ปัญหาและอุปสรรคของการใช้แบบประเมินสภาพแรกรับผู้ป่วยบาดเจ็บหลายระบบ ในหอผู้ป่วยศัลยกรรมอุบัติเหตุและระบบประสาท
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นวิจัยเชิงคุณภาพที่ใช้วิธีการสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคของการใช้แบบประเมินแรกรับในการประเมินสภาพผู้ป่วยบาดเจ็บหลายระบบ
ที่ใช้ในปัจจุบันของหอผู้ป่วยศัลยกรรมอุบัติเหตุและระบบประสาท กลุ่มผู้ให้ข้อมูล (Informants) เป็นพยาบาลวิชาชีพ จำนวน 15 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แนวคำถามในการสนทนากลุ่ม 2) แบบบันทึกขณะสนทนากลุ่ม 3) เครื่องบันทึกเสียง ใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการจำแนกชนิดข้อมูล (Typological Analysis) ของ มายส์และฮิวเบอร์แมน (Miles & Huberman, 1994) โดยให้กลุ่มผู้ให้ข้อมูลให้ความหมายกับข้อความสำคัญหรือประโยคที่มีความสำคัญและนำมาจัดระบบข้อมูล
ผลการวิจัย ประเด็นจากการสนทนากลุ่มผู้ให้ข้อมูล มีดังนี้ 1) รับรู้ความหมายของผู้ป่วยบาดเจ็บหลายระบบ มาจากประสบการณ์การทำงานที่พบผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วย ซึ่งเป็นผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บที่เกิดขึ้นในร่างกายตั้งแต่สองระบบขึ้นไป หรืออาจเกิดขึ้นหลายระบบพร้อม ๆ กัน 2) สาเหตุส่วนใหญ่ มาจากอุบัติเหตุจราจร ช่วงเวลาที่พบผู้ป่วยมากที่สุด คือ วันหยุดสุดสัปดาห์ หรือในช่วงเทศกาลต่างๆ
3) ลักษณะการประเมิน ปัญหา อุปสรรคที่พบขณะประเมินในปัจจุบัน พบประเด็นดังนี้ การประเมินผู้ป่วยบาดเจ็บหลายระบบด้วยกรอบแนวคิดของกอร์ดอน มีขอบเขตกว้างและมีความยุ่งยากเนื่องจากมีข้อคำถามมาก ไม่มีความเฉพาะเจาะจงในการประเมินผู้ป่วยบาดเจ็บ ทำให้ใช้ระยะเวลาในการประเมิน ในด้านมิติการมีคุณค่าและความเชื่อ (Value-Belief Pattern) ในกรณีผู้ป่วยหมดสติ หรือมีอาการสับสน เพ้อ (Delirium) หรือไม่มีญาติจะไม่สามารถประเมินผู้ป่วยได้ การประเมินขึ้นอยู่กับสมรรถนะของพยาบาลวิชาชีพ พยาบาลที่มีประสบการณ์การดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บในกลุ่มเริ่มต้น (Novice) หรือในกลุ่มผู้เรียนรู้ (Advance Beginner) จะประเมินรายละเอียดสำคัญได้ไม่ครบเมื่อเปรียบเทียบกับผู้ประเมินที่มีประสบการณ์มากกว่า และ 4) ลักษณะของแบบประเมินสภาพแรกรับผู้ป่วยบาดเจ็บที่ต้องการพัฒนา ควรมีการบันทึกการตรวจร่างกายตามแนวทางการประเมินสภาพผู้ป่วยบาดเจ็บแยกการตรวจตามระบบ มีรูปภาพประกอบระบุตำแหน่งของบาดแผล หรือใช้การ check list จะทำให้เข้าใจง่ายสะดวกในการสื่อสารถ่ายทอดข้อมูลในทีมสหสาขาวิชาชีพ มีการประเมินระดับความรุนแรงของการบาดเจ็บ และมีข้อมูลในด้านพฤติกรรมการแสดงออกเมื่อแรกรับของผู้ป่วยเพื่อนำมาสู่การกำหนดข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลและสามารถให้การพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บเฉพาะรายได้อย่างถูกต้องและครอบคลุม
Article Details
บทความหรือข้อคิดเห็นใดใดที่ปรากฏในวารสารวิจัยการพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพ เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน ซึ่งบรรณาธิการหรือสมาคมศิษย์เก่า ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย และบทความที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจัยการพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพ
References
2) Arttanuchit, S. (2009). Development and evaluation of nursing practice guideline for initial assessment of multiple injury patients at trauma units in Pattani hospital. (Master’s thesis). Prince of Songkla University. (in Thai).
