ระบาดวิทยาการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนและแนวทางแก้ไขป้องกัน ของอำเภอท่าช้าง จังหวัดสิงห์บุรี
คำสำคัญ:
ระบาดวิทยา, อุบัติเหตุบนท้องถนน, ความปลอดภัยบนท้องถนนบทคัดย่อ
อุบัติเหตุบนท้องถนนเป็นปัญหาสำคัญของสาธารณสุข การวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods) เพื่อศึกษาระบาดวิทยา สภาพปัจจุบันปัญหาและแสวงหาแนวทางแก้ไขป้องกันการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน เก็บข้อมูลจากเว็บไซด์ ict-pher.moph.go.th.จำนวน 555 คน และจากตัวแทนผู้เกี่ยวข้อง โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม จำนวน 61 คน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ ความถี่ ร้อยละ และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า.1).ระบาดวิทยาการเกิดอุบัติเหตุ พบในเพศชาย อายุ 15-19 ปี อาชีพผู้ใช้แรงงาน ใช้รถจักรยานยนต์ ไม่ใช้อุปกรณ์ความปลอดภัย คิดเป็นร้อยละ 51.9, 14.4, 31.9, 92.8, 51.5 เกิดในพื้นที่ตำบลโพประจักษ์ เวลากลางวันเกิดอุบัติเหตุมากที่สุด 2) สภาพปัจจุบันปัญหาคือ พฤติกรรมการขับขี่แบบผาดโผน รีบเร่ง ฝ่าฝืนกฎจราจร สิ่งแวดล้อม ได้แก่ สภาพของถนน ลื่น ขาดสัญญาณไฟ ต่างระดับ มีสิ่งกีดขวาง ข้อมูลและนโยบาย ไม่มีการบูรณาการเชื่อมโยง การบังคับใช้กฎหมายไม่เข้มงวด 3) แนวทางการแก้ไขการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนของอำเภอท่าช้าง ควรประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ คือ ด้านนโยบาย ด้านผู้ใช้รถใช้ถนน สถานพยาบาล องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น และสถานศึกษา ที่ต้องทำหน้าที่ในส่วนที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่องจริงจัง
ข้อเสนอแนะ 1) ศูนย์ปฏิบัติการสร้างพื้นที่ต้นแบบในการป้องกันแก้ไขการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนของอำเภอท่าช้าง 2) ควรศึกษาเรื่องผลกระทบจากการเกิดอุบัติเหตุและแนวทางเยียวยาผู้ประสบเหตุ
References
World Health Organization. New political declaration to halve road traffic deaths and injuries by2030 is a milestone
achievement. [Internet]. 2022 [cited 2023 Apr 12]. Available from: https://www.who.int/news/item/30-06-2022-new-political-declaration-to-halve-road-traffic-deaths-and-injuries-by-2030-is-a-milestone-achievement
World Health Organization. Global status report on road safety 2018. [Internet]. 2018 [cited 2023 Apr 12]. Available from:https://www.who.int/publications/i/item/9789241565684
สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ). ย้อนดูสถิติเจ็บ-ตายบนถนนไทย ปี 2564 – 2566 เดินหน้าสู่เป้าหมายลดผู้เสียชีวิตก่อนปี 2570. [อินเตอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 2 มี.ค. 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://tdri.or.th/road-safety/
Thai RSC, ศูนย์ข้อมูลทางอุบัติเหตุ เพื่อเสริมสร้างวัฒนาธรรมความปลอดภัยทางถนน. [อินเตอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 2 มี.ค.2567]. เข้าถึงได้จาก: https://www.thairsc.com/thai-in-depth-data
อาจินต์ สงทับ. การศึกษาทางระบาดวิทยา. พิษณุโลก : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2564.
กองโรคไม่ติดต่อ. แนวทางการดำเนินงานและการประเมินการป้องกันการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนน ระดับอำเภอ. นนทบุรี :สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุม กระทรวงสาธารณสุข; 2562.
กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการลงรหัสแบบบันทึกเฝ้าระวังการบาดเจ็บแห่งชาติ ฉบับปรับปรุง. นนทบุรี: สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุม กระทรวงสาธารณสุข; 2560.
ชาย โพธิสิตา. ศาสตร์และศิลป์แห่งการวิจัยเชิงคุณภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งฯ; 2550.
สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ. รายงานภาระโรคและการบาดเจ็บของประชากรไทย พ.ศ. 2562. นนทบุรี:บริษัท แฮนดี เพรส จำกัด ; 2566.
World Health Organization. Global status report on road safety 2023. [Internet]. 2022 [cited 2023 April 22]. Available
from: https://iris.who.int/bitstream/handle/10665/375016/978924 0086517-eng.pdf?sequence=1
สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร. รายงานการวิเคราะห์
สถานการณ์อุบัติเหตุทางถนนของกระทรวงคมนาคม พ.ศ. 2564.
[อินเตอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 2 มี.ค. 2567]. เข้าถึงได้จาก:
https://www.otp.go.th/uploads/tiny_uploads/PDF/2565-09/25650919-ReportExcident-2565.pdf
กรมทางหลวงชนบท คู่มือปรับปรุงกายภาพ ทางหลวงท้องถิ่นในเขตเมือง
[อินเตอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 2 เม.ย 2567]. เข้าถึงได้จาก:
https://localkc.drr.go.th/storage/knowledge/files/2021/08/24/612495266e6f61629787430.pdf
National Highway Traffic Safety Administration: Overview of
Motor Vehicle Crashes in 2020. [Internet]. 2022 [cited 2023
April 22]. Available from: https://crashstats.nhtsa.dot.gov/Api/Public/ViewPublication/813266
NIH Prevalence of road traffic injuries in South East and
South Asian region – A systematic review. [Internet]. 2022
[cited 2023 April 22]. Available
from:https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC10174148/
World Health Organization. Road traffic injuries. [Internet].
[cited 2023 April 22]. Available from: https://www-who-
int.translate.goog/?_x_tr_sl=en&_x_tr_tl=th&_x_tr_hl=th&_x_t
r_pto=sc&_x_tr_hist=true#tab=tab_1
สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. ทำไมประเทศไทยต้องบังคับใช้
ระบบตัดแต้มผู้ขับขี่. [อินเตอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 2 มี.ค. 2567].
เข้าถึงได้จาก:
https://tdri.or.th/2023/07/demerit-points-system-article/
ศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน. แผนแมบทความปลอดภัยทางถนน
พ.ศ. 2565–2570.[อินเตอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 12 เม.ย. 2566]. เข้าถึงได้จาก:
https://roadsafety.disaster.go.th/roadsafety/download/7377?id=21555
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 โรงพยาบาลสิงห์บุรี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลสิงห์บุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับโรงพยาบาลสิงห์บุรี และบุคคลากรท่านอื่นๆในโรงพยาบาลฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว