การคัดกรองภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมนแต่กำเนิดในโรงพยาบาลเสนา จ. พระนครศรีอยุธยา
คำสำคัญ:
ภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมนแต่กำเนิด, การตรวจคัดกรอง, อุบัติการณ์บทคัดย่อ
ภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมนแต่กำเนิด เป็นสาเหตุหนึ่งของภาวะปัญญาอ่อนที่ป้องกันได้ถ้าให้การวินิจฉัยและรักษาได้ตั้งแต่แรก การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอุบัติการณ์ของภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมนแต่กำเนิดของทารกที่เกิดในโรงพยาบาลเสนา โดยศึกษาข้อมูลย้อนหลังเชิงพรรณนา เก็บข้อมูลทารกเกิดมีชีพในโรงพยาบาลเสนาทุกราย ในปี พ.ศ.2561-2565
ผลการศึกษา มีทารกเกิดมีชีพในโรงพยาบาลเสนารวม 5,686 ราย ได้รับการตรวจคัดกรองภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมนแต่กำเนิดทุกราย (100%) ทารกที่ผลการตรวจคัดกรองผิดปกติ 36 ราย (recall rate 0.63%) ทารกที่ได้รับการตรวจยืนยันซ้ำ 31 ราย (response rate 86.11%) มีทารกที่ผลตรวจยืนยันซ้ำผิดปกติทั้งสิ้น 13 ราย อุบัติการณ์ของภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมนต่อทารกเกิดมีชีพ 1:437
อุบัติการณ์ของภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมนแต่กำเนิดของทารกที่เกิดในโรงพยาบาลเสนามีค่าสูงเมื่อเทียบกับรายงานที่ผ่านมาในประเทศไทย จึงต้องนำข้อมูลมาพิจารณาหาสาเหตุและแนวทางแก้ไขต่อไป
References
ปนัดดา ศรีจอมขวัญ. ภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์. ใน: ปฏิณัฐ บูรณะทรัพย์ขจร, ลลิตา วัฒนะจรรยา, พัชญา บุญชยาอนันต์, วีรพันธุ์ โขวิฑูรกิจ, บรรณาธิการ. โรคต่อมไร้ท่อและเมตะบอลิสม เล่ม 1. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: เท็กซ์ แอนด์เจอร์นัล พับลิเคชั่น; 2562. หน้า 161-72.
พัฒน์ มหาโชคเลิศวัฒนา. Congenital hypothyroidism.ใน: พัฒน์ มหาโชคเลิศวัฒนา, เปรมฤดี ภูมิถาวร, มนัสวี ก่อวุฒิกุลรังษี, สมบูรณ์ วันคนิตย์, บรรณาธิการ. Ramathibodi Handbook of Pediatric Endocrinology. กรุงเทพฯ: เนติกุลการพิมพ์; 2563. หน้า43-5.
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือปฏิบัติงานการตรวจคัดกรองทารกแรกเกิดทางห้องปฏิบัติการ Newborn Screening Laboratory Guideline. กรุงเทพฯ: สามเจริญพาณิชย์; 2565.
สมาคมต่อมไร้ท่อเด็กและวัยรุ่นไทย. แนวทางการวินิจฉัยและรักษา Congenital Hypothyroidism 2564. [อินเทอร์เน็ต].[เข้าถึงเมื่อ 31 ธันวาคม 2566].เข้าถึงได้จาก URL:https://thaipedendo.org/wp-content/uploads/2021/02/Congenital-hypothyroidism Guideline_TSPE2021_WATERMARK.pdf.
วิบูลย์ กาญจนพัฒนกุล. การคัดกรองภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมนแต่กำเนิด สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี (ปี พ.ศ.2550-2561). วารสารวิชาการกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ 2563;16(3):5-12.
เปี่ยมนุกูล กระเสาร์, เพ็ญพรรณ ทองเงา, จารณี พึ่งโพธิ์สภ, วิยะดา เจริญศิริวัฒน์, หรรษา ไทยศรี, อาชวินทร์ โรจนวิวัฒน์. ภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมนแต่กำเนิดในทารกแรกเกิดใน 4 ภูมิภาคของประเทศไทย ช่วงปี พ.ศ.2559 ถึง 2561. วารสารกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ 2564; 63(2):259-74.
จุฬาลักษณ์ คุปตานนท์, ศิราภรณ์ สวัสดิวร, ประภาศรี กาบจันทร์. การตรวจคัดกรองภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมนแต่กำเนิดในประเทศไทย. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 2561;12(3):452-5.
อุกฤษฎ์ จิระปิติ. การติดตามทารกที่มีผลคัดกรองไทรอยด์ฮอร์โมนผิดปกติตั้งแต่แรกเกิด จนถึงอายุ 3 ปี ในโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ พ.ศ.2554-2557. วารสารกุมารเวชศาสตร์ 2561;57(1):25-31.
ปรีชา ภิญโญพรพาณิชย์. การคัดกรองภาวะพร่องธัยรอยด์ฮอร์โมนในทารกแรกเกิดในโรงพยาบาลสุโขทัย. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย 2558;5(2):120-7.
รสลิน สมสมัย. อุบัติการณ์ภาวะพร่องธัยรอยด์ฮอร์โมนแต่กำเนิดโรงพยาบาลลำพูน. วารสารสาธารณสุขล้านนา 2552;5(1):1-6.
โชติรส พันธ์พงษ์. อุบัติการณ์และแนวทางการพัฒนาระบบการคัดกรองภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมนในทารกแรกเกิดในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ เชียงใหม่. วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมล้านนา 2560;7(1):40-53.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 โรงพยาบาลสิงห์บุรี

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลสิงห์บุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับโรงพยาบาลสิงห์บุรี และบุคคลากรท่านอื่นๆในโรงพยาบาลฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว