ผลการใช้รูปแบบการแพทย์ทางไกลต่อพฤติกรรมการดูแลตนเอง และระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ โรงพยาบาลห้วยคต จังหวัดอุทัยธานี

ผู้แต่ง

  • พัฒนา วงศ์สุภีร์ นักศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี
  • ทัศพร ชูศักดิ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์, มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี
  • พรรณี บัญชรหัตถกิจ รองศาสตราจารย์, มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี

คำสำคัญ:

การแพทย์ทางไกล, ระดับน้ำตาลในเลือด, พฤติกรรมการดูแลตนเอง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยความรู้ พฤติกรรมการดูแลตนเองและและระดับน้ำตาลสะสม(HbA1c) ก่อนและหลังการทดลอง ในกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ 2) เพื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยความรู้ พฤติกรรมการดูแลตนเองและและระดับน้ำตาลสะสม (HbA1c) หลังการทดลองระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ กลุ่มตัวอย่างจำนวน 60 คน แบ่งเป็น  กลุ่มทดลอง 30 คน กลุ่มเปรียบเทียบ 30 คน เครื่องมือที่ใช้ 1) แบบทดสอบความรู้ 2) แบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลตนเอง โดยมีค่าความเชื่อมั่น .83 และ .95 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงอนุมาน เปรียบเทียบความแตกต่างโดยใช้ Paired t-test และ Independent t-test

ผลการวิจัย พบว่า หลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความรู้ พฤติกรรมการดูแลตนเอง ดีกว่าก่อนทดลอง และระดับน้ำตาลสะสม (HbA1c) เฉลี่ยลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 และเมื่อเปรียบเทียบการใช้รูปแบบการแพทย์ทางไกลและรูปแบบการตรวจรักษาแบบปกติ พบว่า การใช้รูปแบบการแพทย์ทางไกลในกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้เรื่องโรคเบาหวาน พฤติกรรมการดูแลตนเอง ดีกว่ากลุ่มเปรียบเทียบที่ได้รับการตรวจรักษาแบบปกติ และระดับน้ำตาลสะสม (HbA1c) เฉลี่ยลดลงมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05

การใช้รูปแบบการแพทย์ทางไกลช่วยทำให้ผู้ป่วยเบาหวานมีความรู้เรื่องโรคเบาหวาน พฤติกรรมการดูแลตนเอง และการควบคุมระดับน้ำตาลสะสมในเลือด (HbA1c) ดีขึ้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในพื้นที่ และขยายลงสู่เครือข่ายในพื้นที่ต่อไป

References

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. รายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทย ครั้งที่ 5. นนทบุรี:สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข. 2565.

สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์. แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน 2566. กรุงเทพมหานคร: บริษัท ร่มเย็น มีเดีย จำกัด; 2560.

สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์. แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน 2566.กรุงเทพมหานคร: บริษัท ศรีเมืองการพิมพ์ จำกัด; 2566.

วิชัย เอกพลากร (บรรณาธิการ). รายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 6 พ.ศ. 2562 - 2563 กรุงเทพมหานคร. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. 2564.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุทัยธานี. เอกสารการชี้แจงแผนงาน/โครงการ และตัวชี้วัดของกระทรวงสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566. อุทัยธานี; 2566.

ณกานต์ชญาน์ นววัชรินทร์, สุดฤทัย รัตนโอภาส, สุพาณี น้อยเอียด.การพัฒนาระบบบริการทางโทรศัพท์ สำหรับผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน. 2564:6(1);40-51.

สำนักกฎหมาย วุฒิสภา. การยกระดับบริการสาธารณสุขด้วยระบบการแพทย์ทางไกล (Telemedicine). สารวุฒิสภา. 2563:28(10);27-30.

แพทยสภา. แนวทางปฏิบัติการแพทย์ทางไกลหรือโทรเวช (telemedicine) และคลินิกออนไลน์ [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 13 พฤษภาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://tmc.or.th/index.php/News/News-and-Activities/Telemedicine

ณัฐภัสสร เดิมขุนทด, รัชนีวรรณ ขวัญเจริญ, ชาญวัฒน์ ชวนตันติกมล, พิชญ์ พหลภาคย์, สว่างจิต สุรอมรกูล.ผลของการติดตามสุขภาพทางไกล ต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด และความสม่ำเสมอในการรับประทานยาในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมไม่ดี. วชิรเวชสารและวารสารเวชศาสตร์เขตเมือง, 2564, 65(ฉบับเพิ่มเติม); S75–90.

ทรงกรฎ ศฤงคาร. ผลของโปรแกรมส่งเสริมการจัดการตนเองและครอบครัวต่อพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลและระดับน้ำตาลในเลือด ของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 2563.

พวงเพชร เหล่าประสิทธิ์. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ของโรงพยาบาลชุมชน และเครือข่าย. วารสารวิชาการแพทย์. 2566;37(1):1-7.

อดิศัย ภูมิวิเศษ. การพัฒนาระบบบริการทางโทรศัพท์สำหรับผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 โรงพยาบาลลำพูน สาขาเวียงยอง อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน. วารสารวิจัยการพยาบาลและการสาธารณสุข. 2566:3(2);75-90.

Ward LA, Shah G.H., Jones J A, Kimsey L, Samawi H. Effectiveness Of Telemedicine in Diabetes Management: A Retrospective Study in an Urban Medically Underserved Population Area (UMUPA). Informatics 2023:10(1);16.

Zhang W, Cheng B, Zhu W, Huang X, Shen C. Effect of Telemedicine on Quality of Care in Patients with Coexisting Hypertension and Diabetes: A Systematic Review and Meta-Analysis. Telemed J E Health. 2021:27(6);603-614. doi: 10.1089/tmj.2020.0122. Epub 2020 Sep 23. PMID: 32976084.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

09-10-2024