ผลการใช้แอปพลิเคชั่นให้ความรู้เรื่องการบริโภคอาหารของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่ได้รับการฟอกเลือด ด้วยเครื่องไตเทียม โรงพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี

ผู้แต่ง

  • วลี กิตติรักษ์ปัญญา พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ, หน่วยไตเทียม, โรงพยาบาลพระจอมเกล้า, จังหวัดเพชรบุรี

คำสำคัญ:

การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม, ความรู้และพฤติกรรมการบริโภคอาหาร, โรคไตเรื้อรัง, แอปพลิเคชั่น

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความรู้ พฤติกรรมการบริโภคอาหารและน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นระหว่างการฟอกเลือด ระหว่างก่อนและหลังการใช้แอปพลิเคชั่นให้ความรู้เรื่องการบริโภคอาหารของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ เป็นระยะเวลา 3 เดือนขึ้นไป จำนวน 25 ราย คัดเลือกโดยการสุ่มแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลทั่วไป น้ำหนักตัว แบบสอบถามความรู้ มีค่าความเชื่อมั่นคูเดอร์-ริชาร์ดสัน 20 เท่ากับ.60 และแบบสอบถามพฤติกรรมการบริโภคอาหาร  มีค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ .70 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณา การทดสอบที และการทดสอบวิลคอกซัน

ผลการวิจัยพบว่า หลังการทดลองกลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ และพฤติกรรมการบริโภคอาหารเรื่องการบริโภคอาหารมากกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t=7.26, 4.19, p<.001 ตามลำดับ) มีค่ามัธยฐานน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นระหว่างการฟอกเลือดลดลง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (z=3.87, p<.001) และมีค่าเฉลี่ยคะแนนความพึงพอใจต่อแอปพลิเคชั่นอยู่ในระดับมาก (equation =2.89, SD=.17)

ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่า ควรพัฒนาระบบการให้ความรู้เรื่องโภชนาการสำหรับผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมผ่านแอปพลิเคชั่น โดยใช้สื่อผสมซึ่งง่ายต่อการเรียนรู้และดึงดูดความสนใจ เช่น ภาพหรือคลิปสั้น ร่วมกับการจัดกิจกรรมการประกอบอาหารร่วมกับผู้ป่วยและญาติ เพื่อสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ ที่สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างยั่งยืน

References

สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย, สมาคมผู้ให้อาหารทางหลอดเลือดดำและทางเดินอาหารแห่งประเทศไทย. คำแนะนำทางเวชปฏิบัติโภชนบำบัดสำหรับผู้ป่วยโรคไตในผู้ใหญ่ พ.ศ. 2561.

Heng AE, Cano NJM. Nutritional problems in adult patients with stage 5 chronic kidney disease on dialysis (both haemodialysis and peritoneal dialysis). NDT Plus. 2010;3:109-17. doi: 10.1093/ndtplus/sfp147

Lopez-Gomez MJ, Villaverde M, Jofre R, Rodriguez-Benitez P, Perez-Garcia R. Interdialytic weight gain as a marker of blood

pressure, nutrition, and survival in hemodialysis patients. Kidney International. 2005;67

บุหลัน อาสาลี, สุวลี โล่วิรภรณ์. พฤติกรรมการบริโภคอาหารและปัจจัยที่มีผลต่อการบริโภคอาหารของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่มารับบริการคลินิกโรคเรื้อรัง โรงพยาบาลเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2565;15(2):28-38.

วิภา มะลา, วลัยพรรณ ชินชัยสิรภัทร, พรพิมล ศรีเกตุ, อนัญญา วรรณา, สุกัลยา นันตา, ศศิมล มุง่หมาย, รัชดา อุยยืนยงค์, กิตธวัช บุญทวี. ปัจจัยส่วนบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้อง ณ คลินิก CAPD โรงพยาบาลม่วงสามสิบ, การเกษตรราชภัฎ. 2562;18(2):63-78.

Chen Z, Xu N, Chen X, Zhang X, Yin S, Xiao G, Luo L, Liu Q, Su C. Dietary knowledge attitude-practice status in hemodialysis patients: a latent profile analysis. BMC Public Health. 2024; 1-10. https://doi.org/10.1186/s12889-024-18066-z

Arad M, Goli R, Parizad N, Vahabzadeh D, Baghaei R. Do the patient education program and nurse-led telephone follow-up improve treatment adherence in hemodialysis patients? A randomized controlled trial. BMC Nephrology. 2021;1-13. https://doi.org/10.1186/s12882-021-02319-9

Park G, Choi S. The Effects of a Tailored Dietary Education Program for Older Adult Patients on Hemodialysis: A Preliminary Study. Healthcare. 2023;11:2371. https://doi.org/10.3390/healthcare11172371

Seid A, Fufa DD, Bitew ZW. The use of internet-based smartphone apps consistently improved consumer’s health eating behaviors: a systematic controlled trial. Digital Health

Davis FD. Perceived usefulness, perceived ease of use, and user acceptance of information technology. MIS Quarterly. 1989; 13(3):319-40.

Bloom BS. Learning for mastery. Evaluation comment, Center for the study of instruction. University of California at Los Angeles. 1986;2:47-62.

Ngamjars C, Pattanittum P. n4Studies: application for sample size calculation in health science research. Version 2.3. App

store; 2024.

จิตประสงค์ หลำสะอาด. ประสิทธิผลของการให้ความรู้ด้านโภชนาการผ่านเว็บไซต์สำหรับผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, สาขาวิชาอาหารเคมีและโภชนาการทางการแพทย์, คณะเภสัชศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2558.

Best JW. Research in education. Englewood Cliffs, New Jersey: Prentice-Hall; 1970.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-01-2025

How to Cite

1.
กิตติรักษ์ปัญญา ว. ผลการใช้แอปพลิเคชั่นให้ความรู้เรื่องการบริโภคอาหารของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่ได้รับการฟอกเลือด ด้วยเครื่องไตเทียม โรงพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี. Singburi Hosp J [อินเทอร์เน็ต]. 30 มกราคม 2025 [อ้างถึง 29 เมษายน 2025];33(3):B8-1. available at: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/shj/article/view/274782