ประสบการณ์การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของผู้ต้องขังหญิงในเรือนจำจังหวัดสุพรรณบุรี

Main Article Content

วิลาลัณย์ ธนวรรณ

บทคัดย่อ

การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นสิ่งที่ดีและมีประโยชน์ต่อสุขภาพทั้งร่างกายและจิตใจตลอดจนอารมณ์
ของทั้งมารดาและทารก ผู้ต้องขังหญิงโดยเฉพาะหญิงตั้งครรภ์และคลอดขณะถูกคุมขังเป็นกลุ่มที่มีความ
เปราะบาง วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้เพื่อศึกษาประสบการณ์การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในกลุ่มมารดา
ที่เป็นผู้ต้องขังหญิงในเรือนจำ จังหวัดสุพรรณบุรี โดยการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างเป็นมารดาเป็น
ผู้ต้องขังหญิงในเรือนจำจังหวัดสุพรรณบุรีที่มีประสบการณ์การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ขณะถูกคุมขังในเรือนจำ
นับถึงวันที่สัมภาษณ์ไม่เกิน 3 ปี จำนวน 4 คน ต่อกลุ่ม จำนวน 3 กลุ่ม การเก็บรวบรวมข้อมูลเก็บข้อมูล
โดยการสนทนากลุ่ม (Focus group) 1 ครั้ง
ผลการวิจัยจำแนกเป็น 2 ประเด็นสำคัญได้แก่ด้าน ประสบการณ์ส่วนบุคคลของมารดา และ
ความสำคัญของสิ่งแวดล้อมโดยประกอบด้วย 3 หมวดหมู่ คือ ความคาดหวังและการปฏิบัติในการ
เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ บริการที่เอื้อต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ การสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของบุคคล
ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องมารดาที่เป็นผู้ต้องขังหญิงในเรือนจำมีความรู้สึกด้านบวกต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่แต่มี
ข้อจำกัดและกฎระเบียบตลอดจนสิ่งอำนวยความสะดวกหลายสิ่งที่เป็นอุปสรรคต่อความสำเร็จในการ
เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ด้วยความแตกต่างจากมารดาที่อยู่นอกเรือนจำ ข้อมูลที่พบจากการวิจัยจะเป็นแนวทาง
ที่ดีสำหรับผู้ที่เกี่ยวข้องในการปรับปรุงบริการเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของมารดาและทารกในเรือนจำต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research articles)

References

1. เกรียงศักดิ์ จีระแพทย์.(2554). การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่:ปัญหาที่พบบ่อยทารก ใน สุนทร ฮ้อเผ่าพันธุ์พิมลรัตน์ ไทยธรรมยานนท์ เกรียงศักดิ์ จีระแพทย์.บก.Neonatology 2009. กรุงเทพฯ:บรัษัทธนาเพรสจำกัด.
2. รายงานเด็กติดผู้ต้องขังในเรือนจำ/ทัณฑสถาน ประจำเดือนกรกฎาคม.(2555).เรือนจำจังหวัดสุพรรณบุรีรายงานผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 ส่วนสวัสดิการและสงเคราะห์ผู้ต้องขัง สำนักสังคมสงเคราะห์กรมราชทัณฑ์
3. อภิญญา เวชยชัย และ คนึงนิจ วิหคมาตย์. (2553)การศึกษาแนวทางการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังหญิง:กระบวนการสร้างเสริม “กำลังใจและความเป็นมนุษย์”ในกระบวนการยุติธรรม.กรุงเทพ: กระทรวงยุติธรรม.
4. Baker, M. & Milligan, K.S. (2007). Maternal employment, breastfeeding, and health: Evidence from maternity leave mandates, NBER Working Papers 13188, National Bureau of Economic Research, Inc. Retrieved fromhttp://www.oecd.org/dataoecd/30/56/43136964.pdf
5. Dhanwan, W. (2011). Breastfeeding in a group of Thai Mothers in Sweden. Master Thesis in Caring science. Maladalen University Sweden.
6. Dennis, C. and Allen, K. (2008). interventions(otherthan pharmacological, psychosocial orpsychological)for treating antenatal depression.Cochrane DatabaseSystem Review
7. Dykes F., Hall Moran V., Burt S., & Edwards, J. (2003). Adolescent mothers and breastfeeding:
8. Experiences and support needs – an exploratory study.Journal of Human Lactation 19, 391–400.
9. Ekstrom, A., Widstrom, A-M., & Nissen, E. (2003). Breastfeeding Support from Partners and Grandmothers: Perceptions of Swedish Women BIRTH 30:4 December.
10. Erikson, K. (1992) retrieved from. ttp://www.google.co.th/books?hl=th&lr=&id=8k4pJlUEGmEC&oi=fnd&pg=PA3&dq=theory+of+caritative+caring+by+katie+eriksson&ots=NiUUvIR1x9&sig=_e6OEWMbvR1DmjoKlr6yMXPK7u4&redir_esc=y#v=onepage&q&f=false
11. Forster D., A., & McLachlan, H. L. (2007). BreastfeedingInitiation and Birth Setting Practices:AReview of the Literature. Journal of Midwifery& Women’s Health, 52:3,270-280.
12. Graneheim, U.H., & Lundman, B. (2004). Qualitative contents analysis in nursing Research: conceptsprocedures and measures to achieve trustworthiness. Nursing Education Today, 24:105-112
13. Knight, M. & Plugge, E. (2005). The outcomes of pregnancy among imprisoned women: a systematic review. BJOG., 112, 1467-1474.
14. McInnes R.J. & Chambers J.A. (2008) Supporting breastfeeding mothers: qualitative synthesis. Journal of Advanced Nursing 62(4), 407–427
15. Polit, D. F. & Beck, C.T. (2008). Nursing Research: Generating and assessing evidencefor nursing practice. London: Lippincott Williams & Wilkins.
16. Stewart-Knox, B., Gardiner, K., & Wright, M. (2003). What is the problem with breast-feeding? A qualitative analysis of infant feeding perceptions. Journal of Human Nutrition and Dietetics 16, 265–273.
17. Todrys, K. W. & Amon, J. J. (2011). Health and human rights of women imprisoned in Zambia. BMC.Int.Health Hum.Rights., 11, 8.
18. Wamback, K.,A. & Cohen, S. M. (2009). The breastfeeding experiences of urban adolescent mothers. Jounal of pediatric Nursing, 24, 244-254.