ผลของการจัดการเรียนการสอนโดยใช้สถานการณ์จำลองต่อการพัฒนาความสามารถ ในการปฏิบัติการรักษาพยาบาลเบื้องต้นของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

Main Article Content

สืบตระกูล ตันตลานุกุล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อการศึกษาผลของการใช้สถานการณ์จำลองที่มีต่อการพัฒนา
ความสามารถในการปฏิบัติการรักษาพยาบาลเบื้องต้นของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 วิทยาลัย
พยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข ปีการศึกษา 2557 กลุ่ม
ตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเป็นนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 4 ที่เรียนภาคปฏิบัติ วิชา ปฏิบัติการรักษา
พยาบาลเบื้องต้น จำนวน 60 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย (Simple RandomSampling) จากประชากร
และสุ่มอย่างง่ายอีกครั้งหนึ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 30 คน กลุ่มทดลองได้รับการใช้
สถานการณ์จำลอง กลุ่มควบคุมไม่ได้รับการใช้สถานการณ์จำลอง เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือแบบ
ทดสอบความสามารถในการปฏิบัติการรักษาพยาบาลเบื้องต้นและโปรแกรมการใช้สถานการณ์จำลอง
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ t-test ผลการศึกษาค้นคว้าพบว่า
1. นักศึกษามีความสามารถในการปฏิบัติการรักษาพยาบาลเบื้องต้นมากขึ้นหลังจากได้รับ
การใช้สถานการณ์จำลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2. นักศึกษามีความสามารถในการปฏิบัติการรักษาพยาบาลเบื้องต้นมากขึ้นกว่านักศึกษาที่
ไม่ได้รับการใช้สถานการณ์จำลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research articles)

References

1. พรศิริ พันธสี และอรพินท์ สีขาว. (2552). ผลของการจัดการเรียนการสอนโดยใช้กรณีศึกษาต่อการพัฒนาความสามารถในการใช้กระบวนการพยาบาลในคลินิกของนักศึกษาพยาบาล. วารสารสภาการพยาบาล2552, 24(3), 81-93
2. สาวิตรี แย้มศรีบัว. (2540). ผลของการใช้สถานการณ์จำลองในการสอนภาคปฏิบัติการพยาบาลสุขภาพจิต และจิตเวชต่อความสามารถในการสร้างสัมพันธภาพ เพื่อการบำบัดของนักศึกษาพยาบาล. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต คณะพยาบาลศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
3. สุวิทย์ มูลคำ. (2545). วิธีจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการคิด (21). กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.
4. สุขสม สิวะอมรรัตน์. (2552). ผลของการใช้สถานการณ์จำลองที่มีต่อความสามารถในการทำงานกลุ่มของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัดเลียบราษฎร์บำรุงเขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร.
5. สารนิพนธ์กศ.ม (จิตวิทยาการศึกษา). กรุงเทพฯ :บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ภาควิชาการพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ. (2558). การจัดการเรียนการสอนโดยใช้หุ่น มนุษย์จำลอง (Simulation-Based
Learning : SBL). การจัดการความรู้. วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา
6. ภาควิชาการพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ. (2558).รายงานการประเมินผลการจัด การเรียนการสอนภาคปฏิบัติของอาจารย์. วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์
7. มารศรี จันทร์ดี และคณะ. (2558). ผลของการจัดการเรียนการสอนโดยใช้กรณีศึกษาต่อความสามารถในการใช้กระบวนการพยาบาลของนักศึกษาพยาบาล รายวิชาปฏิบัติการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ 1. วารสารการพยาบาลและการศึกษา 2558, 7(4).
8. อรพินท์ สีขาว และคณะ. (2548). การศึกษารูปแบบการสอนกระบวนการพยาบาลที่เน้นการคิดอย่างมวิจารณญาณต่อความสามารถในการใช้กระบวนการพยาบาลของนักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. วารสาร มฉก.วิชาการ2548, 9(17), 20-35.
9. Macarthy et al. (1999). Evaluation of criticalthinking in a baccalaureate nursingprogramme. JNE 1999, 38(3), 142-3.
10. Jones, Ken. (1982). Simulation in LanguageTeaching.Cambrige : Cambridge University Press.