อุบัติการณ์และปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดการติดเชื้อเยื่อบุช่องท้องครั้งแรก ในผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่องโรงพยาบาลสิงห์บุรี
คำสำคัญ:
การล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง, การติดเชื้อในเยื่อบุช่องท้อง, ปัจจัยเสี่ยงของการติดเชื้อล้างไตทางช่องท้องครั้งแรกบทคัดย่อ
การติดเชื้อในเยื่อบุช่องท้องในผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง (CAPD) เป็นภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญและเป็นสาเหตุโดยตรงที่ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิต งานวิจัยฉบับนี้เป็นการศึกษาที่เก็บข้อมูลแบบย้อนหลัง (retrospective cohort study) โดยเก็บรวบรวมข้อมูลผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2555 ถึง 31 ธันวาคม 2566 เพื่อศึกษาอุบัติการณ์และปัจจัยเสี่ยง ต่อการเกิดการติดเชื้อเยื่อบุช่องท้องครั้งแรก วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้โปรแกรม STATA17.0 วิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยเสี่ยง ต่อการติดเชื้อเยื่อบุช่องท้องครั้งแรกด้วย univariable และ multivariable analysis กับกลุ่มที่ไม่เกิดการติดเชื้อเยื่อบุช่องท้องด้วย Cox regression และการประมาณค่า Hazard ratio (HR) และ Adjust Hazard ratio (adj HR) ขอบเขตความเชื่อมั่นร้อยละ 95 (95% confidence interval) และค่า p-value
ผลการศึกษา มีผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่องเข้าร่วมการศึกษา 247 ราย ผู้ป่วยติดเชื้อในเยื่อบุช่องท้องครั้งแรก 135 ราย คิดเป็นอุบัติการณ์การติดเชื้อในเยื่อบุช่องท้องครั้งแรก ร้อยละ 54.7 ผลเพาะเชื้อส่วนใหญ่เป็นลบ (culture negative) ร้อยละ 43.7 ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดการติดเชื้อเยื่อบุช่องท้องครั้งแรก คือ การศึกษาระดับมัธยมต้น (p=0.03) ระดับอัลบูมินในเลือดที่ต่ำ (p=0.006) ระดับ Hematocrit น้อยกว่า 30% (p=0.025) ระดับฟอสฟอรัสในเลือดที่ต่ำ (p=0.004 ) และการไม่ใส่ผ้าปิดปากและจมูก (p<0.001)
สรุปผลการศึกษา อุบัติการณ์การติดเชื้อในเยื่อบุช่องท้องครั้งแรก ร้อยละ 54.7 ปัจจัยเสี่ยงที่มีความสัมพันธ์กับการติดเชื้อในเยื่อบุช่องท้องครั้งแรก คือ การศึกษาระดับมัธยมต้น ระดับอัลบูมินในเลือดที่ต่ำ ระดับฟอสฟอรัสในเลือดที่ต่ำ ภาวะโลหิตจาง และการไม่ใส่ ผ้าปิดปากและจมูก
References
สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย, คำแนะนำการดูแลรักษาสนับสนุนและประคับประคองผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง พ.ศ. 2566 [อินเทอร์เน็ต] 2566. [ เข้าถึงเมื่อ 20 มกราคม 2568 ]. เข้าถึงได้จาก: https://www.nephrothai.org/
พงศธร คชเสนี. การบําบัดทดแทนไตในปัจจุบัน. สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย[อินเตอร์เน็ต]. กรุงเทพ: สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย; 2563[เข้าถึงเมื่อ 20 ธันวาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.nephrothai.org/wp-content/uploads/2020/08
Davenport A. Peritonitis remains the major clinical complication of peritoneal dialysis: the London, UK, peritonitis audit 2002-2003. Perit Dial In 2009;29 (3):297-302.
Kim GC, Vonesh EF, Korbet SM. The effect of technique failure on outcome in black patients on continuous ambulatory peritoneal dialysis. Perit Dial Int 2002;22(1):53-9.
Fried L, Bernardini J, Johnston JR, et al. Peritonitis influences mortality in peritoneal dialysis patients. J Am Soc. Nephrol 1996;7:(10):2176-82.
ชวนชม พืชพันธุ์ไพศาล. การจัดการตนเองเพื่อการป้องกันการติดเชื้อในเยื่อบุช่องท้องระยะเวลาอย่างน้อย 18 เดือนของผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องต่อเนื่อง. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี. 2561; 29(1):17-28.
