Mobile Application คัดกรองความเสี่ยงการเกิดโรคหลอดเลือดสมองสำหรับกลุ่มเสี่ยง

Main Article Content

ภราดร ล้อธรรมมา
ปัทมา สุพรรณกุล

บทคัดย่อ

         โรคหลอดเลือดสมอง เป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทย เนื่องจากมีอัตราป่วยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อาการของโรคจะส่งผลให้การสั่งการของระบบประสาท การทำงานของร่างกายผิดปกติ เกิดอัมพฤกษ์ อัมพาต หรือเสียชีวิตได้ บทความนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอรูปแบบการคัดกรองความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองในกลุ่มเสี่ยง ได้แก่ ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ผู้ป่วยโรคไขมันในเลือดสูง และผู้ที่มีภาวะอ้วน โดยเปรียบเทียบความแตกต่างของแบบคัดกรองความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง ในรูปแบบการจดบันทึกและการใช้ Mobile Application ซึ่งในปัจจุบันรูปแบบการคัดกรองโดยใช้ Mobile Application ในกลุ่มเสี่ยงสามารถคัดกรองด้วยตนเองบนสมาร์ทโฟน มีความสะดวกรวดเร็ว สามารถวิเคราะห์ความเสี่ยงและปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดโรค รวมทั้งคำแนะนำในการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันการเกิดโรคที่อาจเกิดขึ้น การใช้ Mobile Application ในการคัดกรองโรคหลอดเลือดสมองจึงมีความแม่นยำและถือเป็นรูปแบบการคัดกรองและป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดสมองที่เหมาะสมกับยุคปัจจุบัน

Article Details

บท
บทความวิชาการ (Academic article)

References

1) American Heart Association Statistics Committee and Stroke Statistics Subcommittee. (2015). Heart disease and stroke statistics-2018 report .The American Heart Association. Circulation, 142(6), e29-e322.

2) Bureau of Non Communicable Diseases. (2017). Non communicable disease report. Bangkok: Augsong graphic design. (in Thai).

3) Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital, Mahidol University Cardiovascular and Metabolic Center Ramathibodi Hospital. Thai CV risk Sore.2016. Retrieved (2019, November 1) from https://med.mahidol.ac.th/cvmc/thaicv. (in Thai).

4) Jaipong, S. & Srithumsuk, W. (2018).Relationship between perceived risk factors, warning signs and emergency management of stroke among village health volunteer in Phetchaburi province. Boromarajonani College of Nursing, Uttaradit Journal, 10(2), 44-56.(in Thai).

5) National Health Security Offce. (2007). Risk of stroke. Bangkok: Ministry of Public Health. (in Thai).

6) Panawatthanapisut, S., Muangman, M., Phankean, T. & Supanpaiboon, M. (2019). The situations of complementary and alternative medicine use for rehabilitation among stroke patients. Boromarajonani College of Nursing, Uttaradit Journal, 11(1), 63-71.(in Thai).

7) Robins, G., Power, D., & Burgen, S. (1999). A wellness way of life. New York: McGraw-Hill.

8) World Health Organization. (2018). World HealthStatistics Overview. Switzerland.