3) Biffl, W. L., Harrington, D. T., & Cioffi, W. G. (2003). Implementation of a tertiary trauma survey decreases missed injuries. The Journal of Trauma, Injury, Infection, and Critical Care, 54 (1), 38-44.
4) Butcher, N. E., Balogh, Z. J. (2014). Updateon the definition of polytrauma. European Journal of Trauma and Emergency Surgery, 40(2), 107–11.
5) Ibrahim, F. (2003). Nursing practice according to nursing theory. Bangkok: Samcharoen Commercial. (in Thai)
6) Keijzers, G. B., Giannakopolous, G. F., Mar, C., Bakker, F. C., Geeraedts, Jr, L. M (2012). The effect of tertiary on missed injuries in trauma: A systematic review. Scandinavian Journal of Trauma Resuscitation and Emergency Medication, 20, 1-9.
7) Keijzers, G. B., Mar, C. D., Geeraedts, Jr, L. M., Byrnes, J. & Beller., E. M. (2015). What is the effect of a formalized trauma tertiary survey procedure on missed injury rates in multi-trauma patients? Study protocol for a randomized controlled trail. The World Journal of Surgery, 16, 1-8.
8) Miles, M. B., & Huberman, A. M. (1994). Qualitative data analysis. 2nd ed. Thousand Oaks: SAGE Publications.
9) Office of Policy and Strategy Ministry of Public Health. (2012). Top 10 death statistics: 2010-2011. Bangkok; Veterans Organization. (in Thai).
10) Petersen, V. (2005). The tertiary trauma survey What, Why, When, How & Who: Detecting Missed Injuries in the Multiply-Injured Patient. Retrieved (2019, May 17) from http://www.trauma.org/archive/nurse/tertiarysurvey.htm
11) Phuengbunhan, K., Pamosinlapathum, T. & Mechan, L. (2014). Developing a Model of Caring for the Critical Multiple Trauma Patients in Uttaradit Hospital. Boromarajonani College of Nursing, Uttaradit Journal, 6(1), 24-37. (in Thai).
12) Saehia,V. & Zongwattana, P. (2013). The development of clinical practice guideline for initial assessment of for patients with multiple injuries admitted to hospitals. Songkhla: Faculty of Nursing Prince of Songkla University. (in Thai).
13) Sennunt, K., Thosingha, O., & Sindhu, S. (2008). Emergency resuscitation in trauma patients: A literary analysis. Thai Journal of Nursing Council, 23 (3), 26-39. (in Thai).
14) Thepmusik, P., Chamnanphol, S., Kraythong, N., Phonwisut, S., Nilas, J. & Meenongwah, J. (2017). Knowledge regarding to delirium, monitoring, and management in critical illpatients among nurses at Sunpasitthiprasong Hospital. Journal of Health Science. Boromarajonani College of Nursing Sunpasitthiprasong, 1(2), 70-85. (in Thai).
15) Trauma and neurological surgery unit. (2017). Summary of annual information about the trauma and neurological surgery unit. Phrae Hospital. (in Thai).
16) Vioque, S. M., Cladera, P. R., Aufroy, A. L., Diaz, C. G., & Bayo, H. L. (2013). Tertiary survey in the management of patients with multiple injury. Emergencias, 25, 105-110.