ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้การเรียนออนไลน์ในระบบเปิดสำหรับมหาชน (MOOCs) เพื่อพัฒนากระบวนการสุนทรียสนทนา กระบวนการสะท้อนคิดและกระบวนการฟังอย่างลึกซึ้งของนักศึกษาพยาบาล
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้การเรียนออนไลน์ในระบบเปิดสำหรับมหาชน (MOOCs) เพื่อพัฒนากระบวนการสุนทรียสนทนา กระบวนการสะท้อนคิดและกระบวนการฟังอย่างลึกซึ้งของนักศึกษาพยาบาล ชั้นปีที่ 2 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ จำนวน 102 คน โดยใช้แบบแผนการทดลองแบบหนึ่งกลุ่มทดสอบก่อน-หลัง (One Group Pretest - Posttest Design) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนจัดการเรียนรู้โดยใช้การเรียนออนไลน์ในระบบเปิดสำหรับมหาชน (MOOCs) เพื่อพัฒนากระบวนการสุนทรียสนทนา กระบวนการสะท้อนคิดและกระบวนการฟังอย่างลึกซึ้งของนักศึกษาพยาบาล จำนวน 4 สัปดาห์ คู่มือประกอบการอบรม เครื่องคอมพิวเตอร์เชื่อมโยงระบบเครือข่าย แบบประเมินกระบวนการสุนทรียสนทนาและการสะท้อนคิดและการฟังอย่างลึกซึ้ง แบบสอบถามความพึงพอใจของนักศึกษาพยาบาลต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้การเรียนออนไลน์ในระบบเปิดสำหรับมหาชน (MOOCs) วิเคราะห์ข้อมูล โดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงพรรณนา (Descriptive statistics) และสถิติทดสอบค่าทีแบบไม่อิสระต่อกัน (Pair t – test)
ผลการวิจัยพบว่า กระบวนการสุนทรียสนทนา กระบวนการสะท้อนคิดและกระบวนการฟังอย่างลึกซึ้งตามแผนจัดการเรียนรู้โดยใช้การเรียนออนไลน์ในระบบเปิดสำหรับมหาชน (MOOCs) หลังการทดลองสูงกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) ความพึงพอใจของนักศึกษาพยาบาลต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้การเรียนออนไลน์ในระบบเปิดสำหรับมหาชน (MOOCs) ของนักศึกษาพยาบาลโดยรวมอยู่ในระดับมาก การเตรียมความพร้อมก่อนการสอนและการเรียนตามรูปแบบออนไลน์ในระบบเปิดสำหรับมหาชน (MOOCs) อยู่ในระดับมาก
Article Details
บทความหรือข้อคิดเห็นใดใดที่ปรากฏในวารสารวิจัยการพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพ เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน ซึ่งบรรณาธิการหรือสมาคมศิษย์เก่า ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย และบทความที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจัยการพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพ
References
2) Childnet International. (2012). Young people and social networking services a Child net international research report. United Kingdom.
3) Chumpeeruang S., Wattanatorn A., Hingkanont P. & Keawurai W. (2013). Development of curriculum to enhance desirable characteristics through dialogue for nursing students. Journal of Education, Naresuan University, 15(3), 9-15. (in Thai)
4) Cresswell, J. W. (2013). Qualitative inquiry and research design. Los Angeles: SAGE.
5) David Bohm. (2011). David Bohm on dialogue: about the dialogue. Translated by Petcharat Phongcharoensuk. Publisher: Suan Nguen Mee Ma, Bangkok. (in Thai)
6) David Bohm. (1996). On dialogue. London: Routledge.
7) Gibbs, G. (1988). Learning by doing: a guide to teaching and learning methods. Oxford: Oxford Further Education Unit.
8) Higher Education. Journal of Education Naresuan University, 17(2), 161-170.
9) Johns, C. (2000). Becoming a reflective practitioner. London: Blackwell Science
10) Kaewprom C. (2013). Developing reflective thinking skills of nursing students by writing learning notes in teaching and health counseling courses. Journal of Phrapokklao Nursing College, 24(2), 12-20. (in Thai)
11) Mason, R., & Rennie, F. (2008). E-Learning and social networking handbook resource for higher education. New York: Routledge.
12) Nookhong J. & Jeerungsuwan N. (2015). The design of blended training model with the MOOC teaching style for developing information, media and technology skills within undergraduate students.Technical Education Journal King
13) Mongkut’s University of Technology North Bangkok. 6(1), 105-113. (in Thai)
14) Otto Scharmer & Adam Yukelson. (2015). The Journal of Corporate Citizenship, 58, 35-39.
15) Pecharasorn P. et al. (2009). Documents for learning subjects 000130 Information literacy skills. 3rd edition. Khon Kaen: General Education School. Khonkaen University. (in Thai)
16) Peixoto N. & Peixoto T. (2014) Reflective practice among nursing students in clinical teaching. Journal of Nursing Referência, 4(11), 121-31.
17) Pinitjitsamut M. (2009). Dialogue. Samut Prakan: Chongcharoen Thepharak Printing. (in Thai)
18) Pongpakatien J. (2007). Research and development of contemplative education in Thai higher education institutions. Doctor of Education thesis, Chulalongkorn University, Bangkok. (in Thai)
19) Thorpe, K. (2004). Reflective learning journals: From concept to practice. Reflective Practice. International and Multidisci-plinary Perspectives, 5(3), 327-343.
20) Tinnawas N. & Thammetar T. (2016). The study Of massive open online course model for Thai higher education. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 9(3), 1463-1470. (in Thai).
21) Wichainate K. (2014). Reflective thinking: teaching students to develop critical thinking in nursing practice. Journal of The Police Nurse, 6(2), 188-199. (in Thai)
22) Wongkritrungruang, W. (2015). From world to Thailand, a new direction of learning into the 21st century. Retrieved (2015, March 3) from http:// thaipublica.org/2015/03 /education-forthe-future_1 (in Thai).