เปรียบเทียบการรักษาสิ่งแปลกปลอมในหลอดอาหาร โดยการส่องกล้องชนิดแข็งและ การส่องกล้องชนิดอ่อน ในโรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช

ผู้แต่ง

  • อ้อมอัมพร สารถ้อย นายแพทย์ชำนาญการ, กลุ่มงานโสต ศอ นาสิก, โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช, จังหวัดสุพรรณบุรี

คำสำคัญ:

การส่องกล้องชนิดแข็ง, การส่องกล้องชนิดอ่อน, สิ่งแปลกปลอมในหลอดอาหาร

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบการรักษาสิ่งแปลกปลอมในหลอดอาหารซึ่งทำโดยใช้เครื่องมือคีบสิ่งแปลกปลอมออกจากหลอดอาหารผ่านกล้อง 2 ชนิดคือกล้องชนิดแข็ง และกล้องชนิดอ่อน โดยศึกษาแบบเก็บข้อมูลย้อนหลังตั้งแต่ 1 มกราคม 2552 ถึง 31 ธันวาคม 2566 จากผู้ป่วยทั้งหมด 277 คน ในโรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช

ผลการศึกษาพบว่า เป็นผู้ใหญ่ 226 คน เด็ก 51 คน รักษาโดยใช้กล้องชนิดแข็ง 153 คน กล้องชนิดอ่อน 124 คน โดยกล้องชนิดอ่อนมีอัตราความสำเร็จมากกว่ากล้องชนิดแข็ง 2.89 เท่า โดยไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (OR=2.89, 95% CI 0.09 to 1.33, P=0.1) ในกล้องชนิดแข็งผู้ป่วยส่วนใหญ่ได้รับการรักษาช่วงเวลา 24-72 ชั่วโมงหลังจากสิ่งแปลกปลอมติด (ร้อยละ 44.4) กล้องชนิดอ่อนช่วงเวลา 12-24 ชั่วโมง (ร้อยละ 27.4) กล้องชนิดแข็งมีภาวะแทรกซ้อนสูงกว่ากล้องชนิดอ่อน 9.61 เท่า โดยมีนัยสำคัญทางสถิติ (OR=9.61, 95% CI 0.00 to 0.02, P=0.00) พบมากที่สุดคือเยื่อบุหลอดอาหารเป็นแผล การรักษาด้วยกล้องชนิดอ่อนใช้ระยะเวลานอนโรงพยาบาลน้อยกว่ากล้องชนิดแข็งเฉลี่ย 0.89±0.73 วัน โดยไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (95% CI -0.65 to 2.43, P=0.26)

สรุป การใช้กล้องชนิดอ่อนเหมาะเป็นทางเลือกแรกในการรักษาสิ่งแปลกปลอมในหลอดอาหาร เนื่องจากมีภาวะแทรกซ้อนน้อยกว่า และลดระยะเวลานอนโรงพยาบาล ส่วนกล้องชนิดแข็งยังคงมีบทบาทสำคัญในกรณีสิ่งแปลกปลอมในหลอดอาหารมีขนาดใหญ่

References

Russell R, Lucas A, Johnson J, Yannam G, Griffin R, Beierle E, et al. Extraction of esophageal foreign bodies in children: rigid versus flexible endoscopy. Pediatr Surg Int. 2014;30(4):417-22.

อุศนา พรหมโยธิน. สิ่งแปลกปลอมทางหู คอ จมูก. ใน: กรีฑา ม่วงทอง, ปริยนันทน์ จารุจินดา, ธฤต มุนินทร์นพมาศ, บรรณาธิการ. หู คอ จมูก เร่งด่วน. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: นำอักษรการพิมพ์; 2552. หน้า 215-24.

สมพงษ์ ศิริรัตน์. สิ่งแปลกปลอมในหลอดอาหารในโรงพยาบาลพหลพล

พยุหเสนา. วารสารแพทย์เขต 7. 2535;2:137-41.

Schoem SR, Rosbe KW, Bearelly S. Aerodigestive foreign bodies and caustic ingestions. In: Flint PW, Haughey BH, Lund VJ, Niparko JK, Robbins KT, Thomas JR, et al, editors. Cummings Otolaryngology Head and Neck Surgery. 6thed. Philadelphia: Saunders Elsevier; 2015. p. 3184-94.

