) สมรรถนะที่ควรนำมาพัฒนานักศึกษา ได้แก่ การประเมินชุมชนด้านจุดแข็งจุดอ่อนของชุมชน การบริหารเครือข่าย การประยุกต์ใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ การกระตุ้นและสร้างแรงจูงใจ ทักษะการประเมินผลการดำเนินงาน 2) รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการบริหารจัดการสุขภาวะชุมชนของนักศึกษาพยาบาล ได้แก่  AOIIMEEFKM 3) ผลการประเมินสมรรถนะการบริหารจัดการสุขภาวะชุมชนของนักศึกษาพยาบาลหลังใช้รูปแบบสูงกว่าก่อนใช้รูปแบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05)   


 

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research articles)

References

Duangthisan, A. & Ketwong, A. (2017). Administration to strengthens to help community on the sufficiency economy philosophy: learning intitute for everyone Chaiyaphom Province. Journal of MCU Social Science Review, 6(2), 347–358. (in Thai).

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Krungkraipetch, N., Ritngam, A. & Viriya, C. (2016). The driven model of healthy community in Thamanow. The Journal of Faculty of Nursing Burapha University, 24 (3), 34-46. (in Thai).

Lincoln, YS. & Guba, EG. (1985). Qualitative research guidelines project. Retrieved (2022, May 11) from http://www.qualres.org/HomeTria-3692.html

National Health Commission Office. (2020). Annual report, 2020. Retrieved (2022, May 11) from https://eng.nhso.go.th/assets/portals/1/files/annual_report/Final_Annual%20report%202020%20AW.pdf

Patcheep, K., Wongsawang, N., Jongphae, S., & Boonsiri, C. (2020). Competences of community health care management among nursing students of Boromarajonani College of Nursing, Ratchaburi. Journal of The Royal Thai Army Nurses, 22(1), 450-457. (in Thai).

Thanachaikhan, N. (2012). Preliminary statistics for research. Bangkok: Wittayapat. (in Thai).

Thongtanunam, Y. & Charoensuk, S. (2021). Community health management competencies of nursing graduates: concept for a development. Journal of Research and Curriculum Development, 11(2), 24-34. (in Thai).

Wasi, P. (2006). Community health system development: community wellness is the foundation of all wellbeing. Bangkok: National Health Security Office. (in Thai).

Wauters, Y. Chunhabordee, A. & Samtid, S. (2021). Competencies in community health management among nursing students in Boromarajonani College of Nursing, Trang. Journal of Humanities and Social Sciences Mahasarakham University, 40(1), 47-61. (in Thai).