ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ในอาการเจ็บคอ บาดแผลสะอาด และท้องเสีย
Main Article Content
บทคัดย่อ
วิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้เกี่ยวกับการใช้ยาปฏิชีวนะและปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ในอาการเจ็บคอ บาดแผลสะอาด และท้องเสีย กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ จำนวน 98 คน คำนวณขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้โปรแกรม G*power ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม มีค่าดัชนีความสอดคล้องของเครื่องมือ (index of consistency: ioc) เท่ากับ .94 มีความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม โดยใช้สัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค (Cronbach’s alpha coeficient) เท่ากับ .80 วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์หาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะใช้สถิติความถดถอยเชิงพหุคูณ (multiple regression analysis) ผลการศึกษา พบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างส่วนมากเป็นเพศหญิง (ร้อยละ 90.82) อายุระหว่าง 21 – 31 ปี (ร้อยละ 53.06) เป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มากที่สุด (ร้อยละ 30.61) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ไม่มีโรคประจำตัว (ร้อยละ 94.90) และส่วนใหญ่มีประวัติว่าภายใน 1 ปีที่ผ่านมาได้รับประทานยาปฏิชีวนะ (ร้อยละ 66.33) การจัดหายาปฏิชีวนะนั้นพบว่าซื้อจากร้านขายของชำหรือร้านขายยาโดยไม่มีใบสั่งยามากที่สุด (ร้อยละ 77.55) 2) กลุ่มตัวอย่างมีความรู้เกี่ยวกับการใช้ยาปฏิชีวนะอยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 46.94) มีพฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะในระดับดีมาก ( X = 3.39, SD = .87) 3) ความรู้เกี่ยวกับการใช้ยาปฏิชีวนะและชั้นปีที่กำลังศึกษามีผลต่อพฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ร้อยละ 16 (R2 = .156) ซึ่งปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะ มากที่สุด คือ ความรู้เกี่ยวกับการใช้ยาปฏิชีวนะ (Beta = .047, t = 2.527, p-value = .013) รองลงมา คือ ชั้นปีที่กำลังศึกษา (Beta = .117, t = 2.335, p-value = .022)
ผลการวิจัยนี้จะนำไปใช้ในการส่งเสริมพฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะให้ถูกต้อง โดยจะพัฒนาวิธีการจัดการเรียนการสอน หรือโปรแกรมการเรียนรู้หรือหลักสูตรอบรมเกี่ยวกับการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุสมผลในกลุ่มนักศึกษาพยาบาลต่อไป
Article Details
บทความหรือข้อคิดเห็นใดใดที่ปรากฏในวารสารวิจัยการพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพ เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน ซึ่งบรรณาธิการหรือสมาคมศิษย์เก่า ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย และบทความที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจัยการพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพ
References
2) Angkanavisan, K. et al. (2012). Knowledge and awareness on rational use of antibiotics among first year students of Mahidol University in the Academic Year 2011. Journal of Health Systems Research, 6(3), 374 – 381. (in Thai)
3) Aunruean, W. & Saensom, D. (2015). Behavior of KKU students on antibiotics use in sore throat, clean wound and acute diarrhea. Khonkaen: KKU Institutional Research Journal, 3(3), 221 – 232. (in Thai)
4) Holloway KA. (2011). Combating inappropriate use of medicines. Expert review of clinical pharmacology, 4(3), 335 - 48.
5) Holloway K.& Dijk LV. (2011). The world medicines situation 2011 (Rational Use of Medicines) Geneva: World Health Organization.
6) Kiatying-Angsulee, N. (2014). Yawipak. Bangkok: Faculty of pharmaceutical sciences Chulalongkorn University. (in Thai)
7) Mongkolchaipak, J., Ruamsook, J. & Chaiprateep, E. (2012). The study of customer’s knowledge and behavior in using antibiotics at community drug store in Pathum Thani Province. Phathum Thani: EAU Heritage Journal, 6(2), 91 – 100. (in Thai)
8) Sarunrak, B., Rungnapa, C., Chuleeporn, H., (2019). Knowledge attitude and behaviors in rational antibiotics use of nursing students Southern College of Nursing and Public Health Network. Journal of Health Research and Innovation, 2(1), 25 – 36. (in Thai)
9) Sornkrasetrin, A. et al., (2019) Factors Predicting the Rational Antibiotic Use among Nursing Students. Nakhonratchasima. The Journal of Baromarajonani College of Nusing, Nakhonratchasima, 25(1), 43 - 59 (in Thai)
10) Yanti, N. (2017). Factors Associated to Antibiotic Practice Among Public Health Students in Students in a University, Phathum Thani. PhathumThani: ValayaAlongkorn Review, 7(2), 57 - 66 (in Thai)