ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมการดูแลตนเอง เพื่อควบคุมภาวะน้ำเกินในผู้ป่วย โรคไตเรื้อรังที่เข้ารับการบำบัดทดแทนไต โดยการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม โรงพยาบาลสิงห์บุรี
คำสำคัญ:
ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย, การจัดการตนเอง, การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อเปรียบเทียบความรู้จำกัดน้ำ พฤติกรรมการจำกัดน้ำและภาวะน้ำเกินของผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม ก่อนและหลังได้รับโปรแกรมการจัดการตนเอง เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดผลก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยไตเรื้อรังระยะสุดท้าย ที่ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม หน่วยไตเทียม โรงพยาบาลสิงห์บุรี ในช่วงเดือน มกราคม – เมษายน พ.ศ.2567 จำนวนกลุ่มตัวอย่างที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ จำนวน 11 คน เครื่องมือที่ใช้ทดลอง โปรแกรมการจัดการตนเองควบคุมภาวะน้ำเกิน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบวัดความรู้การจำกัดน้ำ และแบบวัดพฤติกรรมการจัดการตนเองการจำกัดน้ำ ของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย ที่ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติ Wilcoxon Signed Rank Test
ผลการศึกษา พบว่า หลังได้รับโปรแกรมการจัดการตนเอง คะแนนเฉลี่ยความรู้ และพฤติกรรมการจำกัดน้ำของผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย ที่ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< .05) และหลังได้รับโปรแกรมการจัดการตนเองภาวะน้ำเกินของผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมน้อยกว่าก่อนได้รับโปรแกรมการจัดการตนเอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< .05)
สรุป สามารถนำโปรแกรมการจัดการตนเองไปใช้ในการป้องกันภาวะน้ำเกินในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม
References
สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย. แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังก่อนการบำบัด ทดแทนไต พ.ศ. 2565. [อินเตอร์เน็ต]. เข้าถึงเมื่อ 17 มกราคม 2567]. เข้าถึงได้จาก: URL:https:// www.hfocus.org/content/2023/03/27217.)
The Nephrology Society of Thailand.Thailand Renal Replacement Therapy: Year 2020. Retrieved September 20, 2020 https://www.nephrothai.org/annual-report-thailand-renalreplacement-therapy-2007-2019-th/
รัตนา เสือสุม, รัชนี นามจันทรา. ผลของโปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนในการควบคุมน้ำต่อพฤติกรรมการควบคุมน้ำและการเปลี่ยนแปลงน้ำหนักตัวในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม. วารสารสภาการชาดไทย 2561;11(2):188 – 203.
Costa RHS, Dantas ALdM, Leite ÉMD, Lira ALBdC, Vitor AF, Silva RARd. Complications in renal patients during hemodialysis sessions and nursing interventions. J Res fun dam Care 2015;7(1):2137-46.
สุภาพร ไชยวัฒนตระกูล. การพัฒนารูปแบบการป้องกันภาวะน้ำเกินในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและการสาธารณสุขชุมชน 2561;1(2):131–46.
Damas J, Fernandes V. Assessment of Fluid Status in Dialysis: Clinical Importance and Diagnostic Tools. Port J Nephrol Hypert
;36(2):115–20
ชัชวาล วงค์สารี, จริยา กฤติยาวรรณ. การให้ความรู้แบบเข็มข้นเพื่อบําบัดภาวะน้ำเกินในผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม: บทบาทพยาบาลไตเทียม. วารสารมฉก.วิชาการ 2560; 21(41):137–50.
วรรวิษา สำราญเนตร, นิตยา กออิสรานุภาพ, พชรลดา จันทร์ศรี. การจัดการตนเองเพื่อป้องกันภาวะน้ำเกินของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม. วารสารวิจัยและพัฒนาด้านสุขภาพ 2563;6(2):5–20
Covic A, Siriopol D. Assessment and management of volume overload among patients on chronic dialysis. Curr Vasc Pharmacol 2021;19(1):34–40.
Canaud B, Hornig C, Bowry S. Update and Perspectives in the Personalized Management of Sodium, Water, Volume and Hemodynamic Disorders of Dialysis Patients. Medical Research Archives 2022;10(6):1–12.
โรงพยาบาลสิงห์บุรี. สถิติผู้ป่วย พ.ศ. 2566-2567. สิงห์บุรี: โรงพยาบาลสิงห์บุรี; 2566.
Dunbar-Jacob J, Erlen JA, Schlenk EA, Ryan CM, Sereika SM, Doswell WM. Adherence in chronic disease. Annu Rev Nurs Res 2000;18:48-90.
Foley RN, Parfrey PS, Harnett JD, Kent GM, Murrey DC, Barre PE. Impact of hypertension on cardiomyopathy, morbidity and mortality in end-stage renal disease. Kidney Int 1996;49(5):1379-85.
ชัยรัตน์ ฉายากุล. ข้อแนะนำเวชปฏิบัติการฟอกไตด้วยเครื่องไตเทียม พ.ศ. 2557. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เดือนตุลา; 2557. (in Thai)
ธนัยรัตน์ รุ้งพราย. ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองของบุคคลและครอบครัวต่อภาวะน้ำเกินในผู้สูงอายุโรคไตวายเรื้อรังที่รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม [วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2560.
Creer LT. Self-management of chronic illness. Handbook of self-regulation. California: Academic; 2000.
รัตนา เสือสุ่ม, ชนีนามชูจันทรา. ผลของโปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนในการควบคุมน้ำต่อพฤติกรรมการควบคุมน้ำและการเปลี่ยนแปลงน้ำหนักตัวในผู้ป่วยโรคไตระยะสุดท้ายที่ได้รับการฟอกเลือด ด้วยเครื่องไตเทียม. วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย 2562;11(2):188–203.
สายสุนีย์ ภิญโญ, ศิริกาญจน์ จินาวิน. ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อการเกิดภาวะน้ำเกินในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม. PMJCS Phrae Medical Journal and Clinical Sciences 2566;31(2):48-59.
วรรวิษา สำราญเนตร, นิตยา กออิสรานุภาพ, พชรลดา จันทร์ศรี. การจัดการตนเองเพื่อป้องกันภาวะน้ำเกินของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะ
สุดท้ายที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม. วารสารวิจัยและพัฒนาด้านสุขภาพ 2563;6(2):5–20
มานะ ปัจจะแก้ว, พรรณี บัญชรหัตถกิจ. การจัดกระทำเพื่อป้องกันภาวะน้ำเกินในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม: การทบทวนอย่างเป็นระบบ. Singburi Hospital Journal 2567;32(3):40-55
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 โรงพยาบาลสิงห์บุรี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลสิงห์บุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับโรงพยาบาลสิงห์บุรี และบุคคลากรท่านอื่นๆในโรงพยาบาลฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว