การวิจัยและพัฒนารูปแบบการส่งเสริมคุณลักษณะการให้บริการสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ของนักศึกษาพยาบาล

Main Article Content

สุปราณี หมื่นยา

บทคัดย่อ

          การวิจัยและพัฒนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประเมินประสิทธิผลรูปแบบการส่งเสริมคุณลักษณะการบริการสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ของนักศึกษาพยาบาล ขั้นตอนการวิจัยแบ่งเป็น       4 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพการจัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมคุณลักษณะการบริการสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ โดยการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องและสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ที่เกี่ยวข้อง ระยะที่ 2 พัฒนารูปแบบการส่งเสริมคุณลักษณะการบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ โดยกำหนดกรอบแนวคิด และสร้างรูปแบบการส่งเสริมคุณลักษณะการบริการสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ ระยะที่ 3 ตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบการส่งเสริมคุณลักษณะการบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์โดยนำไปทดลองใช้  กลุ่มตัวอย่างเป็น นักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ 2 ปีการศึกษา 2560  วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ จำนวน 40 คน ที่ได้จากการสุ่มอย่างง่าย  ระยะที่ 4  ประเมินประสิทธิผลของการใช้รูปแบบการส่งเสริมคุณลักษณะการบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ โดยผู้สอนจำนวน 5 คน และนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ 2 จำนวน 40 คน   เครื่องมือที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเพื่อใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) รูปแบบการส่งเสริมคุณลักษณะการบริการสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์  2) แบบสัมภาษณ์เชิงลึกเกี่ยวกับคุณลักษณะการบริการสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ 3) แบบวัดคุณลักษณะการบริการสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ของนักศึกษาพยาบาล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่   ค่าร้อยละ   ค่าเฉลี่ย   ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่า t-test


ผลการศึกษา พบว่า  สามารถพัฒนารูปแบบการส่งเสริมคุณลักษณะการบริการสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ของนักศึกษาพยาบาล โดยใช้กระบวนการของแนวคิดการสืบสอบแบบชื่นชม 4 ขั้นตอน คือขั้นตอนที่ 1 ค้นพบ (discovery) ขั้นตอนที่ 2 การกำหนดความคาดหวังถึงสิ่งที่ดีในอนาคต (dreaming) ขั้นตอนที่ 3 การออกแบบเพื่อจะทำให้สิ่งที่คาดหวังเป็นจริง (design) และขั้นตอนที่ 4 ลงมือปฏิบัติเพื่อให้สิ่งที่คาดหวังเป็นจริง (destiny) โดยมีกิจกรรมที่สอดคล้องกับกระบวนการสืบสอบแบบชื่นชม จำนวน 11 กิจกรรม  ผลการทดลองใช้รูปแบบ พบว่า ค่าคะแนนเฉลี่ยโดยรวมของการบริการสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ของนักศึกษาพยาบาลหลังการใช้รูปแบบการส่งเสริมคุณลักษณะการบริการสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์สูงกว่าก่อนการใช้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (p < .05)  และพบว่า ผู้สอนและผู้เรียนมีความพึงพอใจในรูปแบบการส่งเสริมคุณลักษณะการบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์อยู่ในระดับมากและทุกคนเห็นว่ารูปแบบนี้มีความเหมาะสมสามารถนำไปใช้ได้

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research articles)

References

1 Praboromarajchanok Institute. (2010). Operation Manual for achieve graduate identity of Praboromarajchanok Institute. Nonthaburi: Yuttarin Printing House. (in Thai)

2 The High Education Commission. (2008). Philosophy of Higher Education. Bangkok: The High Education Commission. (in Thai).

3 Thailand Nursing and Midwifery Council. (2011). Certification Manual of Institute of Nursing and Midwifery. Bangkok: Thailand Nursing and Midwifery Council. (in Thai)

4 Ambrose, S. A. et al. (2010). How learning works: seven research-based principles for smart teaching. San Francisco, CA: Jossey-Bass.

5 Cooperrider, D. L., Whitney, D. & Stavros, J. (2011). Appreciative Inquiry handbook: The first in a series of AI workbooks for leaders of change. San Francisco: Berrett-Koehler Publisher.

6 Preskill, H. & Catsambas, T. T. (2006). Reframing Evaluation Through Appreciative inquiry. United States of America: Sage Publication, Inc.

7 Rose, C., (2012). Self awareness and personal development: Resources for psychotherapists and counselors. Basingstoke: Palgrave Macmillan.

8 Sprangel, J. M., Staros, J. & Cole, M. (2011). Creating sustainable relationships using the strengths, opportunities, aspirations and results framework, trust, and environmentalism: A research-based case study. International Journal of Training and Development. 15:1 Blackwell Publishing Ltd. p39-57

9 Watkins, J. M., Mohr, B. & Kelly, R. (2011). Appreciative Inquiry Change at the speed of imagination. Pfeiffer: United states of America.

10 Watson, J. (2012). Human Caring Science: A Theory of Nursing. Massachusetts: Malloy.