ผลของกลุ่มให้ความรู้ด้านสุขภาพร่วมกับการออกกำลังกายแบบแอโรบิคต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยจิตเภทที่มีอาการทางลบ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง ศึกษาสองกลุ่มวัดผลก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบ 1) คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยจิตเภทที่มีอาการทางลบก่อนและหลังได้รับการให้ความรู้ด้านสุขภาพร่วมกับการออกกำลังกายแบบแอโรบิค 2) คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยจิตเภทที่มีอาการทางลบกลุ่มที่ได้รับการให้ความรู้ด้านสุขภาพร่วมกับการออกกำลังกายแบบแอโรบิคกับกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยโรคจิตเภทที่มีอาการทางลบ จำนวน 40 คน สุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 20 คน กลุ่มทดลองได้รับการให้ความรู้ด้านสุขภาพร่วมกับการออกกำลังกายแบบแอโรบิค กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ การให้ความรู้ด้านสุขภาพร่วมกับการออกกําลังกายแบบแอโรบิค แบบประเมินอาการทางลบ และเครื่องชี้วัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุดย่อฉบับภาษาไทย หาความเที่ยงโดยใช้สูตร KR-20 ของคูเดอร์ริชาร์ดสัน และค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาคเท่ากับ .73 และ .95 ตามลําดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและสถิติทดสอบที
ผลการวิจัย สรุปได้ดังนี้
1) ผู้ป่วยจิตเภทที่มีอาการทางลบหลังได้รับการให้ความรู้ด้านสุขภาพร่วมกับการออกกำลังกายแบบแอโรบิคมีคุณภาพชีวิตดีกว่าก่อนได้รับการให้ความรู้ด้านสุขภาพร่วมกับการออกกำลังกายแบบแอโรบิคอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2) ผู้ป่วยจิตเภทที่มีอาการทางลบกลุ่มทดลองที่ได้รับการให้ความรู้ด้านสุขภาพร่วมกับการออกกำลังกายแบบแอโรบิคมีคุณภาพชีวิตดีกว่ากลุ่มควบคุมที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05
Article Details
บทความหรือข้อคิดเห็นใดใดที่ปรากฏในวารสารวิจัยการพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพ เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน ซึ่งบรรณาธิการหรือสมาคมศิษย์เก่า ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย และบทความที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจัยการพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพ
References
2 Buntengsuk, H. (2002). Factors predicting quality of life of schizophrenic patients, out-patient department of Phasrimahabodhi Hospital. Master Nursing Science (Mental Health and Psychiatric Nursing) Graduate School, Chulalongkorn University. (in Thai).
3 Buracharin, W. (2011). Selected Factors Related to Violent Behavior of Schizophrenic Patients in community. The Journal of Psychiatric Nursing and Mental health, 25(3), 24-37. (in Thai).
4 Chirawatkul, S. et. al., (1997). Psychiatric- mental health nurse essential competencies. Thai Journal of Nursing council, 1(1). 53-70. (in Thai).
5 Department of Mental Health. (2011). Annual Report 2011. Ministry of Public Health. Nonthaburi : Beyond Publishing. (in Thai).
6 Gomes, E. et al. (2014). Effects of a group physical activity program on physical fitness and quality of life in individuals with schizophrenia. Mental Health and Physical Activity, 7, 155-162.
7 Gorczynski, P. & Faulkner, G. (2010). Exercise therapy for schizophrenia. Cochrane Database Syst Rev, 5, 1-43.
8 Juthamanee, S. (2009). The effect of group teaching program on quality of life of Schizophrenic patients in community. Master Nursing Science (Mental Health and Psychiatric Nursing) Graduate School, Chulalongkorn University. (in Thai).
9 Kaewwannarat, A. (2003). Writing a lesson plan for health education. (3rd edition). Chonburi: Chonburi printing. (in Thai).
10 Kaltsatou, A. et al. (2015). Effects of exercise training with traditional dancing on Functional capacity and quality of life in patients with schizophrenia: A randomized controlled study. Clinical Rehabilitation, 29(9), 882-891.
11 Kay, S.R., Fiszbein, A., & Opler, L.A. (1987). The Positive and Negative Syndrome Scale (PANSS) for schizophrenia. Schizophrenia Bulletin, 13(2), 261-276.
12 Lotrakul, M. & Sukanich, P. (2012). Psychiatry Ramathibodi. (3 rd edition). Bangkok: Beyond Entrance prince. (in Thai)
13 Mahatnirunkul, S. et al., (2002). Comparison of World Health Organization quality of life. Suanprung Hospital Chiangmai. (in Thai).
14 Makara-Studzinska, M., Wołyniak M., & Partyka, I. (2011). The quality of life in patients with schizophrenia in community mental health service – selected factors. Journal of Pre-Clinical and Clinical Research, 5(1), 31 - 34.
15 Marram, G. D. (1978). The group approach in nursing practice. (2nd ed). St.Louis: C. V.
16 Matsee, C. & Waratwichit, C. (2017). Promotion of health literacy: From concept to practice. Boromarajonani College of Nursing, Uttaradit Journal. 9(2), 96-111. (in Thai).
17 Muenya, S. (2017). Exercise for the elderly: Applying self-efficacy. Boromarajonani College of Nursing, Uttaradit Journal. 9(1), 59-69. (in Thai)
18 Pahansaard, W et. al., (2012). Aerobic dance. Department of Physical Education, Ministry of Tourism & Sports. Bangkok: The Agricultural Cooperative Federation of Thailand Printing Press. (in Thai).
19 Suthikant, D. (2014). Psychiatric Handbook. (2nd edition). Bangkok: Suthikant. (in Thai).
20 Suwunnaboon, W. (2014). Effects of Interpersonal group therapy on quality of life among Schizophrenic patients. Mental Health and Psychiatric Nursing, Faculty of nursing Burapha university. (in Thai).