การพัฒนาหุ่นจำลองฝึกทักษะการดูดเสมหะ version 2

Main Article Content

เยาวลักษณ์ คุมขวัญ
พรรณี ไพศาลทักษิน
เครือวัลย์ สารเถื่อนแก้ว
วัชรีพร ลำเจียกเทศ
อนุรักษ์ แสงจันทร์
วิภา เอี่ยมสำอางค์ จารามิลโล

บทคัดย่อ

           การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาประสิทธิภาพหุ่นจำลองฝึกทักษะการดูดเสมหะ (version) กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญ ประกอบด้วย พยาบาลวิชาชีพ 2 คน อาจารย์พยาบาล 2 คน นายช่างเทคนิค หน่วยอุปกรณ์การแพทย์ 1 คน 2) กลุ่มทดลองใช้ ประกอบด้วยอาจารย์พยาบาล 18 คน และนักศึกษาพยาบาล 197 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามประสิทธิภาพหุ่นจำลองฝึกทักษะการดูดเสมหะ การพัฒนาหุ่นจำลองฝึกทักษะการดูดเสมหะ version 2) แบ่งเป็น 5 ขั้นตอนคือ 1) ศึกษาปัญหาและความต้องการ  2) พัฒนาหุ่นจำลองฝึกทักษะการดูดเสมหะ version 2  3) ทดลองใช้และให้ข้อเสนอแนะ 4) ปรับปรุงหุ่นจำลอง และ 5) ศึกษาประสิทธิภาพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา


            ผลการวิจัยพบว่า 1. หุ่นจำลองฝึกทักษะการดูดเสมหะ version 2 มีกลไกการทำงานที่เพิ่มเติมจาก version 1 คือ    1) มีขั้วปอด 2 ข้าง   2) สามารถปรับความเข้มข้นของเสมหะและใส่เสมหะลงในหุ่นได้สะดวกขึ้น  3) ขนาดของลูกโป่งมีขนาดใกล้เคียงกับปอดจริง  2. ประสิทธิภาพหุ่นจำลองฝึกทักษะการดูดเสมหะ version 2  พบว่าอาจารย์พยาบาลเห็นว่าประสิทธิภาพโดยรวมอยู่ในระดับดี (  gif.latex?\bar{X}=4.31, SD. =.60)  นักศึกษาเห็นว่าประสิทธิภาพโดยรวมอยู่ในระดับดี  (  gif.latex?\bar{X}=3.86, SD. =.56)  จากผลการศึกษาสามารถนำหุ่นจำลองฝึกทักษะการดูดเสมหะ version 2 ไปใช้ในการฝึกสอนนักศึกษาในการดูดเสมหะได้

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research articles)

References

1. Natthacha, C. & Jinda, N. (2016). Development of an artificial pus wound model to improve second-year nursing students’ skill in performing wound swab culture. Thai Journal of Nursing Council, 31(1), 32-43. (in Thai).

2. Preeyasalil, C. & Yaowalak, K. (2017). Suction models for suction skill practice: innovation in nursing instructional medias. Nursing journal of the ministry of public health, 27(2), 48-59. (in Thai).

3. Rawija, B. (2015). RTAFNC suction model. Journal of the police nurse, 7(1), 44 - 52. (in Thai).

4. Ross, J. G. (2015). The effect of simulation training on baccalaureate nursing students’ competency in performing intramuscular injection. Nursing Education Perspectives, 36(1), 48-59.

5. Susanha, Y. (2015). Developing simulation model for training clinical skill of healthscience students, Nursing Journal, 43(2),142-151. (in Thai).

6. Susanha, Y. & Sopa, K. (2013). Developing a FON CMU breast model as a teaching aid for breastfeeding. Nursing Journal, 40(4), 58-68. (in Thai).

7. Yaowalak, K & Preeyasalil, C. (2014). The development of endotracheal tube and tracheostomy tube suction models for suction skill practice. Journal of Phrapokklao Nursing College, 25 (2), 52-64.

8. Yaowalak, K, Preeyasalil, C. (2011). The relationship between anxiety and readiness in practice of the second year nursing students in Chakrirak nursing college. Rajcahburi: Chakrirak nursing college.