การพัฒนาสื่อวีดิทัศน์เพื่อเสริมสร้างทักษะการทำคลอด รายวิชาการพยาบาลมารดา ทารก และการผดุงครรภ์ 1 ของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

Main Article Content

พัชชา สุดแดน
สิตานันท์ ศรีใจวงศ์
สุกัญญา ม่วงเลี้ยง
ณัฏฐมณทน์ โกศัย
จิราพร วิศิษฏ์โกศล

บทคัดย่อ

          การวิจัยและพัฒนามีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการณ์ความต้องการสื่อการเรียนการสอนของนักศึกษาที่กำลังศึกษาในหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 3 รายวิชาการพยาบาลมารดา ทารก และการผดุงครรภ์ 1 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ 2) เพื่อสร้างสื่อวีดิทัศน์เพื่อเสริมสร้างทักษะการทำคลอด และ 3) เพื่อเปรียบเทียบความรู้เรื่องการทำคลอดของนักศึกษาก่อนและหลังเรียนด้วยสื่อวีดิทัศน์เพื่อเสริมสร้างทักษะการทำคลอด ระยะดำเนินการมี 3 ขั้นตอน ดังนี้ 1) ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงสำรวจ (Survey research) เพื่อศึกษาสภาพการณ์ความต้องการสื่อการเรียนการสอนของนักศึกษาที่กำลังศึกษาในหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 3 เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา 2) พัฒนาและตรวจสอบคุณภาพของสื่อวีดิทัศน์โดยนำผลการวิจัยในขั้นตอนที่ 1 และการทบทวนวรรณกรรมยกร่างเป็นสื่อวีดิทัศน์เพื่อเสริมสร้างทักษะการทำคลอด  3) ศึกษาประสิทธิผลของสื่อวีดิทัศน์เพื่อเสริมสร้างทักษะการทำคลอดรายวิชาการพยาบาลมารดา ทารก และการผดุงครรภ์ 1 ของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบกึ่งทดลองชนิดหนึ่งกลุ่มวัดก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้คือ นักศึกษาที่กำลังศึกษาในหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 3 จำนวน  67 คน  วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติ Paired t-test ผลการวิจัยพบว่า


          1. สภาพปัญหาและความต้องการในการใช้สื่อการเรียนด้วยตนเองเกี่ยวกับการขอใช้ห้องฝึกปฏิบัติการมีระยะเวลาจำกัด ร้อยละ 34.62 หุ่นทำคลอดในห้องฝึกปฏิบัติการไม่เพียงพอ ร้อยละ 26.15 สื่อการสอนเรื่องการทำคลอดไม่ทันสมัย วัสดุอุปกรณ์ในวิดีทัศน์ไม่เหมือนในปัจจุบัน ขาดรายละเอียดสำหรับขั้นตอนการปฏิบัติบางอย่าง ร้อยละ 17.69 มีความต้องการประเภทของสื่อการเรียนรู้นอกเวลาของรายวิชา พบว่า นักศึกษาต้องการสื่อวีดิทัศน์มากที่สุด ร้อยละ 79.23 รองลงมาคือ สื่อจาก youtube ร้อยละ 56.15 และบทเรียนออนไลน์ (E-learning) ร้อยละ 40 และพบว่านักศึกษามีความต้องการสื่อการเรียนรู้เรื่องการทำคลอดมากที่สุด ร้อยละ 35.38 รองลงมาคือ สื่อการเรียนรู้เรื่องการตรวจครรภ์ ร้อยละ 17.69 และสื่อการเรียนรู้เรื่องการตรวจรก ร้อยละ 6.15


          2. สื่อวีดิทัศน์เพื่อเสริมสร้างทักษะการทำคลอดมีความยาวทั้งสิ้น 30 นาที โดยวีดิทัศน์นี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับทักษะการทำคลอด 8 ขั้นตอน 1) การเตรียมอุปกรณ์การทำคลอด 2) การเตรียมผู้คลอด 3) การเตรียมผู้ทำคลอด 4) การ scrub อวัยวะสืบพันธุ์ 5) การเตรียมผู้ทำคลอดก่อนทำคลอด 6) การประเมินความก้าวหน้าของผู้คลอด การเชียร์เบ่ง การทำคลอดศีรษะทารก 7) การตรวจดูสายสะดือพันคอ การทำคลอดไหล่ การทำคลอดลำตัว การผูกและการตัดสายสะดือทารก 8) การประเมินสภาพทารกแรกเกิด


          3. ภายหลังการเรียนด้วยสื่อวีดิทัศน์ ฯ นักศึกษามีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้เรื่องการทำคลอดสูงกว่าก่อนเรียนด้วยสื่อวีดิทัศน์ฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 กลุ่มตัวอย่างทุกคนสอบผ่านเกณฑ์คะแนนทักษะปฏิบัติการทำคลอด โดยมีค่าเฉลี่ยคะแนนการสอบทักษะการปฏิบัติการทำคลอดเท่ากับ 109.77 (SD = 8.97) จากคะแนนเต็ม 148 คะแนน และมีความพึงพอใจต่อสื่อวีดิทัศน์ฯ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (Mean = 4.79, SD = .11

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research articles)

References

Bloom, B. S. (1979). Taxanomy of educational objectives, the classification of educational goal-Handbook I: Cognitive domain. New York: Longman.

Carvalho, E. C., Stina, A. P. N, Marmol, M. T., Garbin, L. M., Braga, F. T. M. M., Moreli L. & Zamarioli, C. M. (2014). Effects of an educational video on the oral hygiene of patients with hematologic disorders. Revista Eletrônica de Enfermagem, 16(2), 304-311. doi: 10.5216/ree.v16i2.23300

Chunggis, J. (2016). The development of instructional video on physical examination in health assessment course based on flipped classroom concept. (master’s thesis), Rajamangala University of Technology Thanyaburi. (in Thai).

Cohen, J. (1988). Statistical power analysis for the behavioral sciences. (2nd). NJ: Lawrence Erlbaum Associates, Publishers.

Cunningham, F. G., Leveno, K. J., Bloom, S. L., Dashe, J. S., Hoffman, B. L., Casey, B. M., & Spong, C. Y. (2018). Williams Obstetrics. (25 th ed). New York: McGraw-Hill.

Faul, F., Erdfelder, E., Lang, A. G., & Buchner, A. (2007). G*Power 3: A flexible statistical power analysis program for the social, behavioral, and biomedical sciences. Behavior Research Methods, 39(2), 175-191.

Homsombut, Y., Khakhuen, S., White, J., Jittasusuttho, J., Kerdchuen, K., & Aunprom-me, S. (2020). Efficiency of an instructional video on eye care used in the course of persons with health problem practicum II in Boromarajonani College of Nursing, Nakhon Ratchasima. The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health, 7(2),

-64. (in Thai)

Chitraporn, C., & Noppadon, P. (2019). The development of instructional video on physical examination in health assessment course based on flipped classroom concept. EAU Heritage Journal Science and Technology, 11(1), 249-258. (in Thai).

Jungpanich, A. & Srisailaun, O. (2015). Effects of using daily care plan video teaching on clinicalself-confidence and satisfaction of nursing students, Kuakarun Faculty of Nursing, Navamindradhiraj University. Kuakarun Journal of Nursing, 22(1), 17–34. (in Thai).

Knowles, M. (1984). The Adult Learner: A Neglected Species. (3rd ed.). Houston: Gulf.

Lertsakornsiri M. (2015). The stress, stress management of nursing students during practice in the labor room. Kuakarun Journal of Nursing, 22(1), 7-16. (in Thai).

Mamom, J. (2012). Outcomes of computer-mediated review lesson on pressure-sore dressing as observed in second-year nursing students’ knowledge, practical skills and opinions. Journal of Thailand Nursing and Midwifery Council, 27(3), 63-76. (in Thai).

Nakanakupt, M. & Iamchareon, T. (2017). Development of video media on childbirth for third-year nursing students, Rangsit University. Retrieved (2022, Jule 12) from https://rsucon.rsu.ac.th/files/proceedings/nation2017/G5-14.pdf. (in Thai).

Pinar, G., Akalin, A. & Abay, H. (2016). The effect of video based simulation training on neonatal examination competency among Turkish nursing students. European Scientific Journal, 12(15), 394-340. doi: 10.19044/esj.2016.v12n15p394.

Potisart, J. (2012). Teacher’s role according to the current education system. Journal of Rangsit University: Teaching & Learning, 6(2), 97-108. (in Thai).

Suksaen, N. (2018). Strategic development for first time assisted childbirth in air force student nurses. Royal Thai Air Force Medical Gazette, 64(3), 89-95. (in Thai).

Suwanarod, P. (2020). Maternal and newborn nursing and midwifery practicum I course evaluation [field experience specification]. Uttaradit: Boromarajonani College of Nursing,Uttaradit, Faculty of Nursing, Praboromarajchanok Institute. (in Thai).

Thaweesook, P., Suvithayasiri, K. & Wangchom, S. (2019). The development of video lesson on leopole’s maneuvers for nursing students at Boromrajonani College of Nursing, Bangkok. Journal of Boromarajonani College of Nursing Bangkok, 35(1), 264-76. (in Thai).

Wang, E. (2017). Requests for cesarean deliveries: The politics of labor pain and pain relief in Shanghai, China. Social Science & Medicine, 173, 1-8. doi: 10.1016/j.socscimed.2016.11.032.

Yingrengreung, S. (2019). The development of video lesson on nasopharyngeal and oral suction in children for nursing students at Boromarajonani College of Nursing, Bangkok. Journal of Health and Nursing Research, 35(2), 210-223. (in Thai).