Orji FT, Akpeh JO, Okolugbo NE. Management of esophageal foreign bodies: experience in a developing country. World J Surg;36(5):1083-8.

Macpherson RI, Hill JG, Othersen HB, Tagge EP, Smith CD. Esophageal foreign bodies in children: diagnosis, treatment, and complications. Am J Roentgenol. 1996;166:919-24.

Chinski A, Foltran F, Gregori D, Ballali S, Passali D, Bellusi L. Foreign Bodies in the Oesophagus: The Experience of the Buenos Aires Paediatric ORL Clinic. Int J Pediatr 2010;2010:490691. doi: 10.1155/2010/490691.

ดุสิต วินัยชาติศักดิ์. ผลการรักษาการกลืนสิ่งแปลกปลอมในทางเดินอาหารด้วยวิธีการส่องกล้องประสบการณ์ 5 ปี ในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา. วารสาร หู คอ จมูก และใบหน้า. 2556;1:20-8.

Eisen GM, Baron TH, Dominitz JA, Faigel DO, Goldstein JL, Johanson JF, et al. Guideline for the management of ingested foreign bodies. Gastrointest Endosc. 2002 55:802-6.

Obiako MN. Tracheoesophageal fistula. A complication of foreign body. Ann Otol Rhinol Laryngol. 1982;91:325-7.

Liu J, Zhang X, Xie D, Peng A, Yang X, Yu F, et al. Acute mediastinitis associated with foreign body erosion from the hypopharynx and esophagus. Otolaryngol Head Neck Surg. 2012;146:58-62.

Karagozian R, Gan SI. Denudation of the esophageal mucosa following ingestion of a foreign body and vinegar. Endoscopy. 2010;42:99-100.

Huiping Y, Jian Z, Shixi L. Esophageal foreign body as a cause of upper gastrointestinal hemorrhage: case report and review of the literature. Eur Arch Otorhinolaryngol. 2008;265:247-9.

Doolin EJ. Esophageal stricture: an uncommon complication of foreign bodies. Ann Otol Rhinol Laryngol. 1993;102:863-6.

Byard RW, Moore L, Bourne AJ. Sudden and unexpected death – a late effect of occult intraesophageal foreign body. Pediatr Pathol. 1990;10:837-41.

Weissberg D, Rafaely Y. Foreign bodies in the esophagus. Ann Thorac Surg. 2007;84:1854-7.

Wexler SJ, Wernick B, Soliman AM. Use of flexible esophagoscopy by otolaryngologists. Ann Otol Rhinol Laryngol. 2014;123:5-10.

Gmeiner D, von Rahden BH, Meco C, Hutter J, Oberascher G, Stein HJ. Flexible versus rigid endoscopy for treatment of foreign body impaction in the esophagus. Surg Endosc. 2007;21:2026-9.

Popel J, El-Hakim H, El-Matary W. Esophageal foreign body

extraction in children: flexible versus rigid endoscopy. Surg Endosc. 2011;25:919-22.

Hey SY, Harrison A, MacKenzie K. Oral trauma following rigid endoscopy and a novel approach to its prevention – prospective study of one hundred and thirteen patients. Clin Otolaryngol. 2014;39:389-392.

Tseng CC, Hsiao TY, Hsu WC. Comparison of rigid and flexible endoscopy for removing esophageal foreign bodies in an emergency. Formos Med Assoc. 2016;115:639-44.

Wang C, Chen P. Removal of impacted esophageal foreign bodies with a dual-channel endoscope: 19 cases. Exp Ther Med. 2013;6:233-5.

Yan XE, Zhou LY, Lin SR, Wang Y, Wang YC. Therapeutic effect of esophageal foreign body extraction management: flexible versus rigid endoscope in 216 adults of Beijing. Med Sci Monit. 2014;20:2054-60.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

21-03-2025

How to Cite

1.
สารถ้อย อ. เปรียบเทียบการรักษาสิ่งแปลกปลอมในหลอดอาหาร โดยการส่องกล้องชนิดแข็งและ การส่องกล้องชนิดอ่อน ในโรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช. Singburi Hosp J [อินเทอร์เน็ต]. 21 มีนาคม 2025 [อ้างถึง 29 เมษายน 2025];33(3):B42-50. available at: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/shj/article/view/275424