โครงสร้าง กระบวนการ และผลลัพธ์การช่วยฟื้นคืนชีพในผู้ป่วยภาวะหัวใจหยุดเต้น นอกโรงพยาบาลที่มารับการรักษาที่ห้องอุบัติเหตุและฉุกเฉิน
คำสำคัญ:
โครงสร้าง, กระบวนการ, ผลลัพธ์, หัวใจหยุดเต้นนอกโรงพยาบาล, การช่วยฟื้นคืนชีพบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงพรรณนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาโครงสร้าง กระบวนการและผลลัพธ์ของการช่วยฟื้นคืนชีพในผู้ป่วยภาวะหัวใจหยุดเต้นนอกโรงพยาบาลที่มารับการรักษาที่ห้องอุบัติเหตุและฉุกเฉิน กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยเวชระเบียนผู้ป่วย จำนวน 91 ราย และบุคลากร จำนวน 96 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบบันทึกและแบบทดสอบความรู้ของบุคลากรด้านโครงสร้าง 2) แบบบันทึกการเก็บรวบรวมข้อมูลด้านกระบวนการช่วยฟื้นคืนชีพ และ 3) แบบบันทึกการเก็บรวบรวมด้านผลลัพธ์ในการช่วยฟื้นคืนชีพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย
ผลการวิจัยด้านโครงสร้าง ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นเพศชาย วัยผู้ใหญ่ สาเหตุที่ทำให้หัวใจหยุดเต้นมากที่สุดคือโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน มีผู้พบเห็นเหตุการณ์ขณะที่ผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้นและมีการช่วยกดหน้าอกนวดหัวใจก่อนมาโรงพยาบาล บุคลากรมีความรู้ในการช่วยฟื้นคืนชีพในระดับดี ด้านกระบวนการ พบว่า ระยะเวลา Response time มากกว่า 8 นาที ระยะเวลาตั้งแต่คลำชีพจรผู้ป่วยไม่ได้จนถึงเวลาที่ผู้ป่วยได้รับการกดหน้าอกครั้งแรกน้อยกว่า 5 นาที ระยะเวลาตั้งแต่คลำชีพจรผู้ป่วยไม่ได้จนถึงเวลาที่ผู้ป่วยได้รับยา Adrenaline ครั้งแรก 5-10 นาที ด้านผลลัพธ์ พบว่าผู้ป่วยรอดชีวิตครบ 24 ชั่วโมง ร้อยละ 36.26 ข้อเสนอแนะ ควรมีการอบรมให้ความรู้การช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานแก่ประชาชนทั่วไปเพื่อส่งเสริมให้มีการช่วยฟื้นคืนชีพก่อนมาถึงโรงพยาบาล เพื่อเพิ่มโอกาสการรอดชีวิต
References
Myat A, Song K-J, Rea T. Out-of-hospital cardiac arrest: current concepts. The Lancet. 2018;391(10124):970-9.
Tsao CW, Aday AW, Almarzooq ZI, Alonso A, Beaton AZ, Bittencourt MS, et al. Heart disease and stroke statistics—2022 update: a report from the American Heart Association. Circulation. 2022;145(8):e153-639.
Benjamin EJ, Muntner P, Alonso A, Bittencourt MS,Callaway CW, Carson AP, et al. Heart disease and strokestatistics—2019 update: a report from the American Heart Association. Circulation. 2019;139(10):e56-528.
Panchal AR, Bartos JA, Cabañas JG, Donnino MW, Drennan IR, Hirsch KG, et al. Part 3: adult basic and advanced life support: 2020 American Heart Association guidelines for cardiopulmonary resuscitation and emergency cardiovascular care. Circulation. 2020;142(16_Suppl_2):S366-468.
นิติจิตต์ อังสุพันธ์โกศล. ศึกษาลักษณะผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจหยุดเต้นที่มารับรักษาที่ห้องฉุกเฉินโรงพยาบาลเทพรัตน์นครราชสีมา.ชัยภูมิเวชสาร. 2563;40(2),33-43.
