ผลการใช้โปรแกรมส่งเสริมสุขภาพที่มีต่อระดับน้ำตาลในเลือด ของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน ตำบลคลองควาย อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี
คำสำคัญ:
โปรแกรมส่งเสริมสุขภาพ, กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน, ระดับน้ำตาลในเลือดบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการใช้โปรแกรมส่งเสริมสุขภาพที่มีต่อระดับน้ำตาลในเลือด ของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน ตำบลคลองควาย อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี กลุ่มตัวอย่าง คือ กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน ตำบลคลองควาย อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี จำนวน 31 คน จากการคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างด้วยโปรแกรม G*Power และการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ 1) แบบทดสอบความรู้เรื่องโรคเบาหวาน มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.87 และ 2) แบบสอบถามพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.93 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป สถิติที่ใช้ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน
ผลการวิจัย พบว่า ก่อนการทดลองกลุ่มตัวอย่าง มีความรู้เรื่องโรคเบาหวาน ระดับมาก ร้อยละ 25.8 ระดับปานกลาง ร้อยละ 51.6 ระดับน้อย ร้อยละ 22.6 มีพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ ระดับสูง ร้อยละ 6.5 ระดับปานกลาง ร้อยละ 80.6 ระดับต่ำ ร้อยละ 12.9 และมีระดับน้ำตาลในเลือด 100-125 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ร้อยละ 100 หลังการทดลองกลุ่มตัวอย่าง มีความรู้เรื่องโรคเบาหวาน ระดับมาก ร้อยละ 90.3 ระดับปานกลาง ร้อยละ 9.7 มีพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพระดับสูง ร้อยละ 61.3 ระดับปานกลาง ร้อยละ 38.7 และมีระดับน้ำตาล ในเลือด 100-125 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ร้อยละ 87.1 น้อยกว่า 100 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ร้อยละ 12.9 และผลการเปรียบเทียบ พบว่า หลังการทดลองกลุ่มตัวอย่าง มีความรู้เรื่องโรคเบาหวาน พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ และระดับน้ำตาลในเลือด ดีขึ้นกว่าก่อนทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
References
International Diabetes Federation. IDF Diabetes Atlas. 8th ed. Belgium: International Diabetes Federation; 2517.
Chatterjee S, Riewpaiboon A, Piyauthakit P, et al. Cost of diabetes and its; 2520.
สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์. แผนยุทธศาสตร์กระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 12. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข. 2562.
American Diabetes Association. Standards of Medical Care in Diabetes. Diabetes Care 2016; 34(1): 3-21
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปทุมธานี. Health Data Center ปทุมธานี; กลุ่มงานพัฒนายุทธศาสตร์. 2565.
นันท์มนัส แย้มบุตร. รายงานผลการสำรวจพฤติกรรมสุขภาพ ความรอบรู้และปัจจัยแวดล้อมที่ส่งผลต่อสุขภาพวัยทำงาน. นนทบุรี; สำนักทันตสาธารณสุข. 2563.
กรมการแพทย์. แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน พ.ศ.2560. กรุงเทพมหานคร: ศรีเมืองการพิมพ์; 2560.
Pender, Murdaugh, Parsons. Health Promotion in Nursing Practice. 4th ed. Prentice-Hall Health, Inc., USA; 2002.
จิรพรรณ ผิวนวลและประทุม เนตรินทร์. พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางแก้วใน ตำบลบางแก้วอำเภอละอุ่น จังหวัดระนอง. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี 2561;1(2): 46-61.
Bloom. Learning for mastery. Evaluation Comment. 1968; 1(2): 1–12.
Best JW. Research is Evaluation. 3rded. Englewod cliffs: N. J. Prentice Hall; 1977.
สุทัสสี รังวารี. ผลการใช้โปรแกรมการให้ความรู้สำหรับการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 งานการพยาบาลผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลอากาศอำนวย. วารสารสิ่งแวดล้อมศึกษา การแพทย์และสาธารณสุข 2566;8(4):152-61.
เพ็ญศรี พงษ์ประภาพันธ์ และคณะ. การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวมของผู้ป่วยเบาหวาน ในชุมชนวัดปรุณาวาส. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี; 2563.
พัชรินทร์ เชื่อมทอง, นิภา กิมสูงเนิน, รัชนี นามจันทรา. ผลของโปรแกรมการสนับสนุนและให้ความรู้ต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองและระดับน้ำตาลสะสมในเลือดในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 รายใหม่. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ 2563;43(1):78-86.
ทัศพร ชูศักดิ์ ชวภณ พุ่มพงษ์ และอังศุมาลิน อินทร์ฉ่ำ. ผลของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้วยการแพทย์วิถีพุทธ ในกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน อำเภอไพศาลี จังหวัดนครสวรรค์. วารสาร Singburi Hospital Journal 2566;(32)1:140-52.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 โรงพยาบาลสิงห์บุรี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลสิงห์บุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับโรงพยาบาลสิงห์บุรี และบุคคลากรท่านอื่นๆในโรงพยาบาลฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว