ผลของการส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีส่วนร่วมในการดูแลตนเองต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองและ การฟื้นสภาพในผู้ป่วยบาดเจ็บทรวงอกที่ใส่ท่อระบายทรวงอก
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดผลก่อนและหลังการทดลอง เพื่อศึกษาผลการส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีส่วนร่วมในการดูแลตนเองต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองและการฟื้นสภาพในผู้ป่วยบาดเจ็บทรวงอกที่ใส่ท่อระบายทรวงอก กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยบาดเจ็บทรวงอก จำนวน 20 ราย ที่รับการรักษาโดยการใส่ท่อระบายทรวงอกในหอผู้ป่วยศัลยกรรมอุบัติเหตุ โรงพยาบาลอุตรดิตถ์ ระหว่างเดือนตุลาคม 2562 ถึงเดือนมกราคม 2563 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบบันทึกความสามารถในการระบายอากาศของปอดและแบบบันทึกพฤติกรรมการดูแลตนเองขณะใส่ท่อระบายทรวงอก ทดสอบความเชื่อมั่นโดยคำนวณค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .89 แบบบันทึกความสามารถในการระบายอากาศของปอด นำมาหาค่าความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ท่าน การวิเคราะห์ข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและสถิติแมนน์-วิทนีย์ ยู
ผลการวิจัยพบว่า 1) พฤติกรรมการดูแลตนเองของกลุ่มทดลองภายหลังการทดลองดีกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .05 ( p< .05) 2) เปอร์เซ็นต์ที่เพิ่มขึ้นของปริมาตรอากาศที่สามารถหายใจออกได้มากที่สุดหลังหายใจเข้าเต็มที่หลังใส่ท่อระบายทรวงอก วันที่ 2 และ 3 ของกลุ่มทดลองมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .05 (p< .05)
Article Details
บทความหรือข้อคิดเห็นใดใดที่ปรากฏในวารสารวิจัยการพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพ เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน ซึ่งบรรณาธิการหรือสมาคมศิษย์เก่า ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย และบทความที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจัยการพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพ
References
Dempsey, P. A. & Dempsey, A. D. (1992). Data collection. In P. A. Dempsey and A. D.Dempsey (Eds.), Nursing research with basic statistical applications. Boston: Jones & Bartlett.
Department of Disaster Prevention and Mitigation. (2019). Accident and disaster information. Bangkok: Ministry of Interior.
Hanucharornkul, S. (2001). Self-care and Orem’s theory. In S. Hanucharornkul (Ed.), Nursing: Science of practice. 2nd Edition. Bangkok: V.J. Printing. (in Thai)
Jaroendee, P. (2017). Effectiveness of clinical practice guideline for caring chest trauma patients with intercostal drainage. Thai Red Cross Nursing Journal, 10(1), 95-109. (in Thai)
Jitmitarapap, S. & Navicharern, P. (Editor). (2015). Textbook of surgery. 13th Edition. Bangkok: Pailin Booknet. (in Thai)
Johnston, G., Goss JR., Malmgren JA. & Spertus JA. (2004). Health status and social risk correlates of extended length of stay following coronary artery bypass surgery. Annals of the Thoracic Surgery, 77, 557-562.
Krithong, N. & Upsen, R. (2017). The effect of educative and supportive program on self-care behaviors of schizophrenic patients with negative symptoms in community. Journal of The Royal Thai Army Nurses, 18 (Supplement), 357-364. (in Thai)
Medical Record and Statistics Division. (2019). Medical record and statistics. Uttaradit: Uttaradit Hospital.
Orem, D. E., Taylor, S. G., & Renpenning, K. M. (2001). Nursing: Concepts of practice. 6th Edition. St. Louis: Mosby.
Phokphungkit, K. (2018). Establishment of standard of nursing care for patients with chest drainage. Trauma ward nurising department Uttaradit Hospital Ministry of Public Health. (in Thai)
Prompak, P., Kunsongkeit, W. & Masingboon, K. (2012). Effects of social support program for lung rehabilitation in chest trauma patients with chest tube drainage. The Journal of Faculty of Nursing Burapha University, 20(2), 45-59. (in Thai)
Suttithum, W., Wittayapun, Y. & Kalampakorn, S. (2016). Impact of a specially designed self-care programme on self-care behaviour and the A1c haemoglobin level in type-2 diabetes patients at Laan Saka Hospital. Thai Journal of Nursing Council, 31(1), 19-31. (in Thai)
Yuksen, C., Trainarongsakul, T. & Sittichanbuncha, Y. (2015). Emergency care the pocket guide book. 4th Edition. Bangkok: Department of Emergency Medicine Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital Mahidol University. (in Thai)
Vuttanon, N. (Editor). (2011). Nursing practice insurgical clinics. Chiang Mai: Faculty of Nursing, Chiang Mai University. (in Thai)
Winthai, A. (2013). Nursing practice based on evidence based practice for chest trauma patients with intercostal chest drainage in surgery1 intensive care unit at Udonthani Hospital. Graduate School Khon Kaen University. (in Thai)