การพัฒนาตัวบ่งชี้การรู้เท่าทันสุขภาพจิตสำหรับประชาชนทั่วไป
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสังเคราะห์ตัวบ่งชี้การรู้เท่าทันสุขภาพจิต และตรวจสอบคุณภาพของโมเดลการประเมินรู้เท่าทันสุขภาพจิต สำหรับประชาชนทั่วไป กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไป จังหวัดลำปาง จำนวน 960 คน ใช้การสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือวิจัยได้แก่ แบบประเมินการรู้เท่าทันสุขภาพจิต สำหรับประชาชนทั่วไป วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน โดยใช้โปรแกรม LISREL 8.72
ผลการวิจัยพบว่า
1. ตัวบ่งชี้การรู้เท่าทันสุขภาพจิต สำหรับประชาชนทั่วไป ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ 48 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ 1) ด้านความรู้เกี่ยวกับสุขภาพจิตและความผิดปกติทางจิต จำนวน 15 ตัวบ่งชี้ 2) ด้านความเชื่อเกี่ยวกับสุขภาพจิตและความผิดปกติทางจิต จำนวน 12 ตัวบ่งชี้ และ3) ด้านความความสามารถในการรับรู้ปัญหา การป้องกัน และการจัดการปัญหาทางจิต จำนวน 21 ตัวบ่งชี้
2. ผลการตรวจสอบคุณภาพของโมเดลการประเมินการรู้เท่าทันสุขภาพจิต สำหรับประชาชนทั่วไป พบว่า โมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ได้ค่า Chi square = 1954.66 , df = 1060, p = .0421, GFI = 0.94, AGFI = 0.93, RMR = 0.04, RMSEA=0.013 โดยตัวบ่งชี้ที่มีน้ำหนักสูงสุด 4 อันดับแรก ได้แก่ 1) การบอกความรู้สึก/เล่าอาการที่เปลี่ยนแปลงให้แก่บุคลากรสุขภาพ 2) ถ้ามีปัญหาสุขภาพจิต สามารถโทรสายด่วน 1323 3) สถานบริการด้านสุขภาพจิตในชุมชนที่ใกล้ที่สุด คือโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และ 4) ความคิดอยากตายเป็นภาวะปกติที่เกิดขึ้นกับใครก็ได้
Article Details
บทความหรือข้อคิดเห็นใดใดที่ปรากฏในวารสารวิจัยการพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพ เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน ซึ่งบรรณาธิการหรือสมาคมศิษย์เก่า ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย และบทความที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจัยการพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพ
References
2. Department of Mental Health. (2015). Annual Report, Department of Mental Health, Ministry of Public Health Annual Fiscal Year 2015. Bangkok: PRINTING LTD. (in Thai)
3. Ganasen, K.A., Parker, S., Hugo C.J., Stein D.J., Emsley R.A., & Seedat, S. (2008). Mental health literacy: focus on developing countries. African Journal of Psychiatry, 11, 23 - 28.
4. Hair, J. F. Jr. Black, W. C., Babin, B. J. Anderson, R. E. & Tatham, R. L. 2006. Multivariate data analysis. 6th ed. New Jersey: Prentice Hall.
5. Johnstone, J. N. (1981). Indicators of education system. London: The Anchor Press.
6. Jorm, A.F., Korten, A.E., Jacomb, R.A., et al. (1997). Mental health literacy: A survey of the public’s ability to recognize mental disorders and their beliefs about the effectiveness of treatment. Medical Journal of Australia, 166, 182-186.
7. Jorm, A.F., Barney L.J., Christensen H., Highet N.J., Kelly C.M., & Kitchener B.A. (2006). Research on mental health literacy: what we know and what we still need to know. Australian and New Zealand Journal of Psychiatry, 40(1), 3-5
8. Jorm, A.F., Kitchener, B.A., Kanowski, L.G. & Kelly, C. (2007). Mental health first aid training for members of the public. International Journal of Clinical and Health Psychology. 7 (001), 141-151.
9. Kaewprom C., Yuthavisut S., Pratoom L., & Boontum A., (2014). Mental health literacy among village health workers A case study of two sub-districts in Kloong, Chantaburi. Journal of health science, 8(1),10 -16. (in Thai)
10. Kanjanawasee. S, (2009). Modern test theories. Bangkok: Chulalongkorn University Press. (in Thai)
11. Kittirattanapaiboon P., (2006). A psychiatric guide for the public. Department of Mental Health, Ministry of Public Health. (in Thai)
12. Kline R. B. (2011). Principles and practice of structural equation modeling. 3 rd ed. New York: The Guilford press.
13. Langlands R.L., Jorm A.F., Kelly C.M., & Kitchener B.A. (2008). First aid for depression: A Delphi consensus study with consumers, carers and clinicians. Journal of Affective Disorders, 105(1-3), 157-65.
14. Prince, M., Patel, V., Saxena, S., Maj, M., Maselko, J., Phillips, M.R., & Rahman, A. (2007). No health without mental health. The Lancet, 370 (9590), 859-77.
15. Registration Office Department of Administration. (2017). Population and housing statistics - Population aged 2560. Retrieved from; stat.dopa.go.th/stat/statnew/upstat_age.php. (in Thai)
16. Thai Health Promotion Foundation. (2014) Annual Report 2557. Bangkok: Office of Health Promotion Fund. (in Thai)
17. Videbeck, S. L. (2011). Psychiatric mental health nursing. 5th ed. China: Wolters Kluwer.
18. Wiratchai, N. (1999). LISREL statistical analysis for research. Bangkok: Chulalongkorn University Press. (in Thai)