การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนบนคลินิกฝากครรภ์โดยใช้วิธีการเรียนรู้แบบ VARK ในรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลมารดา ทารกและการผดุงครรภ์ 1

Main Article Content

วรรณดี เนียมสกุล
ภิญญารัช บรรเจิดพงศ์ชัย

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนบนคลินิกฝากครรภ์โดยใช้วิธีการเรียนรู้แบบ VARK สำหรับนักศึกษาพยาบาลและศึกษาความคิดเห็นต่อรูปแบบการเรียนการสอนใช้ระเบียบวิธีการวิจัยและพัฒนาประกอบด้วย 5 ขั้นตอนได้แก่ 1) ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี ตำรา เอกสารที่เกี่ยวข้องและประชุมอภิปรายกลุ่มคณาจารย์ที่มีประสบการณ์การจัดการเรียนการสอนรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลมารดา ทารกและการผดุงครรภ์ 1 2) สร้างรูปแบบการเรียนการสอนการดูแลหญิงขณะตั้งครรภ์b โดยนำผลสรุปจากการอภิปรายกลุ่มร่วมกับคณาจารย์และความรู้ด้านทฤษฎีเกี่ยวกับการดูแลขณะตั้งครรภ์มาเป็นแนวทางในการสร้างรูปแบบและสื่อการเรียนการสอน 3) ตรวจสอบรูปแบบและสื่อการเรียนการสอนโดยผู้เชี่ยวชาญ 4) ทดลองใช้รูปแบบและสื่อการเรียนการสอน 5) ประเมินผลและพัฒนารูปแบบและสื่อการเรียนการสอน จัดทำคู่มืออาจารย์สำหรับการสอนในแผนกฝากครรภ์ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาเป็นนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 3 จำนวน 124 คน ที่กำลังศึกษาอยู่ที่วิทยาลัยพยาบาลแห่งหนึ่งในภาคเหนือ ปีการศึกษา 2558 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามความคิดเห็นที่ได้รับการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือทั้งความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิและความเที่ยงได้ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาคเท่ากับ .87 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติการบรรยาย  ผลการศึกษาได้รูปแบบการเรียนการสอนที่ประกอบด้วยกิจกรรมทั้งหมด 26 กิจกรรม แบ่งเป็นกิจกรรมด้านการดู (Visual) 4 กิจกรรม คิดเป็นร้อยละ 15.39 การฟัง (Aural) 5 กิจกรรม คิดเป็นร้อยละ19.23 การอ่าน/การเขียน (Read/Write) 7 กิจกรรม คิดเป็นร้อยละ 26.92 และการลงมือปฏิบัติ (Kinesthetic)10 กิจกรรม คิดเป็นร้อยละ 38.46 โดยนักศึกษามีความคิดเห็นต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนภาคปฏิบัติโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (mean=4.53, SD=0.57) โดยมีค่าเฉลี่ยความคิดเห็นรายด้าน ด้านการลงมือปฏิบัติมากที่สุด (mean=4.61, SD=0.54) รองลงมา ได้แก่ การดู (mean=4.58, SD=0.55) สำหรับค่าเฉลี่ยความคิดเห็นด้านการอ่านและการเขียน(mean=4.50, SD=0.59)และการฟัง (mean=4.36, SD=0.63)
อยู่ในระดับมาก ตามลำดับรูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้วิธีการเรียนรู้แบบ VARK ช่วยส่งเสริมสมรรถนะแก่นักศึกษาพยาบาลในการให้การพยาบาลที่มีคุณภาพต่อหญิงตั้งครรภ์และทารกอย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อจบการศึกษาระดับปริญญาตรีในอนาคตอันใกล

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research articles)

References

1. มคอ.4 หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต หลักสูตรปรับปรุง 2555. (2555). วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์. สถาบันพระบรมราชชนก สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขกระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี.
2. มคอ.6 รายงานผลการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลมารดา ทารกและการผดุงครรภ์ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 (2557). วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์. สถาบันพระบรมราชชนก สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขกระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี.
3. วรรณวดี เนียมสกุล. (2558). การประเมินภาวะสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์และทารกในภาวะตั้งครรภ์ปกติ: พิมพ์ครั้งที่ 1 พีออฟเซ็ทอาร์ท: อุตรดิตถ์.
4. Alkhasawneh, I., Mrayyan, M. T., Docherty, C.,Alashram, S., &Yousef, H. Y. (2008).Problembased learning (PBL): assessing students’ learning preferences using vark. Nurse Education Today, 28, 572-579.
5. Alkhasawneh, E. (2013). Using VARK to assess changes in learning preferences of nursing students at a public university in Jordan: Implication for teaching. Nurse Education Today, 33, 1546-1549.
6. Edgar, D. (1969). Audio-Visual Methods in Teaching. 3rd ed. Holt Rinehart Winston.
7. Fleming, N. D. (2004). VARK: A guide to learningstyles: Retrieve fromwww.varklearn.com/english. June 28, 2015
8. Meehan-Andrews, T. A. (2009). Teaching mode efficiency and learning preferences of firstyear nursing students. Nurse Education Today, 29, 24-32.
9. The Fontys UAS Team. (2013). Training/course manual. Fontys University of Applied Science: The Netherlands.