Donabedian A. Evaluating the quality of medical care. The Milbank Quarterly. 2005;83(4):691.
Merchant R, Topjian A, Panchal A, Cheng A, Aziz K, Berg K, et al. Adult basic and advanced life support, pediatric basic and advanced life support, neonatal life support, resuscitation education science, and systems of care writing groups. Part 1: executive summary: 2020 American Heart Association guidelines for cardiopulmonary resuscitation and emergency cardiovascular care. Circulation. 2020;142(16_suppl_2):S337-57.
Norwood SL. Research strategies for advanced practice nurses. Upper Saddle River, NJ: Prentice-Hall; 2000.
Bloom BS. Handbook on formative and summative evaluation of student learning. New York: McGraw-Hill; 1971.
ดำรัสสิริ ไพอุปรี. ปัจจัยที่มีความสำเร็จในการช่วยฟื้นคืนชีพผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้นภายในแผนกฉุกเฉิน โรงพยาบาลบุรีรัมย์.วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์. 2562;34(2):323-32.
วสันต์ ลิ่มสุริยกานต์. ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการช่วยฟื้นคืนชีพของผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้นนอกโรงพยาบาลที่ได้รับการช่วยฟื้นคืนชีพในห้องฉุกเฉินโรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย. 2561;8(1):16-23.
Shavelle DM, Bosson N, Thomas JL, Kaji AH, Sung G, French WJ, et al. Outcomes of ST elevation myocardial infarction complicated by out-of-hospital cardiac arrest (from the Los Angeles County Regional System). The American Journal of Cardiology. 2017;120(5):729-33.
Anderson R, Sebaldt A, Lin Y, Cheng A. Optimal training frequency for acquisition and retention of high-quality CPR skills: a randomized trial. Resuscitation. 2019;135:153-61.
Uy-Evanado A, Chugh HS, Sargsyan A, Nakamura K, Mariani R, Hadduck K, et al. Out-of-hospital cardiac arrest response and outcomes during the COVID-19 pandemic. JACC: Clinical Electrophysiology. 2021;7(1):6-11.
ชมพูนุช แสงพานิชย์. ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการช่วยฟื้นคืนชีพผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้นนอกโรงพยาบาล ณ จุดเกิดเหตุ โดยศูนย์กู้ชีพโรงพยาบาลอุตรดิตถ์. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์. 2561;10(ฉบับพิเศษ):85-95.
ปพิชญา พิเชษฐบุญยเกียรติ. ปัจจัยที่มีผลต่อการรอดชีวิตของผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้นนอกโรงพยาบาลที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์. เชียงรายวารสาร. 2564; 13(1):43-57.
Kempster K, Howell S, Bernard S, Smith K, Cameron P, Finn J, et al. Out-of-hospital cardiac arrest outcomes in emergency departments. Resuscitation. 2021;166:21-30.
วรางคณา โฉมจังหรีด และสารัช เกียรติกวินพงศ์.การศึกษาอัตราการรอดชีวิตของผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้นนอกโรงพยาบาลในสถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา. 2565;7(4):163-175.
พรรณารัฐ อร่ามเรือง, กรองกาญจน์ สุธรรม, บวร วิทยชำนาญกุล, วีรพล แก้วแปงจันทร์, วิพุธ เล้าสุขศรี, รัดเกล้า สายหร่าย, และปริญญา เทียนวิบูลย์. การรอดชีวิตของผู้บาดเจ็บหัวใจหยุดเต้นนอกโรงพยาบาลที่ได้รับการช่วยเหลือดูแลรักษาโดยระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข. 2564;14(1):43-50.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 โรงพยาบาลสิงห์บุรี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลสิงห์บุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับโรงพยาบาลสิงห์บุรี และบุคคลากรท่านอื่นๆในโรงพยาบาลฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว