ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความเครียดของนักศึกษาพยาบาล ระหว่างฝึกปฏิบัติงานหอผู้ป่วยวิกฤต

Main Article Content

อรุณรัตน์ พรมมา
เสาวลักษณ์ เนตรชัง
ไพทูรย์ มาผิว
นัยนา แก้วคง
วีระยุทธ อินพะเนา

บทคัดย่อ

          วิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิผลต่อความเครียดของนักศึกษาพยาบาลระหว่างฝึกปฏิบัติงานหอผู้ป่วยวิกฤต ได้แก่ ปัจจัยผลการเรียนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตร ปัจจัยความรู้ด้านการพยาบาลผู้ป่วยวิกฤต ปัจจัยสถานที่ฝึกปฏิบัติงานและสภาพผู้ป่วย ปัจจัยอาจารย์นิเทศ/พยาบาลพี่เลี้ยง ปัจจัยเพื่อนร่วมฝึกปฏิบัติงาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ 3 ของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ ประจำปีการศึกษา 2562 จำนวนทั้งสิ้น 89 คน ใช้วิธีการการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความเครียดของนักศึกษาพยาบาล มีค่าดัชนีความสอดคล้อง เท่ากับ .92 มีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับด้านการพยาบาลผู้ป่วยวิกฤต เท่ากับ .97 ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามปัจจัยภายนอกที่มีอิทธิพลต่อความเครียดของนักศึกษาพยาบาล เท่ากับ  .93 และทดสอบความเที่ยงของแบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับด้านการพยาบาลผู้ป่วยวิกฤต เท่ากับ .85 ความเที่ยงของแบบสอบถามปัจจัยภายนอกที่มีอิทธิพลต่อความเครียดของนักศึกษาพยาบาล เท่ากับ .89 ส่วนแบบประเมินความเครียดสวนปรุงซึ่งเป็นแบบวัดมาตรฐานมีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ .95 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติความถดถอยพหุคูณแบบขั้นต้น (Stepwise Multiple Regression Analysis) ผลการศึกษา พบว่า


1) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 92.13) อายุ 21 ปี (ร้อยละ 47.19) มีผลการเรียนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตรส่วนใหญ่ อยู่ระหว่าง 2.51 – 3.00 (ร้อยละ 55.43) และมีความรู้เกี่ยวกับด้านการพยาบาลผู้ป่วยวิกฤตระดับปานกลางมากที่สุด (ร้อยละ 65.17)


2) ระดับความเครียดของนักศึกษาพยาบาล ระหว่างฝึกปฏิบัติงานหอผู้ป่วยวิกฤตอยู่ในระดับมากขึ้นไป (ร้อยละ 62.92)


3) ปัจจัยที่มีอิทธิผลต่อความเครียดของนักศึกษาพยาบาล ระหว่างฝึกปฏิบัติงานหอผู้ป่วยวิกฤตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ ปัจจัยอาจารย์นิเทศ/พยาบาลพี่เลี้ยง (Beta = .288, t = 2.809, p-value = .006)


          ผลการวิจัยนี้สามารถนำไปใช้พัฒนาแนวทางในการส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างอาจารย์และนักศึกษาร่วมกับพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนในการลดความเครียดขณะขึ้นฝึกปฏิบัติงานเพื่อให้นักศึกษาพยาบาลมีความสุขกับการฝึกปฏิบัติงานและปฏิบัติกิจกรรมการพยาบาลได้อย่างมีประสิทธิภาพ


 

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research articles)

References

Bloom, B.S., Hastings, T. J., Madaus, G. F. (1971). Hand book on formative and summative evaluation of student learning. New York: McGraw – Hill Book Company Inc.

Bundasak, T., Chaowiang, K., & Jungasem, N.. (2015). Predictive factors of stress among nursing students: a case study of Boromarajonani College of Nursing, Praputhabat. Diversity in Health and Well-Being. (in Thai).

Bundasak et al. (2017). Affecting factors on nursing students anxiety while practicing in intensive care unit The Journal of Prapokklao Hospital Clinical Medical Education Center, 34(1), 6 - 16. (in Thai).

Chuaichum, C. et al. (2020). Factor influencing stress of nursing students during clinical practice in adult nursing practicum 1. Journal of MCU Nakhondhat, 30(3), 54 – 63. (in Thai).

Daengthern, L. (2015). Factor influencing stress among nursing students of faculty of nursing during clinical practice. (Master’s thesis) Phitsanulok: Naresuan University). (in Thai).

Fukfon, K. (2018). Stress and factors related to stress of nursing students regarding the first clinical nursing practice. Nursing Public Health and Education Journal, 19(1), 161 -168. (in Thai).

Khater, W.A. et al. (2014). Sources of stress and coping behaviours in clinical practice among Baccalaureate nursing students. International Journal of Humanities and Social Sciences, 4(6), 194 – 202.

Mahatnirunkul, S., Phumphaisarn, W. & Thapunya, P. (2002). Suanprung Stress Test-20 (SPST-20). Retrieved (2020, May 1) from http://www.dmh.go.th./test/stress. (in Thai).

Mapiw, P. (2018). Thai qualification framework for higher education, TQF 6 in adult nursing practicum II. Boromarajonani college of nursing Uttaradit. (in Thai).

Mangkhang, W. 2017 (2017). Bachelor of nursing science program. Boromarajonani college of nursing Uttaradit. (in Thai).

PTSD: National Center for PTSD. (2020). Managing Healthcare Workers’ Stress Associated with the COVID-19 Virus Outbreak. Retrieved (2020, December 7) from
https://www.ptsd.va.gov/covid/COVID_healthcare_workers.asp

Saetan, C. & & Kampun, S. (2014). Stress and coping strategies of nursing students in clinical practice preparation of maternal and child health nursing and midwifery 1. Journal of Boromarajonani College of Nursing, Bangkok, 7(5), 293 – 308. (in Thai).

Selye, H. (1976). The stress of life. (Rev.ed). New York: McGraw Hill Book Co.

Sonpaveerawong, J. et al. (2016). Stress, stress management and the need to supports nursing students. Journal of Nursing and Education, 9(3), 36 – 50. (in Thai).

Srinuan, P.(2019). The effects of stress management program on stress of the nursing students. Journal of Health Research and Innovation, 2(1), 186 -195. (in Thai).