การพัฒนารูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้
คำสำคัญ:
รูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ, การมีส่วนร่วม, ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้บทคัดย่อ
โรคเบาหวานเกิดจากพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่ถูกต้อง ผู้วิจัยสนใจการพัฒนารูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ จังหวัดลพบุรี วิธีการศึกษาเป็นการวิจัยและพัฒนา โดยการวิจัยเชิงคุณภาพ และประยุกต์แนวคิดความรอบรู้ด้านสุขภาพ และการมีส่วนร่วม ตามแนวคิดของ Nutbeam ในการพัฒนาและยกร่างรูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้มีส่วนร่วมในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ รวม 10 คน เลือกจากเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานที่พื้นที่ทำการวิจัย
ผลการศึกษา พบว่า ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ มีเพิ่มขึ้น เจ้าหน้าที่ดำเนินการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ให้ความรู้ดูแลพฤติกรรมสุขภาพทั้งรายกลุ่มและ ซึ่งปัจจัยการควบคุมระดับน้ำตาล คือ ความรู้ความเข้าใจและความตระหนักในการดูแลสุขภาพ อุปสรรค คือ การบริโภคอาหารที่ไม่ถูกต้องและไม่ตระหนัก โดยแพทย์แผนไทยส่งผลให้ผู้ป่วยเบาหวานควบคุมระดับน้ำตาลได้ พร้อมทบทวนวรรณกรรม งานวิจัย และนำผลการศึกษาปัจจัยมีผลต่อพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ จังหวัดลพบุรีมาดำเนินงานออกแบบและยกร่าง
ผลการวิจัยนี้เป็นข้อมูลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ โดยหน่วยงานควรกำหนดเป็นการดูแลรักษาโรคและนำรูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพไปใช้ในพื้นที่และพัฒนาต่อยอด โดยเพิ่มการติดตามในระยะยาว
References
ประหยัด แจ้งแสง.ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานในเขตเครือข่ายอำเภอหนองขาหย่าง จังหวัดอุทัยธานี. วารสารโรงพยาบาลสิงห์บุรี. 2565;31(2):68-80.
ระบบคลังข้อมูลด้านการแพทย์และสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. ระบบสารสนเทศ Health Data Center.[อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: กรมควบคุมโรค; 2566 [เข้าถึงเมื่อ 2 พ.ค. 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://pnb.hdc.moph.go.th/hdc/main/index.php
ระบบฐานข้อมูล Data Center [อินเทอร์เน็ต]. ลพบุรี:สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลพบุรี; 2566 [เข้าถึงเมื่อ 2 พ.ค.2567].เข้าถึงได้จาก: https://lbodc.moph.go.th
ธนาลักษณ์ สุขประสาน, วรรณรัตน์ รัตนวรางค์, และพิสมัย จารุชวลิต. ความสัมพันธ์ระหว่างการรู้เท่าทันข้อมูลสุขภาพขั้นพื้นฐานกับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มารับบริการที่โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก.วารสารสุขศึกษา. 2561;41(2):157- 67.
อภิญญา บ้านกลาง, อุดมลักษณ์ ดวงผุนมาตย์, ปริศนา รถสีดา. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ใน เขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลศิลา อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่7ขอนแก่น.2016;23(1):85-95.
ณัฐวรรณ วรพิสุทธิวงศ์. เรื่องปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองด้วยการแพทย์แผนไทยของบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. [อินเตอร์เน็ต]. 2554. [สืบค้นเมื่อวันที่ 15 พ.ค. 2567]. เข้าถึงจาก: http://eresearch.library.ssru.ac.th/handle/123456789/228?mode=full
ศิริเนตร สุขดี. การพัฒนารูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงโรคไม่ติดต่อเรื้อรังด้วยการมีส่วนร่วมของชุมชน. [วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์]. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ; 2560.
วิลาวัณย์ เผือกชาย, วันวิสาข์ มุสิก. การพัฒนารูปแบบพฤติกรรมสุขภาพตามหลักธรรมานามัยของผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมน้ำตาลไม่ได้.งานประชุมวิชาการวิชาการสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพัทลุง. พัทลุง; 2562
จันทร์ศรี เหลือผล, นิติพร หานนท์. การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในพื้นที่อำเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารวิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ. 2560;5(1):212-25.
โสภา ไชยแก้ว. การสร้างเสริมแรงจูงใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในผู้ป่วยเบาหวานความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่าข้าม อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่.วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน 2563;5(3):1-4.
รัก นันต๊ะ. การพัฒนารูปแบบการป้องกันการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในประชาชนกลุ่มเสี่ยงเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริม สุขภาพตำบลม่อนดินแดง ตำบลท่าเสา อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์.[อินเตอร์เน็ต]. 2566.[สืบค้นเมื่อวันที่ 15 พ.ค. 2567]. จาก: http://www.tako.moph.go.th/librarybook/web/files/e3641a3e01b589f7c25aeebef28a8154.pdf
สุขสันต์ อินทรวิเชียร. การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพแบบมีส่วนร่วมอย่างยั่งยืนในกลุ่มเสี่ยง โรคเบาหวาน อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น. 2555;19(2):65-75.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 โรงพยาบาลสิงห์บุรี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลสิงห์บุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับโรงพยาบาลสิงห์บุรี และบุคคลากรท่านอื่นๆในโรงพยาบาลฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว