รูปแบบการจัดการเรียนการสอนทางการพยาบาลในการพัฒนาสมรรถนะนักศึกษาพยาบาล ด้านการสร้างเสริมสุขภาพ

Main Article Content

วาสนา มั่งคั่ง
ดุจเดือน เขียวเหลือง

บทคัดย่อ

          การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนทางการพยาบาลในการพัฒนาสมรรถนะนักศึกษาพยาบาลด้านการสร้างเสริมสุขภาพมีขั้นตอนดำเนินงานดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบันของแนวทางในการพัฒนาสมรรถนะนักศึกษาพยาบาลด้านการสร้างเสริมสุขภาพ ขั้นตอนที่ 2 การสร้างและตรวจสอบคุณภาพรูปแบบการจัดการเรียนการสอนและเอกสารประกอบรูปแบบ โดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้เชี่ยวชาญจัดการเรียนการสอนด้านการสร้างเสริมสุขภาพ 3 คน อาจารย์พยาบาล 18 คน และนักศึกษาพยาบาล ปีการศึกษา 2559 จำนวน 294 คนเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม การสนทนากลุ่มและการสัมภาษณ์เชิงลึก ผลการศึกษาพบว่า 1) การจัดการเรียนการสอนด้านการสร้างเสริมสุขภาพในปัจจุบันเป็นการสอนแบบแยกเป็นรายวิชาการสร้างเสริมสุขภาพซึ่งจัดการเรียนการสอนในชั้นปีที่  2 ซึ่งนักศึกษาเรียนเฉพาะวิชาพื้นฐานทางการพยาบาลจึงทำให้นักศึกษายังไม่สามารถประยุกต์ใช้แนวคิดการสร้างเสริมสุขภาพในรายวิชาทางการพยาบาลในชั้นปีที่สูงขึ้น และกระบวนการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาสมรรถนะนักศึกษาพยาบาลด้านการสร้างเสริมสุขภาพควรใช้กระบวนการสอนแบบบูรณาการ 2) รูปแบบการจัดการเรียนการสอนทางการพยาบาลในการพัฒนาสมรรถนะนักศึกษาพยาบาลด้านการสร้างเสริมสุขภาพประกอบด้วยกระบวนการสำคัญคือ 1) หลักการ  2) วัตถุประสงค์  3) เนื้อหา  4) กระบวนการจัดการเรียนรู้ 5) การวัดและประเมินผล โดยการบูรณการแนวคิดการสร้างเสริมสุขภาพในการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติจำนวน 19 รายวิชาในหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560 ผลการตรวจสอบคุณภาพโดยผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก


 

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research articles)

References

1. Boontong T. (2001). Core competencies of registered nurse and midwifery. proceeding of seminar on 3rd national nursing education: development in undergraduate nursing education for health care reform in Thailand; 2001 July 23-25; Emerald hotel, Bangkok: faculty of nursing Mahidol university; 2001. P. 43 - 49. (in Thai)

2. Joyce, B. and Weil, M. (2000). Models of Teaching (6thed). Boston: Allyn and Bacon.

3. Kaemanee T. (2009). Instructional science knowledge in order to provide and efficiency learning process. 9 th. edition. Bangkok: Chulalongkorn university. (in Thai)

4. Khampalikit S. & Baramee J. (Eds.). (2012). Health Promotion Instruction Guide in Curriculum of Nursing. Khonkaen: Faculty of Khonkaen University. (in Thai)

5. Khampalikit S. et al. (2008). An Evaluation of Health Promotion Competencies of Undergraduate Nursing Students. Thai Journal of Nursing Council, 23(3), 85-95. (in Thai)

6. Khiaolueang D. (2013). The Development of the Thought Reflection Learning Model to Enhance Ethical Decision - Making in Nursing for Student Nursing (Doctoral Dissertation). Phitsanulok: Naresuan University. (in Thai)

7. Klunklin A. & Boonchiang W. (2014). Health Promotion and Disease Prevention. Chaingmai: Siam Nana Canning. (in Thai)

8. Phengjard J. & Boonpiamsak T. (2013). Integration of Health Promotion in Teaching of Nursing Subjects: Theory and Practicum. Journal of Nursing Science& Health, 36(1), 82-91. (in Thai)

9.Steering Committee on Formulation of 12 rd National Health development Plan, Ministry of Public Health Thailand. (2016). The 12rd National Health development Plan. (A.D. 2017-2021). Retrieved from https://bps.moph.go.th/new_bps/sites/default/files/HealthPlan12_2560_2564.pdf. (in Thai)