ธวัช เตียวิไล. อุบัติการณ์และปัจจัยเสี่ยงการเกิดภาวะติดเชื้อเยื่อบุช่องท้องครั้งแรกของผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่องโรงพยาบาล โพธาราม.วารสารแพทย์ เขต 4-5. 2563;39:51-64
ณรงค์ชัย สังซา. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการติดเชื้อแบคทีเรียในช่องท้องของผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้อง. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม. 2561;15(2):44-48
สุขชัย เธียรเศวตรตระกูล. ปัจจัยเสี่ยงต่อการติดเชื้อในช่องท้องของผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ล้างไตทางช่องท้องที่โรงพยาบาลพาน. เชียงรายเวชสาร. 2566;15(1):10-19
ณัฐวดี มกกงไผ่. ปัจจัยที่มีผลต่อการติดเชื้อเยื่อบุช่องท้องในผู้ป่วยล้างไตทางหน้าท้อง โรงพยาบาลอรัญประเทศ. วารสารโรงพยาบาลพุทธโสธร. 2567;40(2):D1-D12
Li PK, Szeto CC, Piraino B, de Arteage J, Fan S, Figueiredo AE, et al. ISPD Peritonitis Recommendation: 2016 Update on prevention and Treatment. Peri Dial Int. 2016;36(5):481-508
Pongskol C, Sirivong D, Keobounma T, Chanlertrith D, Promajuk P, Limwatananon C. Survival and technical failure in a large cohort of Thai CAPD patients. J Med Asso Thai. 2006;89(Suppl2):S98-105
Peres Fontan M, Rodriguez-Carmona A, Garcia-NAverio R, Rosales M, Villaverde P, Valdes F. Peritonitis related mortality in patients undergoing chronic peritoneal dialysis. Perit Dial Int. 2005;25(3):274-84
ผกาทิพย์ สวนสุข และคณะ. การศึกษาระบาดวิทยาและผลการรักษาภาวะเยื่อบุช่องท้องติดเชื้อจากการล้างไตทางช่องท้องของผู้ป่วยโรคไตระยะสุดท้ายที่ล้างไตทางช่องท้องแบบต่อเนื่องในโรงพยาบาลสระบุรี. วารสารโรงพยาบาลสระบุรี. 2566;37(1):19-30
นราภรณ์ ท่อนโพธิ์. อุบัติการณ์และปัจจัยเสี่ยงของการติดเชื้อเยื่อบุช่องท้องในผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้อง.วารสารวิชาการสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด. 2563;4(8):167-176
B. Kanchanabuch T, Chancharoenthana W, Katavetin P, Sritippayawan S, Praditpomsilpa K, Ariyapitipan S, et al. The incidence of peritoneal dialysis-related infection inThailand: a nationwide survey. J Med Assoc Thai 2011;94(Suppl4):S7-12.
เฉลิมพล ณ เพ็ชรวิจารณ์. ระบาดวิทยาของการติดเชื้อแบคทีเรียในเยื่อบุช่องท้องในผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง โรงพยาบาลมหาราช
นครศรีธรรมราช.มหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร 2563;4(1):84-96
ปกรณ์ ตุงคะเสรีรักษ์. การติดเชื้อของการล้างไตทางช่องท้องอะไรคือความแตกต่าง. ศรีนครินทร์เวชสาร. 2559;31(4):167-172.
ลัดดาพร วงษ์ลือชัย, จิรยุพา แผ่วพลสง, ปัจจัยที่ส่งผลอัตราการเสียชีวิตและภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้องที่มีภาวะโพแทสเซียมในเลือดต่ำ. วารสารสมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย. 2564;27(4)66-74
Chuang, Y. W, Shu, K., Yu, T. M, Cheng, C. H, & Chen, C.H. Hypokalemia: an incident risk factor of Enterobacteriacae peritonitis in CAPD patients. Nephrol Dial Transplant. 2009; 24(5):1603-8
พจี สมปอง, การพยาบาลผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายโดยวิธีการล้างไตทางช่องท้อง. วารสารโรงพยาบาลสิงห์บุรี. 2562;28(1):73-86
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 โรงพยาบาลสิงห์บุรี

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลสิงห์บุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับโรงพยาบาลสิงห์บุรี และบุคคลากรท่านอื่นๆในโรงพยาบาลฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว