ความสัมพันธ์ระหว่าง การรับรู้ภาวะเสี่ยงโรคเบาหวาน การจัดการตนเองด้านพฤติกรรมสุขภาพ และระดับน้ำตาลในเลือดของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน ในอำเภอเมือง จังหวัดลำปาง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงพรรณนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ภาวะเสี่ยงโรคเบาหวาน การจัดการตนเองด้านพฤติกรรมสุขภาพ และระดับน้ำตาลในเลือดของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดลำปาง จำนวน 380 คน ที่มีค่าระดับน้ำตาลในเลือดโดยการเจาะที่ปลายนิ้วช่วง 100 - 125 มก. ด้วยวิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบ Cluster Random Sampling เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามการรับรู้ภาวะเสี่ยงโรคเบาหวาน การจัดการตนเองด้านพฤติกรรมสุขภาพ และผลการตรวจคัดกรองระดับน้ำตาลในเลือด แบบสอบถามผ่านการตรวจสอบความตรง IOC ของเนื้อหา ค่าความตรงอยู่ในระดับ .66 – 1 และการค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .78 และ .82 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการหาความสัมพันธ์โดยการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ แบบเพียร์สัน (Pearson’s Coefficient) ผลการวิจัยพบว่า 1) ความเชื่อด้านสุขภาพมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมด้านการควบคุมอาหาร การออกกำลังกาย และการจัดการด้านอารมณ์ 2) การรับรู้ประโยชน์มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมด้านการออกกำลังกาย และการจัดการด้านอารมณ์ 3) การรับรู้อุปสรรคมีความสัมพันธ์ทางลบกับพฤติกรรมด้านการควบคุมอาหาร การออกกำลังกาย และการจัดการด้านอารมณ์ และมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมเสี่ยงทางสุขภาพ และ 4) ค่าระดับน้ำตาลในเลือดมีความสัมพันธ์ทางลบกับการรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวาน พฤติกรรมด้านการควบคุมอาหาร และการออกกำลังกาย ข้อเสนอแนะควรพัฒนาแนวทางการส่งเสริมให้กลุ่มเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานให้มีความเชื่อทางสุขภาพที่ดี กระตุ้นการรับรู้ต่อภาวะเสี่ยง และการรับรู้ประโยชน์ของปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านสุขภาพเพื่อลดภาวะเสี่ยงต่อการเป็นโรค และศึกษาข้อมูลเชิงลึกต่ออุปสรรคในการปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพ
Article Details
บทความหรือข้อคิดเห็นใดใดที่ปรากฏในวารสารวิจัยการพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพ เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน ซึ่งบรรณาธิการหรือสมาคมศิษย์เก่า ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย และบทความที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจัยการพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพ
References
2. Bunloet, A., Premgamone, A., & Kessomboon, P. (2018). Prevalence and associated factors of I-sarn syndrome among the diabetic patients and hypertensive patients in rural communities, public health region 7, Thailand. Srinagarind Medical Journal, 33(2), 122 – 128. (in Thai)
3. Chaimin, U. (2007). Health behavior of people at risk for diabetes and hypertension in Mueang District, Chiang Rai Province. (Master’s thesis, Chiang Mai University). (in Thai)
4. Diabetes Association of Thailand. (2016). World Diabetes Statistics. Retrieved from https://www.dmthai.org/statistic/1558. (in Thai)
5. Doungkaew, N. (2008). Health belief and preventive of risk group diabetes mellitus in Ko Kha District, Lumpang Province. Master’s thesis, Chiang Mai University, Chiang Mai, Thailand. (in Thai)
6. Jangwang S., Pittayapinune, T.,& Chutipattana, N. (2016). Factors related to self-care behavior for prevention of diabetes mellitus and hypertension among population groups atrisk. The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health, 3(1), 110 - 128. (in Thai)
7. Lampang Provincial Health Office. (2016). Lampang Health Data Center. Retrieved from https://lpg.hdc.moph.go.th/hdc/reports/page.php?cat_id=6a1fdf282fd28180eed7d1cfe0155e11 (in Thai).
8. Stretcher, V., & Rosenstock, I. M. (1997). The Health belief model. In Glanz, K. Lewis, F, M., & Rimer. B. K., (Eds). Health Behavior and Health Education: Theory, Research and Practice. San Francisco: Josey-Bass.
9. Intarawichian, S. (2012). Changing health behavior by participate to sustainable, in the diabetes mellitus risk group, Kasetwisai district: Roi-et province. Khon Kaen Provincial Disease Control Office 6, 29(2), 65 – 75. (in Thai)
10. The International Diabetes Federation. (2017). IDF diabetes atlas 87 th edition: Key message. Retrieved from https://www.diabetesatlas.org/key-messages.html
11. World health Organization [WHO]. (2015). World Diabetes Day 2015. Retrieved from https://www.who.int/diabetes/wdd_2015/en/
12. Yamane, T. (1973). Statistic: An Introductory Analysis. 3rd Eds. New York: Harper & row